ตำรา : ดาบสองคม
มทนฺตทมนํ สตฺถํ, ขลานํ กุรุเต มทํ;
จกฺขุสงฺขารกํ เตชํ, อุลูกานมิวนฺธกํ.
ตำราเป็นเครื่องมือฝึกคนมัวเมาก็ได้ ทำความมัวเมาให้คนพาลทั้งหลายก็ได้ ตำราเป็นดุจแสงสว่างช่วยให้จักษุเห็นได้ชัด แต่เป็นประดุจความมืดแก่นกแสกทั้งหลาย.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๕, มหารหนีติ ๘๕, กวิทัปปณนีติ ๑๗๓)
ศัพท์น่ารู้ :
มทนฺตทมนํ (การฝึกคนมัวเมา) มทนฺต+ทมน > มทนฺตทมน+สิ
สตฺถํ (ศาสตร์, ตำรา, เกวียน, กองเกวียน, ศัตรา, หอก, มีด) สตฺถ+สิ นป.
ขลานํ (แก่คนพาล ท.) ขล+นํ วิ. ขลตีติ ขโล (คนที่หวั่นไหว ชื่อว่า ขละ) มาจาก √ขล-จลเน+อ ปัจจัย คำว่า ขล หมายถึง ทุชฺชน (คนชั่ว), อสาธุ (คนไม่ดี), อสปฺปุริส (ไม่ใช่สัตบุรุษ) และ ปาปชน (คนบาป) ดูสัททนีติ ธาตุมาลา.
กุรุเต (ย่อมกระทำ) √กร+โอ+เต ตนาทิคณะ กัตตุวาจก
มทํ (ซึ่งความเมา, ความมัวเมา) มท+อํ
จกฺขุสงฺขารกํ (เป็นเครื่องปรุงแต่งจักษุ, ช่วยให้ตาเห็นชัดขึ้น) จกฺขุ+สงฺขารก > จกฺขุสงฺขารก+สิ
เตชํ (เดช, อำนาจ, ความร้อน, ความรุ่งเรือง, ไฟ, แสง) เตช+สิ
อุลูกานมิวนฺธกํ ตัดบทเป็น อุลูกานํ+อิว+อนฺธกํ, อุลูกานํ (แก่นกแสก, นกฮูก ท.) อุลูก+นํ, อิว (ดุจ, เพียงดัง) นิบาตบอกอุปมา. อนฺธกํ (ซึ่งความมืด, ความสับสน, โง่เขลา) อนฺธก+สิ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คัมภีร์เป็นเครื่องฝึกคนมัวเมาได้ แต่ทำความเมาร้ายให้แก่คนพาล เสมือนหนึ่งไฟส่องสว่าง ให้แก่จักษุ แต่กลับทำความมืดแก่นกแสก.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ตำราช่วยคนให้หายโง่ได้ แต่ทำความเมาร้ายให้แก่คนพาล เหมือนหนึ่งไฟส่องสว่างแก่คนตาดี แต่กลับทำความมืดให้แก่นกเค้าแมว.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้
(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇
27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร , 25. ตำรา : ดาบสองคม , 24. คนโง่ชอบโอ้อวด , 23. ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี , 21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ , 17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง
(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
0 comments: