วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า

อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า

[ณ ปาวานคร นายจุนทะ บุตรนายช่างเหล็กได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุสงฆ์มาเพื่อถวายภัตตาหารที่บ้านตน เมื่อพระพุทธเจ้ามาถึงและนั่งลงเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกับนายจุนทะว่า]

พ:  จุนทะ ท่านจงถวายสูกรมัททวะ (ไม่ชัดเจนว่าเป็นเนื้อหมู สมุนไพรหรือเห็ดที่หมูชอบกิน หรือข้าวสุกอ่อนปรุงด้วยนมเนย) ที่ท่านเตรียมไว้แก่เรา และถวายของฉันอื่นๆให้แก่ภิกษุสงฆ์

[หลังจากที่จุนทะถวายแล้ว พระพุทธเจ้าได้กล่าวว่า]

พ:  ท่านจงเอาสูกรมัททวะที่เหลือไปฝังในหลุม เราไม่เห็นใครที่จะกินแล้วย่อยได้นอกจากตถาคต

[จากนั้นพระพุทธเจ้าได้เกิดอาพาธอย่างรุนแรง ท้องร่วงถ่ายเป็นเลือด เจ็บปวดมากจนแทบจะปรินิพพาน แต่ท่านก็ยังคงมีสติสัมปชัญญะ อดทนต่อความรู้สึกปวด ไม่กระวนกระวาย]

พ:  มาเถิดอานนท์ เราจะไปกรุงกุสินารากัน

[ระหว่างทาง พระพุทธเจ้าพูดกับพระอานนท์ว่า]

พ:  เธอช่วยปูผ้าพับสี่ทบให้เรา เราเหนื่อย จะนั่งพักหน่อย

เธอจงเอาน้ำมาให้เรา เราหิวน้ำ อยากดื่มน้ำ

อ:  เมื่อกี้นี้มีเกวียน 500 เล่มข้ามไป น้ำที่มีอยู่น้อยนั้นถูกล้อเกวียนทำให้ขุ่นไปหมด ไม่ไกลจากนี่มีแม่น้ำกกุธานที น้ำจะใสเย็นสะอาดกว่า มีท่าเทียบนั่งสบาย ขอท่านดื่มน้ำและอาบน้ำในแม่น้ำนั้นจะดีกว่า

[แต่พระพุทธเจ้ายืนยันว่าจะดื่มตอนนี้ จนครั้งที่สาม พระอานนท์จึงยอมเดินไปตักน้ำ ซึ่งพอเดินไปถึงก็พบว่าน้ำนั้นกลับใสสะอาด เมื่อใช้บาตรตักน้ำมาแล้วก็บอกกับพระพุทธเจ้าว่า น่าแปลกดีแท้ พระตถาคตมีอานุภาพมาก ทำให้น้ำกลับใสได้]

______

ที่มา:  เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 13 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 1 มหาปรินิพพานสูตรที่ 3 เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร-ถวายสูกรมัททวบิณฑบาต), 2559, น.288-291

ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร,  เรื่องไม้ชำระฟัน , วันมาฆบูชา , โอวาทปาติโมกข์ ,  แว่นธรรม-แว่นมองอนาคตตัวเอง,  ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว , วิหารทาน เป็นทานอันเลิศ ที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญ แผ่เมตตาแก่ช้างนาฬาคิรี , ให้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ตัวอยู่ทุกขณะ , จงมีธรรมและตนเองเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย , พระพุทธเจ้าปลงสังขาร ,  ปัจฉิมโอวาท ,  ภาพวาดพุทธประวัติ ,  พุทธกิจ ๔๕ พรรษา , พระประวัติของพระบรมศาสดา (ฉบับย่อ) , พุทธประวัติโดยย่อธรรมที่พระพุทธเจ้าย้ำก่อนปรินิพพาน , เมื่อได้ยินอะไรมาให้ตรวจสอบเทียบเคียงกับพระสูตรและพระวินัย







Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: