วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก

พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก

มาตา  สตฺรุรุ  ปิตา  จ,     พาลกาเล  น  สิกฺขิตา;
น  โสภติ  สภามชฺเฌ,     หํสมชฺเฌ  พโก  ยถา.

มารดาและบิดา ชื่อว่า เป็นศัตรู, เพราะไม่ให้บุตรได้ศึกษาในเวลาเยาว์วัย;   บุตรย่อมไม่สง่างามในท่ามกลางที่ประชุมชน, ดุจนกกระยางอยู่ท่ามกลางฝูงหงษ์ ฉะนั้น.

(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๑, โลกนีติ ๑๘, กวิทัปปณนีติ ๖๔, จาณักยนีติ ๙)

ศัพท์น่ารู้ :

มาตา (มารดา, แม่) มาตุ+สิ, วิ. ธมฺเมน ปุตฺตํ มาเนตีติ มาตา (ผู้ย่อมบูชาบุตรโดยธรรม ชื่อว่า มารดา, แม่) มาน-ปูชายํ+ราตุ ปัจจัย (รู ๕๗๖).

สตฺรุรุ  น่าจะเป็น  สตฺรุ = สตฺตุ (ศัตรู, อมิตร) สตฺรุ+สิ. ในโลกนีติเป็น มาตา เวรี ปิตา สตฺรุ, ส่วนในกวิทัปปณนีติ เป็น มาตา สตฺตุ ปิตา เวรี,

ปิตา (บิดา, พ่อ) ปิตุ+สิ, วิ. ปุตฺตํ ปาตีติ ปิตา (ผู้รักษาบุตร ชื่อว่า บิดา, พ่อ) ปา-รกฺขเณ+ริตุ ปัจจัย (รู ๕๗๕).

พาลกาเล (ให้เวลายังเป็นเด็ก, ตอนที่ตัวยังเล็ก) พาล+กาล > พาลกาล+สฺมึ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สิกฺขิตา (ศึกษาแล้ว, ให้ศึกษาแล้ว) √สิกฺข+อิ+ต > สิกฺขิต+โย, (ศัพท์นี้เดิมต้นฉบับเป็น สิกฺขิต ไม่บ่งว่าเป็นวิภัตติฝ่ายเอกพจน์หรือพหูพจน์ ผู้แปลเลยเติมให้เป็น สิกฺขิตา เหมือนในโลกนีติ)

โสภติ (งาม, สวย, สง่า, รุ่งเรือง) √สุภ-ทิตฺติยํ+อ+ติ, ภูวาทิ. กัตตุ.

สภามชฺเฌ (ท่ามกลางสภา,-ประชุม) สภา+มชฺฌ > สภามชฺฌ+สฺมึ

หํสมชฺเฌ (ท่ามกลางหมู่หงษ์) หํส+มชฺฌ > หํสมชฺฌ+สฺมึ

พโก (นกยาง) พก+สิ

ยถา (เหมือน) เป็นนิบาติบอกอุปมา

ส่วนในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๘) มีข้อความต่างกันบ้าง ดังนี้

มาตา  เวรี  ปิตา  สตฺรุ,   เกน  พาเล  น  สิกฺขิตา;

สภามชฺเฌ  น  โสภนฺติ,     หํสมชฺเฌ พโก ยถาฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

มารดาและบิดาได้ชื่อว่าเป็นศัตรู  เพราะเหตุที่ไม่ให้บุตรศึกษาแต่ในกาลเล็ก ๆ  บุตรนั้นไม่สง่าผ่าเผยในกลางประชุม  เสมือนนกยางเข้าฝูงหงส์.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

แม่กลายเป็นไพรี พ่อกลายเป็นศัตรู  เพราะไม่ให้ลูกเล่าเรียนแต่ยังเด็ก ๆ   ลูกจึงไม่สง่าผ่าเผยในที่ประชุม   เหมือนนกยางในฝูงหงส์ ฉะนั้น.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali 

(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้

ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง, 👉อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์

(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇

27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร ,  25.  ตำรา : ดาบสองคม ,  24.  คนโง่ชอบโอ้อวด , 23.  ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี ,  21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ ,  17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง

(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น

ภาพ : "ประตูแห่งกาลเวลา" จ.พระนครศรีอยุธยา

ที่ วัดพระงาม ประตูแห่งกาลเวลาถูกน้ำท่วมสูงเกือบถึงอก พระสงฆ์ต้องพายเรือบิณฑบาต ทำให้ซุ้มประตูเก่าแก่ที่ถูกรากโพธิ์ปกคลุมดูงามแปลกตา เป็นภาพที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักหากไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: