วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“วิชชาที่ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป”

“วิชชาที่ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป”

อชิตมาณพกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  “พราหมณ์พาวรี (ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์) ฝากถามเรื่องศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  “เธอจงรู้เถิดว่า “อวิชชาเป็นศีรษะ,  (ส่วน) วิชชาที่ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป” ดังนี้

อธิบาย

อวิชชา คือความเขลา ความไม่รู้แจ้ง (หมายถึงความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔) พระพุทธองค์ตรัสว่า “อวิชชาเป็นศีรษะ” คือเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารอันเป็นตัวปรุงแต่งให้เกิดบาปเป็นต้น ประดุจศีรษะ (สมอง) เป็นบ่อเกิดแห่งความนึกคิดทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการเป็นต้น และอวิชชาชื่อว่าเป็นศีรษะเพราะความไม่รู้แจ้งอริยสัจเป็นตัวชูอัตตาตัวตนให้สูงจนเกิดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนและหลงบำรุงตัวตนด้วยกามคุณ โดยมิให้นึกถึงบาปบุญ คุณโทษเป็นต้น

วิชชา คือความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ (หมายถึงวิชชา ๓ วิชชา ๘)  พระพุทธองค์ตรัสว่า “วิชชาที่ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป”

เพราะความรู้ที่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป คือ

๑. ศรัทธา คือความเชื่อในกรรม เชื่อในผลของกรรม เชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

๒. สติ คือความกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน ในสภาวะทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

๓. สมาธิ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ให้จิตไม่ฟุ้งซ่าน

๔. ฉันทะ คือความพอใจ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป

๕. วิริยะ คือความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย ไม่ย่อหย่อนเกินไป

เพราะฉะนั้น วิชชาที่ประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป คือทำให้อวิชชาสิ้นไปนั่นเอง

สาระธรรมจากวัตถุกถา (พราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ไปทูลถามปัญหา)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

27/8/64






post written by:

Related Posts

  • ฐิตา สทฺธา มหปฺผลา - ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วมีผลมาก“ฐิตา  สทฺธา  มหปฺผลา.   ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วมีผลมาก”พระอานนทเถระในอดีตชาติทรงเป็นพระราชกุมารพระนามว่าสุมนะ เป็นน้องชายต่างมารดากับพระบรมศา… Continue Reading
  • บุญของผู้มีความเพียรนำพาธุระบุญของผู้มีความเพียรนำพาธุระคำว่า “นำพา” หมายถึง เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, คอยเป็นธุระ.บุคคลผู้ทำหน้าที่ของตนด้วยความเพียร เอาใจใส่ต่อการงาน มีความเอื้อเฟื้อ และคอย… Continue Reading
  • บุญเกิดจากการบูชาด้วยดอกบัวบุญเกิดจากการบูชาด้วยดอกบัวพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า“ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพญาเนื้อ​​  ผู้ไม่มีความกลัวเกรง  สามารถวิ่งไป… Continue Reading
  • "อย่าเป็นดุ้นฟืนเผาศพ""อย่าเป็นดุ้นฟืนเผาศพ"ดุ้นฟืนเผาศพ ใช้ทำกิจอะไรๆ ในที่ไหนๆ ก็ไม่ได้ เพราะเขาถือกันว่าเป็นของอัปมงคล คือปราศจากมงคล เป็นเหตุแห่งความไม่เจริญ และเป็นลางร้าย ฉันใด… Continue Reading
  • ผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้ผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้พระโสปากเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า“พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ  ได้เสด็จมายังสำนักของข้าพเจ้า  ผู้กำลังทำคว… Continue Reading

0 comments: