คำพูดสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
[ณ ป่าสาลวัน ใกล้กรุงกุสินารา พระพุทธเจ้าสั่งกับพระอานนท์ว่า]
พ: บางทีพวกเธออาจจะคิดว่า ‘คำสอนของพระศาสดาที่ล่วงลับเป็นอดีตไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดาแล้ว’ ซึ่งพวกเธอไม่ควรคิดเช่นนี้ ธรรมและวินัยที่เราได้แสดงไว้บัญญัติไว้แก่พวกเธอ จะเป็นศาสดาของพวกเธอหลังจากเราล่วงลับไป
อานนท์ ตอนนี้พวกภิกษุไม่ว่าจะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่าต่างเรียกกันและกันว่าอาวุโส (ท่านผู้มีอายุ) หลังจากนี้ไปไม่ควรเรียกกันแบบนั้นแล้ว
ภิกษุที่แก่กว่าควรเรียกภิกษุที่อ่อนกว่าด้วยชื่อ นามสกุล หรือด้วยคำว่าอาวุโส
ภิกษุที่อ่อนกว่าควรเรียกภิกษุที่แก่กว่าว่า ภันเต (ท่านผู้เจริญ) หรืออายัสมา
เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว หากภิกษุสงฆ์จะถอนสิกขาบท (ยกเลิกข้อปฏิบัติ) เล็กน้อยบ้างก็สามารถทำได้
เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ขอให้ลงพรหมทัณฑ์ (โทษหนัก) แก่ฉันนภิกษุด้วย
อ: พรหมทัณฑ์นี้เป็นอย่างไร?
พ: ฉันนะจะพูดจะทำอะไรก็ตามใจเขา ภิกษุทั้งหลายไม่ต้องไปว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอน
[จากนั้น พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า]
พ: ถ้าใครยังมีข้อสงสัยในหลักคำสอนหรือข้อปฏิบัติต่างๆ ขอให้ถามได้ตอนนี้ อย่าได้เสียใจภายหลังว่าพระศาสดาอยู่ตรงหน้าเราแล้วกลับไม่ได้ถาม
[ภิกษุทั้งหมดต่างนิ่งอยู่ แม้พระพุทธเจ้าจะกล่าวย้ำอีกสองครั้ง ก็ยังคงนิ่งเช่นเดิม พระพุทธเจ้าจึงพูดว่า]
พ: บางทีพวกเธออาจไม่กล้าถามเพราะเคารพยำเกรงพระศาสดา ถ้าจะให้เพื่อนถามแทนก็ได้
[ขณะนั้นเหล่าภิกษุก็ยังคงนิ่งอยู่ พระอานนท์จึงพูดกับพระพุทธเจ้าว่า]
อ: น่าอัศจรรย์จริง ข้าพระองค์เลื่อมใสในเหล่าภิกษุนี้ที่ไม่มีข้อสงสัยในหลักคำสอนหรือข้อปฏิบัติเลยแม้แต่รูปเดียว
พ: อานนท์ เธอพูดด้วยความเลื่อมใส ตถาคตเองคาดไว้อยู่เหมือนกันว่า จะไม่มีสักรูปเดียวที่สงสัย ในบรรดาภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ ภิกษุรูปที่คุณวิเศษต่ำสุดก็เป็นโสดาบัน จะไม่ตกต่ำไปจากนี้ เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าได้แน่นอน
[จากนั้น พระพุทธเจ้าได้กล่าวปัจฉิมวาจา (คำพูดสุดท้าย) แก่เหล่าภิกษุว่า]
พ: ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงเพียรปฏิบัติด้วยความไม่ประมาทเถิด
_____
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 13 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 1 มหาปรินิพพานสูตรที่ 3 ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์-พระปัจฉิมวาจา), 2559, น.313-315
วิหารทาน เป็นทานอันเลิศ ที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญ , แผ่เมตตาแก่ช้างนาฬาคิรี , ให้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ตัวอยู่ทุกขณะ , จงมีธรรมและตนเองเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย , พระพุทธเจ้าปลงสังขาร , ปัจฉิมโอวาท , ธรรมที่พระพุทธเจ้าย้ำก่อนปรินิพพาน , เมื่อได้ยินอะไรมาให้ตรวจสอบเทียบเคียงกับพระสูตรและพระวินัย , อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า, คืนสุดท้ายของพระพุทธเจ้า , บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ใหญ่ 2 คราว , ใครที่ได้มาสังเวชนียสถานด้วยจิตเลื่อมใส เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติ , วิธีปฏิบัติต่อสตรีและพระพุทธสรีระ , สอนพระอานนท์เป็นครั้งสุดท้าย , ชื่นชมพระอานนท์ , ควรเปิดใจรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนได้ , ยังไม่มีผู้ที่สงบจากบาปกิเลสได้ด้วยหลักคำสอนอื่นนอกพุทธศาสนานี้ , ธรรมสังเวช
"วิหารแก้ว 100 เมตร" วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
เปิดให้ชมความงดงามแล้ว วิหารโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยโมเสกแก้วแวววับทั้งหลัง ภายในมีโลงแก้วบรรจุสังขารองค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธาน
0 comments: