วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“คนมักโกรธ ชอบผูกอาฆาต ชอบลบหลู่ดูหมิ่น เห็นผิดเป็นชอบ (และ)มีมารยา พึงทราบว่าเป็นคนเลว”

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า “คนมักโกรธ ชอบผูกอาฆาต ชอบลบหลู่ดูหมิ่น เห็นผิดเป็นชอบ (และ) มีมารยา พึงทราบว่าเป็นคนเลว”

อธิบายความ

คำว่า “คนมักโกรธ คือผู้โกรธเป็นปกติ.   คำว่า “ชอบผูกอาฆาต” คือผู้ประกอบพร้อมด้วยความโกรธ โดยทำความโกรธนั้นนั่นแลให้มั่นคง (ไม่ยอมให้อภัย ไม่ละความโกรธ).   คำว่า “ชอบลบหลู่ดูหมิ่น” คนใดย่อมล้าง ย่อมลบ ซึ่งคุณทั้งหลายของคนอื่น (ที่ทำไว้กับตน) เพราะเหตุนั้น คนนั้นชื่อว่า “ผู้ลบหลู่”  ส่วนคนที่ลบหลู่คุณท่านด้วย ดูถูกเหยียดหยามท่านด้วย ชื่อว่า “ผู้ลบหลู่อย่างเลว”

คำว่า “เห็นผิดเป็นชอบ” คือผู้มีสัมมาทิฏฐิวิบัติแล้ว หรือผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ เช่นมีความเห็นว่า “ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล” เป็นต้น.  คำว่า “มีมารยา” คือผู้ประกอบพร้อมด้วยมายามีการปกปิดโทษอันมีอยู่ในตนเป็นต้น.  คำว่า “พึงทราบว่าเป็นคนเลว”  คือท่านจงรู้บุคคลนั้นว่า “เป็นคนถ่อย” เพราะหลั่งออก เพราะไหลออก และเพราะซ่านไป แห่งธรรมเลวทรามเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น บุคคลเลว ย่อมมีความโกรธเป็นธรรมดา จึงแสดงความถ่อยออกมา และความโกรธก็ดี ความผูกอาฆาตก็ดี ความลบหลู่ดูหมิ่นคุณท่านก็ดี ความเห็นผิดเป็นชอบก็ดี ความมีมารยาก็ดี ทำให้คนเป็นคนเลว หรือทำคนให้เป็นคนถ่อย ดังนี้

สาระธรรมจากวสลสูตร

พระมหาวัชระ  เชยรัมย์  (ติกฺขญาโณ)

4/8/64


Previous Post
Next Post

post written by:

Related Posts

  • ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดเมื่อเกิดความโกรธมาก ถ้าข่มความโกรธนั้นไม่ได้ คนเราก็ฆ่ากันได้ เพราะความโกรธเป็นเหมือนรถที่แล่นเร็ว จึงมีลักษ… Continue Reading
  • ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ชื่อว่าความริษยา เช่นริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่นเป็นต้นคนริ… Continue Reading
  • ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้ ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา (อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ) ปรารถนาแต่จะตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ค… Continue Reading
  • คนที่เทวดารักคนที่เทวดารัก๑. คนที่เลี้ยงดูมารดาบิดา๒. คนที่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล๓. คนที่เจรจาอ่อนหวานพูดจาสมานมิตรสหาย๔. คนที่ไม่พูดจายุแยงให้คนอื่นแตกแยกกัน๕. ค… Continue Reading
  • สมณะ คือผู้สงบสมณะ คือผู้สงบเพราะฉะนั้น จึงไม่ง่ายสำหรับความเป็นสมณะของคนบางคนเพราะว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้น หามิได้,  ส่วนผู้ใ… Continue Reading

0 comments: