เหมือนคนใบ้นอนฝัน
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ พหุํว คณฺหาติ;
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, น สกฺกา กถิตุํ ปรํ.
ศิษย์ใดย่อมเรียนศิลปะทีละมาก ๆ, เพราะความโลภในความวิชาความรู้;
ศิษย์นั้น ไม่อาจบอกผู้อื่น[ถึงสื่งเรียนมา] เสมือนคนเป็นใบ้ ที่เห็นความฝัน ฉะนั้น.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๗, โลกนีติ ๓๘, กวิทัปปณนีติ ๙๘)
ศัพท์น่ารู้ :
โย (ใด) ย+สิ, สัพพนาม
สิสฺโส (ศิษย์, นักศึกษา) สิสฺส+สิ
สิปฺปโลเภน (ด้วยความโลภในศิลปะ, -วิชา) สิปฺป+โลภ > สิปปโลภ+นา, วิ. สิปเปสุ โลโภ สิปฺปโลโภ (ความโลภในวิชา ชื่อว่า สิปปโลภะ) สัตตมีตัปปุริสสมาส.
พหุํว ตัดบทเป็น พหุํ+เอว (มากนั่นเทียว), พหุํ (มาก, มากมาย, เยอะแยะ, หลากหลาย, ) พหุ+อํ, เอว (นั่นเทียว, เท่านั้น) นิบาตบอกการกำหนด จำกัด เจาะจง.
คณฺหาติ (ถือเอา, จับ, ยึด, เรียน) √คห+ณฺหา+ติ, คหาทิ. กัตตุ. ลง ณฺหา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า คหาทิโต ปฺปณฺหา. (รู ๕๑๗), ในเพราะ ณฺหา ปัจจัย ให้ลบ ห แห่ง คหธาตุ ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (๕๑๘) สำเร็จรูปเป็น คณฺหาติ, หรือ คณฺหติ ก็ได้ ในเพราะทำเป็นรัสสะ
มูโคว ตัดบทเป็น มูโค+อิว (คนใบ้+ดุจ), มูโค (คนใบ้) มูค+สิ, อิว (เพียงดัง, เหมือน, ประดุจว่า) นิบาตบอกอุปมา
สุปินํ (ความฝัน) สุปิน+อํ
ปสฺสํ (เห็นอยู่) ทิส+อนฺต > ปสฺสนฺต+อํ, ปุพฺพกาลกิริยาใน อุสฺสาเห
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
สกฺกา (อาจ, สามารถ) นิบาตลงในอรรถปฐมาวิภัตติ
กเถตุํ ตัดบทเป็น กเถตุํ (เพื่ออันกล่าว, เพื่อบอกเล่า) √กถ+เณ+ตุํ = กเถตุํ.
ปรํ (ซึ่งผู้อื่น) ปร+อํ สัพพนาม
ส่วนในโลกนีติ มีข้อความที่แตกต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ,
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, กเถตุมฺปิ น อุสฺสเห ฯ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ศิษย์ใดอาศัยความโลภในศิลปะ เรียนทีละมาก ๆ เขาก็เป็นเสมือนคนใบ้ ฝันเห็น เพราะไม่อาจจะบอกกะอื่น.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ศิษย์ที่อาศัยความโลภในศิลปะ เรียนทีละมาก ๆ เขาเป็นเหมือนคนใบ้ฝันเห็น เพราะไม่อาจบอกใครได้.
จบแถลงศิลปะ
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา
(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇
27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร , 25. ตำรา : ดาบสองคม , 24. คนโง่ชอบโอ้อวด , 23. ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี , 21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ , 17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง
(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์ 👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
0 comments: