คนกับโคต่างกันอย่างไร
โภชนํ เมถุนํ นิทฺทา, คเว โปเส จ วิชฺชติ;
วิชฺชา วิเสโส โปสสฺส, ตํหีโน โคสโม ภเว.
การกิน การร่วมสังวาส การนอน มีอยู่ในโคและมนุษย์เหมือนกัน แต่วิชาความรู้เป็นสิ่งพิเศษสำหรับคน คนที่ไร้วิชาความรู้ก็ไม่ต่างอะไรกับโค.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๖, โลกนีติ ๒๒, มหารหนีติ ๑๑๘)
ศัพท์น่ารู้ :
โภชนํ (การกิน, การบริโภค) โภชน+สิ นป.
เมถุนํ (เมถุน, กรรมของคนคู่, การเสพสังวาส) เมถุน+สิ นป.
นิทฺทา (การนอน, การหลับ) นิทฺทา+สิ อิต.
คเว (ในโค, วัว) โค+สฺมึ, แปลง โอ เป็น อว ด้วย จ ศัพท์ § อวํมฺหิ จ. (รู ๑๗๐)
โปเส (บุรุษ, คน, มนุษย์) โปส+สฺมึ
จ (ด้วย, และ) นิบาตในอรรถสมุจจยะ (รวบรวบ)
วิชฺชติ (มีอยู่) √วิท+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
วิชฺชา (วิชา, วิทยา, ความรู้) วิชฺชา+สิ
วิเสโส (วิเสส, พิเศษ, แตกต่าง) วิเสส+สิ
โปสสฺส (สำหรับชาย, แก่บุรุษ, คน) โปส+ส
ตํหีโน (ผู้เลวด้วยวิชานั้น, ผู้ทรามด้วยวิทยานั้น) ต+หีน > ตํหีน+สิ, วิ. ตาย หีโน ตํหีโน. (ตํหีนะ คือผู้เลวด้วยวิชานั้น)
โคสโม (ผู้เสมอด้วยโค) โค+สม > โคสม+สิ, วิ. โคเณน สโม โคสโม. (โคสมะ คือผู้เสมอด้วยโค)
ภเว (พึงเป็น) √ภู+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
การกิน เมถุน นอน ในโคและบุรุษเหมือนกัน
แต่วิชาเป็นพิเศษสำหรับบุรุษ คนไร้วิชาก็เสมอกับโค.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
การกิน การนอน และเมถุน ในโคกับคน มีเหมือนกัน
แต่วิทยาคุณมีพิเศษในคน คนไร้วิทยาคุณก็เท่ากับโค.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา
(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇
27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร , 25. ตำรา : ดาบสองคม , 24. คนโง่ชอบโอ้อวด , 23. ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี , 21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ , 17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง
(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
ภาพ : วัดปัญญานันทาราม คลองหก จ.ปทุมธานี
0 comments: