วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น

ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น

สพฺพสุตมธิยเต,      หีนมุกฺกฎฺฐมชฺฌิเม;
สพฺพสฺส  อตฺถํ  ชาเนยฺย,     น  จ  สพฺพํ  ปโยชเย.

ความรู้ทุกชนิดจะเลว สูง ปานกลางก็ตาม  ควรศึกษาไว้เถิด ควรรู้ประโยชน์ของความรู้ทุกชนิด  แต่ไม่ควรนำไปใช้เสียหมดทุกอย่าง.

(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๑, มหารหนีติ ๔๓, นีติมัญชรี ๙)

ศัพท์น่ารู้ :

สพฺพสุตมธิยเต ตัดบทเป็น สพฺพสุตํ+อธิยเต (อธียเต) แปลว่า ความรู้ทุกชนิด อันบุคคลย่อม(ควร)ศึกษาไว้. สพฺพสุตํ (ความรู้ทั้งหมด) สพฺพ+สุต > สพฺพสุต+สิ, ส่วน อธียเต (ศึกษา, เล่าเรียน, สาธยาย) อธิ+อิ-อชฺฌายเน+อ+เต, ภูวาทิ. กัตตุ. (หรือ อธิ+อิ-อชฺฌายเน+อี+ย+เต, ภูวาทิ. กัมม.)

หีนมุกฺกฎฺฐมชฺฌิเม (ในตำราหรือบุคคลระดับต่ำ ระดับสูง และระดับปานกลาง) หีน+อุกฺกฏฺฐ+มชฺฌิม > หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิม+สฺมึ (ถ้าเป็น หีน...มชฺฌิมํ เป็นวิภัตติเดียวกันกับ สพฺพสุตฺตํ ก็จะสมกันดี)

สพฺพสฺส (ความรู้ทั้งปวง) สพฺพ+ส สัพพนาม

อตฺถํ (เนื้อความ, อรรถ, ประโยชน์) อตฺถ+อํ

ชาเนยฺย (พึงรู้, ควรทราบ) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ.

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

จ (อนึ่ง, ก็, และ) นิบาต

สพฺพํ (ทั้งปวง) สพฺพ+อํ สัพพนาม

ปโยชเย (พึงประกอบ, ควรใช้สอย) ป+√ยุช+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ความรู้ทุกอย่างควรเรียน จะเป็นชนิดเลว  สูง ปานกลาง ก็ตาม และควรจะรู้ประโยชน์   ของความรู้ทั้งหมด แต่ไม่พึงประกอบทุก ๆ อย่าง ไป.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เป็นคน ควรเรียนวิชาทุกอย่าง  ทั้งอย่างต่ำ อย่างกลางและอย่างสูง  ทั้งต้องรู้คุณและโทษของความรู้นั้นด้วย  แต่ไม่ควรทำทุกอย่าง.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇

27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร ,  25.  ตำรา : ดาบสองคม ,  24.  คนโง่ชอบโอ้อวด , 23.  ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี ,  21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ ,  17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง







Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: