โอวาทปาติโมกข์ (คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า)
[ณ กุฎีใกล้ไม้กุ่ม วัดเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าได้เล่าให้เหล่าภิกษุฟังถึงเรื่องบุพเพสันนิวาส (ขันธ์ 5 ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนๆ) เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต โดยมีความตอนหนึ่งว่า]
..ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ นครพันธุมดี พระพุทธเจ้านามว่าวิปัสสี (พระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นในโลกย้อนหลังไป 91 กัป ซึ่งหนึ่งกัปคือช่วงเวลาที่โลกเกิดขึ้นและดับไปหนึ่งครั้ง) ได้แสดงพระปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ดังนี้
ความอดทนอดกลั้น (ขันติ) เป็นสิ่งที่ต้องเพียรฝึกฝนไว้เพื่อเผาผลาญกิเลสให้หมดไป
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า การมุ่งให้ถึงนิพพานถือเป็นเป้าหมายหลัก
ผู้ที่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่นไม่ถือว่าเป็นผู้ออกบวชสละทางโลก (บรรพชิต) หรือผู้สงบจากบาปกิเลส (สมณะ)
การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศล ละกิเลสความโลภโกรธหลง และการทำจิตให้สงบบริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่ให้ร้ายกล่าวโจมตีผู้อื่น การไม่ทำร้ายผู้อื่น การสำรวมรักษาความประพฤติการปฏิบัติตนให้อยู่ในโอวาทคำสอนของพระพุทธเจ้า การรู้จักฉันอาหารแต่พอประมาณ การดำรงตนอยู่ในที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัดปราศจากความวุ่นวาย การฝึกฝนพัฒนาจิตของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้เห็นแจ้งในธรรมเหล่านี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย...
_________
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 13 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 1 มหาปทานสูตรที่ 1 ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์), 2559, น.51-52
โอวาทปาฏิโมกข์ - Ovādapātimokkha
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธาน สาสนํ ฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Lord Buddha taught the same principle. In addition, he taught how to purify one's mind, as he preached in his Ovādapātimokkha:
1. Refrain from all sins .
2. Do good.
3. Purify the mind.
this is the Buddha's teaching.
กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1), (ตอนที่ 2), (ตอนที่ 3), (ตอนที่ 4), หมอรักษาพระพุทธเจ้า, ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณี, เหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม, พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์, ตถาคตเลิกให้พรแล้ว, คุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว, แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1), (ตอนที่ 2), (ตอนที่ 3), (ตอนที่ 4), (ตอนที่ 5), (ตอนจบ), "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร, เรื่องไม้ชำระฟัน , ดูแลภิกษุอาพาธ , วันมาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ - Ovādapātimokkha
0 comments: