คบคนดีย่อมมีผล
สกึปิ วิญฺญู ธีเรน, กโรติ สห สงฺคมํ;
อตฺตตฺถญฺจ ปรตฺถญฺจ, นิพฺพานนฺตํ สุขํ ลเภ.
ผู้สมาคมกับนักปราชญ์แม้ครั้งเดียว เขาย่อมได้รับประโยชน์สำหรับตน ประโยชน์สำหรับผู้อื่น และได้ความสุขอันมีนิพพานเป็นที่สุดด้วย.
(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๔, มหารหนีติ ๔๘)
ศัพท์น่ารู้ :
สกึปิ (แม้ครั้งเดียว, แม้สักครั้ง) ตัดบทเป็น สกึ+อปิ เป็นนิบาตใช้จำแนกสังขยา. นิบาตกลุ่มนี้มี ๓ ตัว คือ ธา, กฺขตฺตุํ, สกึ.
วิญฺญู (ผู้รู้, คนฉลาด, วิญญูชน) วิญฺญู+สิ
ธีเรน (กับนักปราชญ์, ผู้มีปัญญา, ธีรชน) ธีร+นา
กโรติ (ย่อมกระทำ) √กร+โอ+ติ ตนาทิ. กัตตุ.
สห (พร้อม, กับ) นิบาตใช้ร่วมกับกริยา นิบาตกลุ่มนี้มี ๔ ตัว คือ สห, สทฺธึ, สมํ, อมา.
สงฺคมํ (ร่วมกัน, สังคม, การคบหา) สงฺคม+อํ
อตฺตตฺถญฺจ ตัดบทเป็น อตฺตตฺถํ+จ, อตฺต+อตฺถ > อตฺตตฺถ+อํ = อตฺตตฺถํ (ซึ่งประโยชน์แก่/ของตน)
ปรตฺถญฺจ ตัดบทเป็น ปรตฺถํ+จ, ปร+อตฺถ > ปรตฺถ+อํ = ปรตฺถํ (ซึ่งประโยชน์แก่/ของผู้อื่น), ส่วน จ ศัพท์เป็นนิบาต แปลว่า และ, ด้วย.
นิพฺพานนฺตํ (มีนิพพานเป็นที่สุด) นิพฺพาน+อนฺต > นิพฺพานนฺต+อํ
สุขํ (ความสุข) สุข+อํ
ลเภ (ได้, ได้รับ) √ลภ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
นักปราชญ์ทำการร่วมสมาคม แม้สักคราวเดียวโดยกาลนาน ก็ยังได้ประโยชน์ตนแลประโยชน์ผู้อื่นแลสุขมีนิพพานเป็นที่สุด.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ผู้สมาคมกับนักปราชญ์แม้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่นานก็จะได้ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และความสงบสุขซึ่งมีนิพพานเป็นที่สุด.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
57. ผู้มิใช่บัณฑิต, 56. เห็นอย่างบัณฑิต, 55. ความลับของบัณฑิต, 54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ, 53. สภาที่ไม่เป็นสภา, 52. บัณฑิต ๓ ประเภท, 51. บุตร ๓ จำพวก, 50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม, 49. ดูฟังอย่างปราชญ์, 48. วิถีของนักปราชญ์, 47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา, 46. บัณฑิตกับคนพาล, 45. พูดเล่นอาจเป็นจริง, 44. คบคนดีย่อมมีผล, 43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี, 42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้, 41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง, 40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น, 39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ, 38. ลักษณะของบัณฑิต, 37. สรีระกับคุณความดี, 36. ควรฝึกตนเองก่อน, 35. คำชมที่ควรชัง, 34. พระราชากับนักปราชญ์, 33. รู้อย่างบัณฑิต, 32. ประโยชน์ ๒ อย่าง, 31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง, 30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง, 29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย, 28. ฟังเป็นเห็นสุข, คาถากาสลัก จะ ภะ กะ สะ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศภาพ : “หลวงพ่อใหญ่” วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวสิงห์บุรี ประดิษฐานโดดเด่นบริเวณทางเข้าวัด ปางประทานพรองค์ใหญ่ ประดับด้วยโมเสดทองคำธรรมชาติ 24 เค จากประเทศอิตาลี ประทับนั่งบนฐานบัวและชุกชี
0 comments: