วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

คำชมที่ควรชัง

คำชมที่ควรชัง

ปณฺฑิตสฺส  ปสํสาย,    ทณฺโฑ  พาเลน  ทิยฺยเต;
ปณฺฑิโต  ปณฺฑิเตเนว,     วณฺณิโตว   สุวณฺณิโต.

คนพาลย่อมให้โทษแก่บัณฑิต   ด้วยการสรรเสริญเยินยอ
บัณฑิตยกย่องบัณฑิตเท่านั้น  จึงชื่อว่าเป็นการสรรเสริญโดยชอบ.

(ธรรมนีติ ๓๕, โลกนีติ ๗๗, มหารหนีติ ๑๖, กวิทัปปณนีติ ๔๘)

ศัพท์น่ารู้ :

ปณฺฑิตสฺส (แก่บัณฑิต) ป. ปณฺฑิต+ส

ปสํสาย (ในเพราะการสรรเสริญ, ยกย่อง, ชมเชย) อิต. ปสํสา+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น อาย § ฆโต นาทีนํ. (รู ๑๗๙)

ทณฺโฑ (ทัณฑ์, อาชญา, โทษ, ท่อนไม้) ทณฺฑ+สิ

พาเลน (อันคนพาล) พาล+นา

ทิยฺยเต, ทียฺยเต (อันเขาย่อมให้, ย่อมถูกให้) √ทา+ย+เต ในเพราะ ย ปัจจัจให้แปลงสระที่สุดธาตุเป็น อี § ยมฺหิ ทาธามาฐาหาปามหมถาทีนมี. (รู ๔๙๓).

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ

ปณฺฑิเตเนว ตัดบทว่า ปณฺฑิเตน+เอว (อันบัณฑิตนั่นเทียว) ปณฺฑิต+นา, เอว เป็นนิบาตกำหนด, ตัดสิน, จำกัดความ (อวธารณ).

วณฺณิโตว ตัดบทว่า วณฺณิโต+เอว (ถูกสรรเสริญ, ถูกชมเชยนั่นเทียว) √วณฺณ+อิ+ต > วณฺณิต+สิ, เอว เป็นนิบาตบท

สุวณฺณิโต (ผู้ถูกสรรเสริญด้วยดี, ได้รับการสรรเสริญ) สุ+√วณฺณ+อิ+ต > สุวณฺณิต+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนพาลชื่อว่าให้อาชญา แก่บัณฑิตด้วยการยกยอ บัณฑิตต่อบัณฑิตด้วยกัน  สรรเสริญก็เป็นอันสรรเสริญด้วยดี.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนพาลชื่อว่าให้อาชญาบัณฑิตด้วยยกยอ  บัณฑิตต่อบัณฑิตด้วยกันสรรเสริญกัน  จึงชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญด้วยดี.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 







Previous Post
Next Post

0 comments: