วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความลับของบัณฑิต

ความลับของบัณฑิต

อตฺตนา  มโนตาปญฺจ,    ฆเร  ทุจฺจริตานิ  จ;
วญฺจนญฺจ  อวมานํ,  มติมา  น  ปกาสเย.

บัณฑิต ไม่พึงแสดงอาการเหล่านี้ คือ :   การสูญเสียทรัพย์ ๑ ความเดือดร้อนใจ ๑   แลความประพฤติที่เสียหายในเรือน ๑   การถูกหลอกลวง ๑ และการถูกดูหมิ่น ๑.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๔, โลกนีติ ๒๘, มหารหนีติ ๕๗, กวิทัปปณนีติ ๙๑, จาณักยนีติ ๓๔)

ศัพท์น่ารู้ :

อตฺตนา (ด้วยตนเอง) อตฺต+นา, ศัพท์นี้ในคัมภีร์โลกนีติและกวิทัปปณนีติ เป็น ธนนาสํ (ความฉิบหายทรัพย์) ในคัมภีร์มหารหนีติและจาณักยนีติ เป็น อตฺถนาสํ (ความฉิบหายประโยชน์) ในที่ขอแปลตามนัยของโลกนีติ.

มโนตาปํ (ซึ่งความร้อนใจ, ความหงุดหงิด) มน+ตาป > มโนตาป+อํ

ฆเร (ในเรือน) ฆร+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)

ทุจฺจริตานิ (ความประพฤติชั่ว, ทุจริตกรรม ท.) ทุจฺจริต+โย แปลง โย เป็น นิ แปลง โย เป็น นิ หลัง อ การันต์ในนปุง. แน่นอน ด้วยสูตรว่า อโต นิจฺจํ. (รู ๑๙๖) = ทุจฺจริต+นิ, ทีฆะ ด้วยสูตรว่า โยสุ กตนิการโลเปสุ ทีฆํ. (รู ๑๔๗) = ทุจฺจริตา+นิ รวมสำเร็จรูปเป็น ทุจฺจริตานิ

จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจจยัตถะ)

วญฺจนญฺจ ตัดบทเป็น วญฺจนํ+จ (การหลอกลวง+ด้วย) วญฺจน+อํ

อวมานํ (การดูถูก, ดูหมิ่น) อวมาน+อํ

ปณฺฑิโต (คนฉลาด, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ปกาสเย (ให้ประกาศ, ให้ปรากฏ, ออกอาการ, เล่าให้ฟัง) ป+√กาส+ณย+เอยฺย ภูวาทิคณะ เหตุกัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บัณฑิตมิบังควรประกาศ [หายนะของตน]  คือการเสียทรัพย์ความทุกข์ในใจ การอวมงคลในบ้าน ข้อถูกลวง และการดูหมิ่น.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

หมายเหตุ :  เป็นที่น่าเสียดายว่า คาถานี้ท่านไม่ได้แปลไว้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ :  นักรบตะวันออก

วัดหัวเขาแจงธรรม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 









Previous Post
Next Post

0 comments: