วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พระราชากับนักปราชญ์

พระราชากับนักปราชญ์

ภูปาโล  ปณฺฑิโต  นิจฺจํ,     เนว  ตุลฺโย  กุทาจนํ;
สเทเส  ปูชิโต  ราชา,    พุโธ  สพฺพตฺถ  ปูชิโต.

พระเจ้าแผ่นดิน กับ นักปราชญ์,  เป็นผู้มีความเสมอกันเป็นนิจทุกเมื่อ หามิได้;
พระราชา คนบูชาเฉพาะในประเทศของตน,  ส่วนนักปราชญ์ คนบูชากันในที่ทั้งปวง.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๔, มหารหนีติ ๑๘, กวิทัปปณนีติ ๕๐, จาณักยนีติปาฬิ ๓)

ศัพท์น่ารู้ :

ภูปาโล (ผู้รักษาแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา) ภู+ปาล > ภูปาล+สิ วิ. ภุํ ปฐวึ ปาเลตีติ ภูปาโล (ภูปาละ คือ ผู้รักษาแผ่นดิน)

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

นิจฺจํ (แน่นอน, เที่ยงแท้) นิจฺจ+อํ

เนว ตัดบทเป็น น+เอว (ไม่นั่นเทียว) นิบาตบท

ตุลฺโย (เป็นผู้เสมอกัน, เท่าเทียมกัน) ตุลฺย+สิ, มาจาก ตุลฺยํ (ความเสมอกัน, ความสมดุล, ความตรง, ตุล เป็นว่า ตาชั่ง) วิ. ตุลสฺส ภาโว ตุลฺยํ, วิ. นตฺถิ อสฺส ตุลฺยนฺติ ตุลฺโย (ความเป็นแห่งความเสมอกัน ชือว่า ตุลฺยะ, ผู้ไม่มีความเป็นผู้เสมอ ชื่อว่า ตุลฺยะ ) มาจาก ตุล+ณฺย เป็นภาวตัทธิต วิเคราะห์หลังเป็นสมาส

กุทาจนํ (แม้ในกาลบางคราว, ในกาลไหนๆ) กึ+ทาจนํ ปัจจัย ในอรรถกาลสัตตมี § กึสพฺพญฺเญกกุหิ ทาทาจนํ. (รู ๒๗๖) แปลง กึ เป็น กุ ด้วย จ ศัพท์ใน § กุ กึหํสุ จ. (รู ๒๗๒)

สเทเส (ในประประเทศ, ในแว่นแคว้นของตน) สเทส+สฺมึ

ปูชิโต (ถูกบูชาแล้ว) ปูช+อิ+ต > ปูชิต+สิ

ราชา (พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน) ราช+สิ

พุโธ (ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) พุธ+สิ

สพฺพตฺถ (ในที่ทั้งปวง, ทุกหนทุกแห่ง) สพฺพ+ถ ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

พระเจ้าแผ่นดินกับบัณฑิต หาเท่าเทียมกันเป็นนิตย์ในกาลทุกเมื่อไม่  พระเจ้าแผ่นดิน คนบูชาแต่ในประเทศ  ของพระองค์ บัณฑิตคนบูชาในที่ทุกสถาน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

พระเจ้าแผ่นดิน กับ นักปราชญ์ หาเท่าเทียมกันตลอดไปทุกเมื่อไม่  พระเจ้าแผ่นดิน คนบูชาแต่ในประเทศของตน  แต่นักปราชญ์คนบูชากันทั่วทุกสถาน.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 

ภาพ :  วัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท

วัดพระแก้ว เป็นวัดที่เก่าแก่ เดิมเรียกว่าวัดแก้วหรือวัดพบแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นวัดเก่าแก่รุ่นเดียวกับวัดมหาธาตุ เมืองสรรคบุรี 








Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: