วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗)

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗)

ดำเนินความตามจักกวัตติสูตร

ตามความในจักกวัตติสูตร ท่านว่าเมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปี ความเสื่อมสุดๆ ในหมู่มนุษย์ก็จะเกิดขึ้น   ยุคปัจจุบันนี้ท่านว่าอายุขัยของมนุษย์คือ ๑๐๐ ปี   และมีเกณฑ์คำนวณว่า   “เมื่อพระพุทธเจ้าของเราเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี อายุขัยลดลง ๑ ปี”   บัดนี้พระพุทธเจ้าของเราเสด็จดับขันธปรินิพพานมาแล้ว ๒,๕๐๐ ปี (ตัวเลขกลมๆ) นั่นแปลว่าอายุขัยของมนุษย์ลดลงไปแล้ว ๒๕ ปี อายุขัยจริงของมนุษย์ ณ บัดนี้จึงคือ ๗๕ ปี   ถ้าใช้สูตร “๑๐๐ ปีผ่านไป อายุขัยลดลง ๑ ปี” อีกประมาณ ๖,๕๐๐ ปีข้างหน้าก็จะถึงยุคที่มนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปี

ลองประเมินสภาพสังคมและสภาพจิตใจผู้คนในอีก ๖,๕๐๐ ปีข้างหน้าดูเอาเถิดว่าน่าจะเป็นอย่างไร  ถ้าเรายังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ และยังพอมีปัจจัยให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ต่อไปเรื่อยๆ อีก ๖,๕๐๐ ปีเราก็จะได้เห็นสภาพจริงของสังคมในตอนนั้น   แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงเวลานั้น ถ้าไม่คิดว่าเป็นการเสียเวลา ผมขอแนะนำว่าลองศึกษาจักกวัตติสูตรไปพลางๆ ก็น่าจะดี   จักกวัตติสูตรบรรยายความเสื่อมสุดของมนุษย์ไว้หลายประการ ขอยกพระบาลีในพระไตรปิฎกมาแสดงเป็นหลักไว้ในที่นี้ด้วย ส่วนภาษาไทยนั้นแปลตามสำนวนทองย้อย

ท่านที่ไม่ถนัดบาลี (ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไรจะถนัดสักที?!) อ่านเฉพาะที่เป็นภาษาไทยก็ได้นะครับ ส่วนท่านที่ถนัดกางหนังสือสวดมนต์ ท่านจะอ่านโดยทำใจว่ากำลังสวดมนต์ก็น่าจะเป็นบุญเหมือนเจริญธัมมานุสติกรรมฐาน เขียนคำบาลีเป็นอักษรไทยแบบบาลีก็ไม่น่าจะเป็นอุปสรรค ภาษาอังกฤษเขียนเป็นตัวฝรั่งแท้ๆ เรายังอ่านได้เลย

ขอเชิญสดับสภาพสังคมในอีก ๖,๕๐๐ ปีข้างหน้า ดังนี้

(๑) ทสวสฺสายุเกสุ  ภิกฺขเว  มนุสฺเสสุ  ปญฺจวสฺสิกา  กุมาริกา  อลํปเตยฺยา  ภวิสฺสนฺติ     เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปีก็สมควรมีสามีได้      (๒) อิมานิ  รสานิ  อนฺตรธายิสฺสนฺติ  เสยฺยถีทํ  สปฺปิ  นวนีตํ  เตลํ  มธุ  ผาณิตํ  โลณํ      รสเหล่านี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น     (๓) กุทฺรุสโก*  อคฺคโภชนํ  ภวิสฺสติ  เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว  เอตรหิ  สาลิมํโสทโน  อคฺคโภชนํ  เอวเมว  โข  ...  หญ้ากับแก้*  จักเป็นอาหารอย่างดี เหมือนข้าวสุกข้าวสาลีระคนกับมังสะเป็นอาหารอย่างดีในบัดนี้ฉันนั้นเหมือนกัน (ของเลวในสมัยนี้เป็นของดีในสมัยหน้า)

*กับแก้ ๑ : (ถิ่น-พายัพ) (คำนาม) ชื่อไม้ล้มลุกไร้ดอกชนิด Selaginella argentea (Wall. ex Hook. et Grev.) Spring ในวงศ์ Selaginellaceae ใช้ทำยาได้ ใบอ่อนใช้เป็นผัก, พ่อค้าตีเมีย ก็เรียก. -พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔, *kudrūsaka: a kind of grain -The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary 

(๔) ทส  กุสลกมฺมปถา  สพฺเพน  สพฺพํ  อนฺตรธายิสฺสนฺติ  ทส  อกุสลกมฺมปถา  อติวิย  ทิปฺปิสฺสนฺติ   กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักเฟื่องฟูสุดที่จะบรรยาย    (๕) กุสลนฺติปิ  น  ภวิสฺสติ  กุโต  ปน  กุสลสฺส  การโก แม้แต่คำว่า “กุศล” ก็ไม่มีใครรู้จัก คนทำกุศลจักมีแต่ที่ไหน    (๖) เย  เต  ภวิสฺสนฺติ  อมตฺเตยฺยา  อเปตฺเตยฺยา  อสามญฺญา  อพฺรหฺมญฺญา  นกุเลเชฏฺฐาปจายิโน  เต  ปูชา  จ  ภวิสฺสนฺติ  ปาสํสา  จ    คนที่ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญ

เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว  เอตรหิ  มตฺเตยฺยา  เปตฺเตยฺยา  สามญฺญา  พฺรหฺมญฺญา  กุเลเชฏฺฐาปจายิโน  เต  ปูชา  จ  ปาสํสา  จ  เอวเมว  โข ...  เหมือนกับที่คนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญในสมัยนี้ฉะนั้น (คือกลับตาลปัตรกัน!)

(๗) น  ภวิสฺสติ  มาตาติ  วา  มาตุจฺฉาติ  วา  ปิตาติ  วา  ปิตุจฺฉาติ  วา  มาตุลานีติ  วา  อาจริยภริยาติ  วา  ครูนํ  ทาราติ  วา ...  มนุษย์จักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ นี่ภรรยาของครู   (๘) สมฺเภทํ  โลโก  คมิสฺสติ  ยถา  อเชฬกา  กุกฺกุฏา  สูกรา  โสณา  สิคาลา   สัตว์โลกจักสมสู่ปะปนกันหมด เหมือนแพะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกที่มันสมสู่กันฉะนั้น    (๙) เตสํ  สตฺตานํ  อญฺญมญฺญมฺหิ  ติพฺโพ  อาฆาโต  ปจฺจุปฏฺฐิโต  ภวิสฺสติ  ติพฺโพ  พฺยาปาโท  ติพฺโพ  มโนปโทโส  ติพฺพํ  วธกจิตฺตํ   มนุษย์จักเ กิ ด ค ว า ม  อ  า  ฆ  า  ต  อย่าง  แ ร ง ก  ล   ้ า  ความ  พ  ย   า   บ  า   ท   อย่าง  แ  ร ง   ก  ล    ้ า  ค  ว  า  ม คิ ด ร   ้ า  ย  อ  ย่  า ง  แ  ร   ง  ก  ล   ้ า   ค ว า ม  คิ  ด  จ ะ  ฆ  ่ า  อ  ย่  า ง  แ  ร   ง  ก  ล   ้ า  ในกันและกัน --

มาตุปิ  ปุตฺตมฺหิ   แม่กับลูก  ปุตฺตสฺสปิ  มาตริ   ลูกกับแม่   ปิตุปิ  ปุตฺตมฺหิ   พ่อกับลูก   ปุตฺตสฺสปิ  ปิตริ   ลูกกับพ่อ   ภาตุปิ  ภคินิยา   พี่ชายกับน้องสาว   ภคินิยา  ภาตริ   น้องสาวกับพี่ชาย

เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว  มาควิกสฺส  มิคํ  ทิสฺวา  ติพฺโพ  อาฆาโต  ปจฺจุปฏฺฐิโต  โหติ  ติพฺโพ  พฺยาปาโท  ติพฺโพ  มโนปโทโส  ติพฺพํ  วธกจิตฺตํ  เอวเมว  โข ...  พรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าก็เกิดความ  อ   า  ฆ   า   ต    ค ว า ม     พ  ย   า   บ  า  ท  ค ว า ม คิ ด  ร   ้ า   ย  ค ว า ม คิ ด จ ะ ฆ  ่ า   อ  ย่ า ง แ  ร ง  ก  ล   ้ า  ฉันใด ... ฉันนั้นเหมือนกัน

(๑๐) ทสวสฺสายุเกสุ  ภิกฺขเว  มนุสฺเสสุ  สตฺตาหํ  สตฺถนฺตรกปฺโป  ภวิสฺสติ    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปี จักมีสัตถันดรกัป* เป็นเวลา ๗ วัน 

*สัตถันดร, สัตถันดรกัป [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] : (คำนาม) ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคนเสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดรพึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร). -พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔

เต  อญฺญมญฺญํ  มิคสญฺญํ  ปฏิลภิสฺสนฺติ   มนุษย์จักมองเห็นกันและกันเป็นเนื้อ (คือเป็นเก้งเป็นกวางสำหรับล่า)   เตสํ  ติณฺหานิ  สตฺถานิ  หตฺเถสุ  ปาตุภวิสฺสนฺติ     ศ  ั ส  ต  ร  า  ทั้งหลาย  อั น  ค  ม  จักปรากฏมีในมือของพวกเขา (คำคนเก่าว่า จับใบไม้ใบหญ้า ก็กลาย เ  ป็ น  ห  อ  ก   ด  า  บ  ใ   ช    ้   ป   ร   ะ    ห    ั   ต    ป  ร  ะ  ห  า  ร  กัน)

เต  ติเณฺหน  สตฺเถน  เอส  มิโคติ  อญฺญมญฺญํ  ชีวิตา  โวโรปิสฺสนฺติ  ฯ  พวกเขา จ ะ    ฆ   ่    า  กันเองด้วย   ศ  ั ส  ต  ร  า  อั น ค  ม  นั้นโดยมีความรู้สึกว่า นี่เป็นแค่เนื้อตัวหนึ่ง

ที่มา: จักกวัตติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ข้อ ๔๖-๔๗

ความเสื่อมสุดของมนุษย์ก็มาจบลงตรงที่เกิดมิคสัญญีหรือสัตถันดรกัป ผู้คนฆ่ากัน ๗ วัน ๗ คืน จนมนุษย์เลวๆ หมดโลก

แปลว่ายังมีคนดีๆ หลงเหลืออยู่?  ตามไปดูกันในตอนต่อไปครับ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย,  ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔,  ๑๗:๕๕

จักกวัตติสูตรศึกษา (๒๐) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๙) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๘) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๖)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕),  จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๑)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๐)จักกวัตติสูตรศึกษา (๙)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๘)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๖)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๕), จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๑)




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: