วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรา


ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรา

[ณ วิหารเชตวัน พระพุทธเจ้าบอกราหุลให้ถือผ้ารองนั่งแล้วตามเข้าไปในป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนตอนกลางวัน ซึ่งก็มีเทวดาหลายองค์ตามเข้าไปด้วย เพราะรู้ว่าวันนี้พระพุทธเจ้าจะสอนธรรมะแก่ราหุลให้หมดกิเลส]

พ:  ราหุล เธอคิดว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?  ร:  ไม่เที่ยง.

พ:  ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุข?  ร:  เป็นทุกข์.

พ:  ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอด ควรหรือที่จะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นตัวเรา.  ร:  ไม่ควรเลย.

พ:  ราหุล เธอคิดว่าการรับรู้ ความรู้สึก การคิดปรุงแต่งผ่านสัมผัสต่างๆทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?  ร:  ไม่เที่ยง

พ:  ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุข ?  ร: เป็นทุกข์.

พ:  ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอด ควรหรือที่จะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นตัวเรา.   ร: ไม่ควรเลย

พ:  ราหุล ผู้ที่เห็นความจริงอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายสิ่งเหล่านั้น เมื่อเบื่อหน่ายย่อมไม่รู้สึกอยาก เมื่อไม่รู้สึกอยากย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมไม่เกิดอีก

[เมื่อฟังแล้ว พระราหุลก็หมดกิเลสเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น เทวดาหลายพันองค์ที่ฟังอยู่ก็เห็นความจริงว่า เมื่อมีเกิด ก็มีดับ เป็นธรรมดา]

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 23 (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภาค 3 เล่ม 2 จูฬราหุโลวาทสูตร), 2559, น.448-453





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: