สรีระกับคุณความดี
สรีรสฺส คุณานญฺจ, ทูรมจฺจนฺตมนฺตรํ;
สรีรํ ขณวิทฺธํสิ, คุณา ตุ กปฺปฐายิโน.
ระหว่างสรีระร่างกายและคุณความดี มีความแตกต่างกันไกลอย่างสิ้นเชิง
สรีระอาจแตกทำลายได้ทุกขณะ แต่คุณความดี จักดำรงอยู่ได้ชั่วกัปป์.
(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๗, มหารหนีติ ๒๕, กวิทัปปณนีติ ๕๔)
ศัพท์น่ารู้ :
สรีรสฺส (แห่งสรีระ, ร่างกาย) สรีร+ส
คุณานญฺจ, ตัดบทเป็น คุณานํ+จ (แห่งคุณ ท. + ด้วย, และ) คุณ+นํ ในเพราะ นํ วิภัตติให้ทีฆะ อ เป็น อา ด้วยสูตรว่า สุนํหิสุ จ. (รู ๘๔)
ทูรมจฺจนฺตมนฺตรํ ตัดบทว่า ทูรํ+อจฺจนฺตํ+อนฺตรํ (ไกล, ห่าง+ที่สุด, ล่วงส่วน+ระหว่าง, แตกต่าง, พิเศษ)
สรีรํ (ร่างกาย) สรีร+สิ หลัง อการันต์ในนปุงสกลิงค์แปลง สิ เป็น อํ ได้แน่นอน § (ด้วยสูตรว่า) สึ. (รู ๑๙๕)
ขณวิทฺธํสิ (ทำลายได้ชั่วขณะ) ขณ+วิทฺธํสิ > ขณวิทฺธํสิ+สิ
คุณา (คุณ ท.) คุณ+โย หลัง อการันต์ปุงลิงค์แปลง โย เป็น อา § สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
ตุ (ส่วน, ฝ่าย, แต่ว่า)
กปฺปนฺติฎฺฐายิโน (ตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์) กปฺป+ติฏฺฐายี > กปฺปนฺติฏฺฐายี+โย (กปฺปํ+ติฏฺฐายี+โย) หลังอีการรันต์ที่ทำเป็นรัสสะแล้ว ให้แปลง โย เป็น โน § โยนํ โน. (รู ๑๕๑)
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
สำหรับสรีระแลความดี มีการแผกกันไกลที่สุด
สรีระจักสลายชั่วขณะ ส่วนความดีดำรงอยู่ตลอดกัลป์.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ร่างกายกับคุณความดี แตกต่างกันไกลมาก
ร่างกายจะสลายไปเร็วพลัน แต่คุณความดี จักดำรงอยู่ได้ตั้งกัลป์.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇
57. ผู้มิใช่บัณฑิต, 56. เห็นอย่างบัณฑิต, 55. ความลับของบัณฑิต, 54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ, 53. สภาที่ไม่เป็นสภา, 52. บัณฑิต ๓ ประเภท, 51. บุตร ๓ จำพวก, 50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม, 49. ดูฟังอย่างปราชญ์, 48. วิถีของนักปราชญ์, 47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา, 46. บัณฑิตกับคนพาล, 45. พูดเล่นอาจเป็นจริง, 44. คบคนดีย่อมมีผล, 43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี, 42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้, 41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง, 40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น, 39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ, 38. ลักษณะของบัณฑิต, 37. สรีระกับคุณความดี, 36. ควรฝึกตนเองก่อน, 35. คำชมที่ควรชัง, 34. พระราชากับนักปราชญ์, 33. รู้อย่างบัณฑิต, 32. ประโยชน์ ๒ อย่าง, 31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง, 30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง, 29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย, 28. ฟังเป็นเห็นสุข, คาถากาสลัก จะ ภะ กะ สะ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ
ภาพ : วัดถ้ำพุหว้า จ.กาญจนบุรี
วัดถ้ำพุหว้า ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ตัววัดเป็นศิลปะแบบขอมประยุกต์ที่สวยงาม เป็นวัดป่าอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา
0 comments: