ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท
"อฏฺฐกฺขุรํ ขราทิเย, มิคํ วงฺกาติวงฺกินํ;
สตฺตหิ กาลาติกฺกนฺตํ [1], น นํ โอวทิตุสฺสเหติ ฯ
ดูกรนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วัน".
1) [สตฺตหิ กลาห’ติกฺกนฺตํ (สี.), สตฺตกาเลห’ติกฺกนฺตํ (สฺยา.), สตฺตหิ กาลาห’ติกฺกนฺตํ (ปี.)],
ขราทิยชาดกอรรถกถา
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุว่า ยากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อฏฺฐขุรํ ขราทิเย ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นว่ายากไม่รับโอวาท ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า „ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอว่า ยากไม่รับโอวาทจริงหรือ ?“.
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า „ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า“.
พระศาสดาตรัสว่า „แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่รับ โอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ว่า ยากจึงติดบ่วงถึงความสิ้นชีวิต“, แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นมฤคแวดล้อมด้วยหมู่เนื้ออยู่ในป่า.
ลำดับนั้น เนื้อผู้เป็นน้องสาวมฤคนั้นแสดงบุตรน้อยแล้วให้รับเอาด้วยคำพูดว่า „ข้าแต่พี่ชายนี้เป็นหลานของพี่ พี่จงให้เรียนมายาเนื้ออย่างหนึ่ง“.
มฤคนั้นกล่าวกะหลานนั้นว่า „ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาเรียนเอา“ เนื้อผู้หลานไม่มาตามเวลาที่พูดไว้เมื่อล่วงไป ๗ วัน เหมือนดังวันเดียว. เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ได้เรียนมายาของเนื้อท่องเที่ยวไป จึงติดบ่วง.
ฝ่ายมารดาของเนื้อนั้น เข้าไปหามฤคผู้พี่ชายแล้วถามว่า „ข้าแต่พี่ พี่ไห้หลานเรียนมายาของเนื้อแล้วหรือ ?“.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „เจ้าอย่าคิดเสียใจต่อบุตรผู้ไม่รับโอวาทสั่งสอนนั้นเลย, บุตรของเจ้าไม่เรียนเอามายาของเนื้อเอง“ ดังนี้ เป็นผู้ไม่มีความประสงค์จะโอวาทเนื้อนั้นเลย ในบัดนี้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
„ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอน เนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแค่โคนเขาจนถึงปลาย เขาผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้“.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐขุรํ ได้แก่ มีกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้างหนึ่งๆ มี ๒ กีบ พระโพธิสัตว์เรียกนางเนื้อนั้นโดยชื่อว่าขราทิยา. บทว่า มิคํ เป็นคำรวมถือเอาเนื้อทุกชนิด. บทว่า วงฺกาติวงฺกินํ ได้แก่ คดยิ่งกว่าคด คือ คดตั้งแต่ที่โคนเขา คดมากขึ้นไปถึงปลายเขาชื่อว่าผู้มีเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา เพราะเนื้อนั้นมีเขาเป็นเช่นนั้น. จึงชื่อว่าเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา คือ มีเขาคดแต่โคนเขา จนถึงปลายเขานั้น.
บทว่า สตฺตกาเลหติกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้ล่วงเลยโอวาท โดยเวลาเป็นที่ให้โอวาท ๗ วัน. ด้วยบทว่า น นํ โอวทิตุสฺสเห นี้ท่านแสดงว่า เราไม่อาจให้โอวาทเนื้อผู้ว่า ยากนี้แม้ความคิดเพื่อจะโอวาทเนื้อนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่เรา.
ครั้งนั้น นายพรานฆ่าเนื้อที่ว่า ยากตัวนั้นซึ่งติดบ่วง ถือเอาแต่เนื้อแล้วหลีกไป.
ฝ่ายพระศาสดา ตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่า ยากแต่ในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน“,
ครั้นทรงนำพระเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิกันแล้วทรงประชุมชาดกว่า „เนื้อผู้เป็นหลานในกาลนั้นได้เป็นภิกษุผู้ว่า ยากในบัดนี้, แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวในกาลนั้นได้เป็นพระอุบลวรรณา ในบัดนี้, ส่วนเนื้อผู้ให้โอวาทในกาลนั้นได้เป็นเราตถาคตแล“.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
22. กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21. กุรุงฺคมิคชาตกํ - ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20. นฬปานชาตกํ - เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด , 19. อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18. มตกภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. มาลุตชาตกํ - ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14. วาตมิคชาตกํ - ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. กณฺฑินชาตกํ - ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. นิคฺโรธมิคชาตกํ - ว่าด้วยการเลือกคบ , 11. ลกฺขณมิคชาตกํ - ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. สุขวิหาริชาตกํ - ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 09. มฆเทวชาตกํ - ว่าด้วยเทวทูต , 08. คามณิชาตกํ - ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 07. กฏฺฐหาริชาตกํ - ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ , 06. เทวธมฺมชาตกํ - ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 05. ตณฺฑุลนาฬิชาตกํ - ว่าด้วยราคาข้าวสาร, 04. จูฬเสฏฺฐิชาตกํ - ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 03. เสริววาณิชชาตกํ - ว่าด้วยเสรีววาณิช , 02. วณฺณุปถชาตกํ - ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 01. อปณฺณกชาตกํ - ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
0 comments: