วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ความเร่าร้อนเกิดจากเหตุ ๔ ประการ คือ

ความเร่าร้อนเกิดจากเหตุ ๔ ประการ คือ

๑. ตราบใดที่เรายังต้องเดินทางไกลอยู่ ตราบนั้นเรายังต้องประสบกับความเร่าร้อนอยู่  ทางไกลนั้นมี ๒ อย่าง คือ ๑. ทางไกลอันกันดาร ๒. ทางไกลคือวัฏฏะ (การเวียนว่ายตายเกิด)  หากเราเดินทางกันดารยังไม่ถึงสถานที่ๆ ตนปรารถนาเพียงใด ก็ชื่อว่ายังต้องเดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น,  อนึ่ง หากเรายังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น  เพราะฉะนั้น ความเร่าร้อนจากการเดินทางและการเวียนว่ายตายเกิดเรายังต้องประสบพบเจออยู่ตราบนานแสนนาน

๒. ตราบใดที่เรายังมีความเศร้าโศกอยู่ ตราบนั้นเรายังต้องประสบกับความเร่าร้อนอยู่ เพราะความเศร้าโศกมีวัฏฏะเป็นมูล คือตราบใดยังมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ตราบนั้นความเศร้าโศกก็ย่อมเกิดขึ้น และความเร่าร้อนย่อมเกิดขึ้นจากความเศร้าโศกนั้น

๓. ตราบใดที่เรายังไม่หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง ตราบนั้นเรายังต้องประสบกับความเร่าร้อนอยู่,  ธรรมทั้งปวง หมายถึงธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้น  เพราะตราบใดยังมีรูปนามขันธ์ ๕ อยู่ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “เป็นเรา เป็นของเรา” ก็ยังมีอยู่  ความเศร้าโศกและความเร่าร้อนก็ย่อมเกิดขึ้นจากความยึดมั่นถือมั่นนั้นตราบนั้น

๔. ตราบใดที่เรายังละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงไม่ได้ ตราบนั้นเรายังต้องประสบกับความเร่าร้อนอยู่  เพราะกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่างนี้ คือ (๑) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น (๒) พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) อิทังสัจจาภินิเวส ความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง  กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้ง ๔ อย่างนี้อันเรายังละไม่ได้ตราบใด ตราบนั้นความเร่าร้อนย่อมเกิดขึ้น เพราะกิเลสเหล่านั้นร้อยรัดเราไว้กับความทุกข์ คือให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร

เพราะฉะนั้น  ความเร่าร้อนทางกายที่เกิดจากการสัมผัสกับความหนาวร้อนเป็นต้นก็ดี ความเร่าร้อนทางใจที่เกิดจากความพลัดพรากเป็นต้นก็ดี ย่อมตามเบียดเบียนเราด้วยเหตุ ๔ ประการนั้น ดังนี้แล.

สาระธรรมจากอรรถกถาเรื่องหมอชีวก

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

19/8/64









post written by:

Related Posts

  • ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ชื่อว่าความริษยา เช่นริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่นเป็นต้นคนริ… Continue Reading
  • ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้ ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา (อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ) ปรารถนาแต่จะตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ค… Continue Reading
  • คนที่เทวดารักคนที่เทวดารัก๑. คนที่เลี้ยงดูมารดาบิดา๒. คนที่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล๓. คนที่เจรจาอ่อนหวานพูดจาสมานมิตรสหาย๔. คนที่ไม่พูดจายุแยงให้คนอื่นแตกแยกกัน๕. ค… Continue Reading
  • สมณะ คือผู้สงบสมณะ คือผู้สงบเพราะฉะนั้น จึงไม่ง่ายสำหรับความเป็นสมณะของคนบางคนเพราะว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้น หามิได้,  ส่วนผู้ใ… Continue Reading
  • ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดเมื่อเกิดความโกรธมาก ถ้าข่มความโกรธนั้นไม่ได้ คนเราก็ฆ่ากันได้ เพราะความโกรธเป็นเหมือนรถที่แล่นเร็ว จึงมีลักษ… Continue Reading

0 comments: