สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง
โลภํ โกธํ มทํ มานํ, ตนฺทึ อิสฺสํ ปมตฺตกํ;
โสณฺฑํ นิทฺทาลุกํ มกฺขํ, มจฺเฉรญฺจ ชเห พุโธ.
ความโลภ ๑ ความโกรธ ๑ ความมัวเมา ๑ ความถือตัว ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความริษยา ๑ ความประมาท ๑
ความเป็นนักเลง ๑ การนอนมาก ๑ การลบหลู่คุณท่าน ๑ และความตระหนี่ถี่เหนียว ๑ ผู้มีปัญญาพึงละเว้นให้เด็ดขาด.
(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๐, มหารหนีติ ๒๓๔)
ศัพท์น่ารู้ :
โลภํ (โลภะ, ความโลภ, ความยาก) โลภ+อํ
โกธํ (ความโกรธ) โกธ+อํ
มทํ (ความเมา) มท+อํ
มานํ (มานะ, การถือตัว) มาน+อํ
ตนฺทึ (ความเกียจคร้าน) ตนฺที+อํ
อิสฺสํ (ความริษยา) อิสฺสา+อํ
ปมตฺตกํ (ความประมาท) ปมตฺตก+อํ
โสณฺฑํ (นักเลง, นักเลงเหล้า) โสณฺฑ+อํ
นิทฺทาลุกํ (นอนมาก, ขี้เซา) นิทฺทาลุก+อํ
มกฺขํ (ความลบหลู่) มกฺข+อํ
มจฺเฉรญฺจ ตัดบทเป็น มจฺเฉรํ+จ (และความตระหนี่)
ชเห (พึงละ, ควรสละ) √หา+อ+เอยฺย ภูวาทิ. (ชุโหตฺยาทินัย) กัตตุ.
พุโธ (ผู้รู้, ผู้มีปัญญา) พุธ+สิ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ความละโมภ โกรธ มัวเมา ถือตัว เกียจคร้าน ริษยา ประมาท นักเลง ความนอนมาก ลบหลู่ และตระหนี่ [เหล่านี้] ผู้มีปัญญาควรละเสีย ฯ
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ความลโมภ ความโกรธ ความมัวเมา ความถือตัว ความเกียจคร้าน ความริษยา ความประมาท ความเป็นนักเลง การนอนมาก ความลบหลู่บุญคุณท่าน ความตระหนี่ เหล่านี้ ผู้มีปัญญาควรละให้เด็ดขาด.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇
57. ผู้มิใช่บัณฑิต, 56. เห็นอย่างบัณฑิต, 55. ความลับของบัณฑิต, 54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ, 53. สภาที่ไม่เป็นสภา, 52. บัณฑิต ๓ ประเภท, 51. บุตร ๓ จำพวก, 50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม, 49. ดูฟังอย่างปราชญ์, 48. วิถีของนักปราชญ์, 47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา, 46. บัณฑิตกับคนพาล, 45. พูดเล่นอาจเป็นจริง, 44. คบคนดีย่อมมีผล, 43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี, 42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้, 41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง, 40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น, 39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ, 38. ลักษณะของบัณฑิต, 37. สรีระกับคุณความดี, 36. ควรฝึกตนเองก่อน, 35. คำชมที่ควรชัง, 34. พระราชากับนักปราชญ์, 33. รู้อย่างบัณฑิต, 32. ประโยชน์ ๒ อย่าง, 31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง, 30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง, 29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย, 28. ฟังเป็นเห็นสุข, คาถากาสลัก จะ ภะ กะ สะ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ
0 comments: