วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พูดเล่นอาจเป็นจริง

พูดเล่นอาจเป็นจริง

นทีตีเรฎฺฐิเต  กูเป,   อรณิตาลวณฺฑเก;
น  วทาปาทิ  นตฺถีติ,    น  มุเข  วจนํ  ตถา.

ที่มีบ่อใกล้ฝั่งแม้น้ำ ห้ามพูดว่า ไม่มีน้ำ  เมื่อมีก้านตาลทำไม้สีไฟ ห้ามพูดว่า ไม่มีไฟ  คำพูดในปาก ว่าไม่มี จะเป็นอย่างนั้น.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๕, มหารหนีติ ๕๑, กวิทัปปณนีติ ๑๖๗)

ศัพท์น่ารู้ :

นทีตีเรฏฺฐิเต ตัดบทเป็น นทีตีเร+ฐิเต (ซี่งตั้งอยู่ที่ใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำ) นที (แม่น้ำ)+ตีร (ฝั่ง, ตลิ่ง) > นทีตีร+สฺมึ = นทีตีเร. ส่วน ฐิเต มาจาก ฐา+ต > ฐิต+สฺมึ = ฐิเต แปลงสระที่สุดธาตุเป็น อิ § ฐาปานมิอี จ. (รู ๖๒๐)

กูเป (หลุม, บ่อ, โพรง) กูป+สฺมึ

อรณีตาลวณฺฑเก (ก้านตาลใช้สีไฟ, ขั้วตาลทำเป็นไม้สีไฟ) อรณี+ตาล+วณฺฏก > อรณีตาลวณฺฑก+สฺมึ, อรณิ, อรณี (ไม้สีไฟ) อิต., ตาล (ต้นตาล) ป., วณฺฑก, วณฺฏก (ขั้ว, ก้าน) นป. ในกวิทัปปณนีติ เป็น อรณีตาลวณฺฏเก

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

วทาปาทิ ตัดบทเป็น วเท+อาปาทิ, วเท (พึงกล่าว, ควรพูด) วท+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ส่วน อาปาทิ (น้ำเป็นต้น) อาป+อาทิ > อาปาทิ+สิ, อาทิ (เป็นต้น) ศัพท์ในที่นี้ หมายเอา ไฟ (อคฺคิ) ด้วย

นตฺถีติ: ตัดบทเป็น นตฺถิ+อิติ (ว่าไม่มี, ว่า..ไม่มี ดังนี้) น+อตฺถิ สนธิเป็น นตฺถิ แปลว่า ไม่มี, ศัพท์ว่า อตฺถิ เป็นกิริยาอาขายาต ก็ได้ เป็น นิบาตบท ก็ได้

มุเข (ปาก) มุข+สฺมี, นป.

วจนํ (คำ, กล่าว, พจน์) วจน+สิ

ตถา (อย่างนั้น, เช่นนั้น) นิบาต

ส่วนในกวิทัปปณนีติ มีข้อความคล้ายกันดังนี้

นทีตีเร  ขเต  กูเป,    อรณีตาลวณฺฎเก;

น  วเท  ทกาที  นตฺถีติ,   มุเข  จ  วจนํ  ตถาฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

หลุมที่ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งน้ำ [สลายแล้ว]  งวงตาลที่แห้งเกราะแล้ว อันจะคืนมาให้ใหม่ ไม่มีเลย แต่คำว่า „ไม่มี“ ในปากมันไม่เหมือนอย่างนั้น.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

บ่อริมแม่น้ำ งวงตาลที่แห้งเกราะ  จะคืนมาใหม่ไม่ได้เลย  แต่คำที่ไม่มีในปากคน.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ :  "ลอยกระทงลาวา" จ.พิจิตร

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ที่ แพท่าน้ำคลองข้าวตอก วัดดงกลาง "ลอยกระทงลาวา สายธาราดงกลาง" ทำจากกะลามะพร้าวกว่า 1 หมื่นใบ ส่องแสงระยิบระยับงดงามยามค่ำคืน ในคลองสายสำคัญของหมู่บ้าน


Previous Post
Next Post

0 comments: