คนโง่ชอบโอ้อวด
น โลเก โสภเต มุฬฺโห, เกวลตฺตปสํสโก;
อปิ สมฺปิหิโต กูเป, กตวิชฺโช ปกาสิโต.
คนโง่เขลา มักยกย่องตนเท่านั้น ย่อมไม่สง่างามในโลก คนมีการศึกษา แม้ถูกปกปิดไว้ในหลุม, ย่อมถูกเปิดเผยให้ปรากฏจนได้.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๔, มหารหนีติ ๘๔, กวิทัปปณนีติ ๓๓๒)
ศัพท์น่ารู้ :
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ
โสภเต (ย่อมงาม) √สุภ-ทิตฺติหึสาสุ+อ+เต ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
มูฬฺโห (คนหลง, งมงาย, โง่เขลา) √มุห-เวจิตฺเต+ต > มูฬฺห+สิ, วิ. อมุยฺหีติ มูฬฺโห. (คนหลง ชื่อว่า มูฬหะ) แปลง ต เป็น ห แปลง ห เป็น ล (ฬ) หนฺเตหิ โห หสฺส โล วา อทหนหานํ. (รู ๖๒๑) ทีฆะอุเป็นอู กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘).
เกวลตฺตปสํสโก (คนยกย่อง-, ชมเชย-, สรรเสริญตนเท่านั้น) เกวล+อตฺต+ปสํสก > เกวลตฺตปสํสก+สิ, เกวล (ล้วนๆ, ทั้งดุ้น, ทั้งเพ, ฝ่ายเดียว), อตฺต (ตน, ตัวเอง), ปสํสก (ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย)
อปิ (แม้) อุปสัคในอรรถติเตียน(ครเห) หรือ ยกย่อง (สมฺภาวนายํ) เป็นต้น.
สมฺปิหิโต (ถูกปิดไว้, ถูกครอบไว้) สํ+อปิ+√ธา+อิ+ต > สมฺปิหิต+สิ, วิ. สมฺปิธียีติ สมฺปิหิโต (สิ่งที่ถูกปิดไว้ ชื่อว่า สัมปิหิตะ) ธา ธาตุที่มี อปิ อุปสัคเป็นบทหน้า มีอรรถว่า ปิด, ครอบไว้. ลบ อ ของ อปิ & เตสุ วุทฺธิ ฯ. (๓๗๐), แปลง ธ เป็น ห และรัสสะ กฺวจิ ธาตุ ฯ. (๔๘๘)
กูเป (หลุม, บ่อ) กูป+สฺมึ
กตวิชฺโช (ผู้มีวิชาอันตนกระทำแล้ว, คนได้เรียนแล้ว, คนมีความรู้แล้ว, คนเรียนจบแล้ว) กต+วิชฺช > กตวิชฺช+สิ วิ. กตา วิชฺชา เยนาติ กตวิชฺโช (ผู้ที่ได้เรียนวิชาแล้ว ชื่อว่า กตวิชชะ) ตติยาพหุพพี.
ปกาสเต (ย่อมประกาศ, ปรากฏ, ชี้แจง, ป่าวร้อง, โฆษณา, แสดง, อวดอ้าง) ป+√กาส-ปกาสเน+อ+เต ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนโง่ดีแต่ยกตัวเท่านั้น ไม่มีสง่าในโลกเลย คนมีวิชาทำอะไร ๆ ได้ ถึงจะจมอยู่ในหลุม ก็ยังปรากฏ [มีคนนับถือลือชื่อเสียง].
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนโง่ไม่มีสง่าในโลกเลย ดีแต่ยกตัวเท่านั้น คนมีวิชาความรู้ดี ถึงใครจะหมกไว้ในหลุม ก็ต้องปรากฏจนได้.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ
(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇
27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร , 25. ตำรา : ดาบสองคม , 24. คนโง่ชอบโอ้อวด , 23. ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี , 21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ , 17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง
(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
0 comments: