ควรเปิดใจรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนได้
[ณ วัดโฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ภิกษุได้เตือนพระฉันนะที่ประพฤติไม่เหมาะสม แต่พระฉันนะโต้กลับว่าพวกท่านเป็นใครมาว่าเรา เราต่างหากที่จะว่ากล่าวท่านได้ ด้วยเพราะถือตัวว่าเป็นคนตามพระพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธิทัตถะออกบวชพร้อมม้ากัณฐกะ เหล่าภิกษุจึงไปเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง]
พระพุทธเจ้า : ฉันนะ ได้ข่าวว่าเธอไม่ยอมให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน จริงหรือเปล่า?
ฉ : จริงท่าน
พระพุทธเจ้า : การกระทำของเธอไม่เหมาะไม่ควร ใช้ไม่ได้ ทำไมไม่ยอมให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเมื่อเธอทำตัวไม่ดี เธอทำให้คนเขาเสื่อมศรัทธา
ภิกษุทั้งหลาย อย่าได้ทำตัวให้เป็นคนที่ใครๆว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ เพราะหมู่คณะจะเจริญได้ ก็ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน
______
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 3 (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เล่ม 3 และภาค 2 เล่ม 1 เตรสกัณฑ์), 2559, น.565-568
เรื่องเล่าในพระธรรมบท พระฉันนะผู้ว่ายาก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระฉันนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ภเช ปาปเก มิตฺเต" เป็นต้น.
ท่านพระฉันนะ เคยเป็นนายสารถี ตามเสด็จเจ้าชายสิทธัตถะ ในวันออกมหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ฉันนะก็ได้ตามมาบวชเป็นพระภิกษุ แต่เมื่อมาบวชเป็นภิกษุแล้วพระฉันนะกลายแป็นพระหัวดื้อ และมีทิฐิมานะมากโดยทะนงตัวว่าเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระศาสดา พระฉันนะเคยกล่าว่า “เราเมื่อตามเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ กับพระลูกเจ้าของเราทั้งหลายในเวลานั้น มิได้เห็นผู้อื่นแม้สักคนเดียว แต่บัดนี้ ท่านพวกนี้เที่ยวกล่าวว่า เราชื่อสารีบุตร เราชื่อโมคคัลลานะ พวกเราเป็นอัครสาวก”
เมื่อพระศาสดาทรงสดับข่าวนั้น จึงได้รับสั่งให้พระฉันนเถระมาเฝ้า แล้วทรงอบรมสั่งสอน ฉันนเถระได้แต่นิ่งเงียบแต่ก็ยังกลับไปด่าว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเหมือนเดิม พระศาสดารับสั่งให้พระฉันนเถระมาตรัสสอนแบบเดียวนี้ถึง 3 ครั้ง ตรัสเตือนว่า “ฉันนะ อัครสาวกทั้งสองเป็นกัลยาณมิตร เป็นบุรุษชั้นสูงของเธอ, เธอจงเสพ จงคบกัลยาณมิตรเห็นปานนี้” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
น ภเช ปาปเก มิตฺเต, น ภเช ปุริสาธเม;
ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ, ภเชถ ปุริสุตฺตเม.
บุคคลไม่ควรคบปาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษต่ำช้า
ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด.
แม้ว่าจะถูกพระศาสดาว่ากล่าวตักเตือนอย่างไร พระฉันนเถระก็ยังไม่ยอมกลับตัวกลับใจ และยังคงด่าว่าพระอัครสาวกทั้งสองและพระภิกษุทั้งหลายอยู่ต่อไป พระศาสดาทรงทราบเช่นนี้ได้ตรัสว่า พระฉันนเถระจะไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระหว่างที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ แต่หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วพระฉันนเถระจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้แน่ ในเวลาจวนจะเสด็จปรินิพพาน พระศาสดาได้ตรัสเรียกพระอานนท์มาเฝ้าแล้วตรัสให้ภิกษุสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนเถระ (คือให้ภิกษุทั้งหลายเมินเฉยไม่สมาคมด้วย)
เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว พระฉันนเถระได้ฟังพรหมทัณฑ์ ที่พระอานนทเถระยกขึ้นมากล่าว มีความทุกข์ เสียใจ ล้มสลบถึง 3 ครั้ง แล้ว แล้ววิงวอนว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าให้กระผมฉิบหาบเลย” ท่านได้ยอมรับผิดและได้ขอขมาต่อภิกษุทั้งหลาย จากนั้นไม่นานท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16&p=3
เรื่องไม้ชำระฟัน , โอวาทปาติโมกข์ , แว่นธรรม-แว่นมองอนาคตตัวเอง, ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว , วิหารทาน เป็นทานอันเลิศ ที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญ , แผ่เมตตาแก่ช้างนาฬาคิรี , ให้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ตัวอยู่ทุกขณะ , จงมีธรรมและตนเองเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย , พระพุทธเจ้าปลงสังขาร , ปัจฉิมโอวาท , ธรรมที่พระพุทธเจ้าย้ำก่อนปรินิพพาน , เมื่อได้ยินอะไรมาให้ตรวจสอบเทียบเคียงกับพระสูตรและพระวินัย , อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า, คืนสุดท้ายของพระพุทธเจ้า , บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ใหญ่ 2 คราว , ใครที่ได้มาสังเวชนียสถานด้วยจิตเลื่อมใส เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติ , วิธีปฏิบัติต่อสตรีและพระพุทธสรีระ , สอนพระอานนท์เป็นครั้งสุดท้าย , ชื่นชมพระอานนท์
0 comments: