สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง อ า พ า ธ ด้ ว ย โ ร ค ท ้อ ง เ สี ย เธอนอ น จ ม ปั ส ส า วะ อุ จ จ า ร ะ ข อ ง ต น อยู่. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอน จ ม ปั ส ส า วะ อุ จ จ า ร ะ ข อ ง ต น อ ยู่ จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุเธอ อ า พ า ธ ด้วย โ ร ค อะไร?"
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า "โ ร ค ท ้อ ง เ สี ย พระเจ้าข้า" พ: ภิกษุผู้พยาบาล เธอไม่มีหรือ? ภ: ไม่มี, พระเจ้าข้า.
พ: เพราะเหตุไรเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ? ภ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ พ ย า บ า ล ข้าพระองค์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า "ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปนำน้ำมา เรา(1) จะอาบน้ำให้ภิกษุนี้."
พระอานนท์รับพระพุทธดำรัสแล้ว จึงไปนำน้ำมา. พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด. พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง.
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงเรียกประชุมภิษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้น ตรัสถามว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มีภิกษุไข้อยู่ในวิหารโน้นมิใช่หรือ?" ภ: มี พระเจ้าข้า.
พ: เธอ อ า พ า ธ ด้วยโรคอะไร? ภ: ด้วย โ ร ค ท ้อ ง เ สี ย พระเจ้าข้า. พ: มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือเปล่า? ภ: ไม่มี พระเจ้าข้า.
พ: ทำไมเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลภิกษุนั้น. ภ: ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พ: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาล พวกเธอก็ไม่มี. ถ้าเธอไม่พยาบาล กันเอง ใครเล่าจักพยาบาล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาล เรา ก็พึงพยาล ภิกษุไข้เถิด. ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึง พยาบาล เธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาล เธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาล เธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึง พยาบาล เ ธ อ ตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาล เธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาล เธอ. ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ(2).
วินัยปิฎก ๕/๒๒๖
ผู้เช่นไร บรรลุสุขอันไพบูลย์
"ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาทและความเชิดเชื้อกับความยินดีในกาม เพราะวาผู้ไม่ประมาท เพ่ง(ธรรม)อยู่ ย่อมได้บรรลุความสุขอันไพบูลย์."
ขึ้นสู่ที่สูงมองดูคนข้างล่าง
"เมื่อใด บัณฑิตรุนความประมาทออกด้วยความไม่ประมาทได้ เมื่อนั้น บัณฑิตขึ้สู่ปราสาทคือปัญญา เป็นผู้ไม่เศร้าโศก ย่อมมองเห็นประชาสัตว์ผู้โศกเศร้า. ผู้มีปัญญา ย่อมมองเห็นคนพาลได้ เหมือนคนยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น."
ผู้มีปัญญาเหมือนม้าฝีเท้าเร็ว
"ผู้มีปัญญา เมื่อคนทั้งหลายประมาท เป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อคนทั้งหลายหลับ(เพราะกิเลส) เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ย่อมขึ้นหน้าคนมีปัญญาทรามไป เหมือนม้ามีฝีเท้าเร็ว ขึ้นหน้าม้าที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๘
ดีเหนือผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท
"ท้าวมฆวา(พระอินทร์) บรรลุความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวาทั้งหลายด้วยนความไม่ประมาท, บัณฑิตสรรเสริญความไม่ประมาทติเตียน ความประมาททุกเมื่อ."
ธรรมบท ๒๕/๑๙
1. คำว่า "เรา" ในที่นี้ หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอานนท์
2. "อุปัชฌายะ" คือ ผู้บวชให้ คู่กับสัทธิวิหาริก คือผู้อยู่ด้วย หมายเอาผู้ที่เข้ามาบวช มีภิกษุใดเป็นอุปัชฌายะ ก็เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุนั้น. อาจารย์ คือผู้สวดประกาศสงฆ์ในขณะบวช หรือผู้สอนธรรม ผู้ปกครองคู่กับอันเตวาสิก คือผู้อยู่ในปกครอง
ที่มา : http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part4.3.html
"พระพุทธบิดาประชวร เสด็จโปรด กระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน", คนแบบไหนที่เหมาะจะดูแลผู้ป่วย ?, "พระปูติคัตตติสสเถระ ผู้มีกาย เ น่ า เ ปื่ อ ย", บทพิจารณาสังขาร "ชีวิตของเรา เป็นของไม่เที่ยง ความตายของเรา เป็นของเที่ยง", พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง พ ย า บ า ล ภิ ก ษุ ไ ข ้
0 comments: