แว่นธรรม-แว่นมองอนาคตตัวเอง
[ณ หมู่บ้านนาทิกะ พระอานนท์ได้ถามพระพุทธเจ้าว่าภิกษุภิกษุณีรูปนั้นรูปนี้ และอุบาสกคนนั้นคนนี้ในหมู่บ้านนาทิกะ สิ้นชีวิตไปแล้วเป็นอย่างไรในชาติหน้า ซึ่งหลังจากที่พระพุทธเจ้าไล่ตอบของแต่ละคนแล้วก็กล่าวว่า]
..อานนท์ การที่มนุษย์จะล่วงลับไปนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งถ้าเธอทั้งหลายเข้ามาถามตถาคตเรื่อยๆว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรหลังล่วงลับไปแล้วก็จะเป็นการรบกวนตถาคต เพราะฉะนั้น เราจะบอกวิธีพิจารณากันเอาเอง ซึ่งเรียกว่า แว่นธรรม
แว่นธรรมนี้จะใช้คาดการณ์ภพหน้าของตัวเองได้ว่า ตนจะไม่ไปนรกอบาย ไม่ไปทุคติภูมิเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่จะเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำ และจะตรัสรู้ในภายหน้าได้แน่นอน
นั่นคือ สาวกในศาสนานี้ที่
1. เป็นผู้เลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า เป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลส ตรัสรู้แจ้งโลกได้ด้วยตนเอง มีวิชชา (ความรู้แจ้ง) และจรณะ (ข้อปฏิบัติที่เป็นเครื่องบรรลุวิชชา) สามารถฝึกฝนผู้อื่นให้บรรลุธรรมแบบที่ไม่มีใครทำได้ดีกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว
2. เป็นผู้เลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมะที่ทุกคนสามารถเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นจริงอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าใด ชวนผู้อื่นมาดูได้ เป็นธรรมที่ควรน้อมนำเข้ามาสู่ตัวเอง เป็นสิ่งที่วิญญูชนทั้งหลายรู้ได้ประจักษ์ได้เฉพาะตัว
3. เป็นผู้เลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกต้อง ซึ่งได้แก่ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ (พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์) นับเรียงได้ 8 ท่าน (แยกแต่ละบุรุษออกเป็นคู่ คือ มรรคและผล เช่น โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น) เป็นผู้ที่ควรแก่การไหว้เคารพนับถือ เป็นเนื้อนาบุญที่ดีที่สุดที่ให้ผู้คนได้ทำบุญ
4. เป็นผู้มีศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ (อริยกันตศีล) ปฏิบัติได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่แปดเปื้อนด้วยทิฏฐิตัณหา เป็นศีลที่เอื้อต่อการเกิดสมาธิ...
_______
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 13 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 1 มหาปรินิพพานสูตรที่ 3 แว่นธรรม), 2559, น.254-256
กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1), (ตอนที่ 2), (ตอนที่ 3), (ตอนที่ 4), หมอรักษาพระพุทธเจ้า, ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณี, เหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม, พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์, ตถาคตเลิกให้พรแล้ว, คุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว, แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1), (ตอนที่ 2), (ตอนที่ 3), (ตอนที่ 4), (ตอนที่ 5), (ตอนจบ), "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร, เรื่องไม้ชำระฟัน , ดูแลภิกษุอาพาธ , วันมาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ - Ovādapātimokkha , โอวาทปาติโมกข์
ภาพ : วัดจันทาราม (ท่าซุง)
วัดจันทาราม หรือ วัดท่าซุง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
วัดท่าซุง วัดที่มีชื่อเสียงและงดงามของเมืองอุทัยธานี พัฒนาและเป็นที่รู้จักเมื่อพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียง ได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย โดดเด่นด้วย พระวิหารแก้วที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราชจำลอง และร่างของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย ปราสาททองคำ ตกแต่งด้วยทองคำตระการตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจกใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปที่ญาติโยมถวายรอบนอกปราสาท ใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาทภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญต่าง
0 comments: