วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕)

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕)

ดำเนินความตามจักกวัตติสูตร

สรุปความที่ผ่านมาว่า พระราชาองค์ที่ ๘ ปกครองบ้านเมืองผิดพลาด ผู้คนยากจนจึงเกิดขโมยกันขึ้น ตอนแรกจับขโมยได้ก็ให้ทุนไปทำมาหากิน ผู้คนพากันขโมยให้ถูกจับเพื่อจะได้ทุนจากทางบ้านเมือง ทางการเห็นว่าขโมยกันมากนักก็เปลี่ยนนโยบาย ใคร ข โ ม ย จับได้  ป    ร   ะ   ห   า   ร  ช    ี  ว   ิ ต  โดยหวังว่าจะเป็นการ  ตั  ด ต้  น  ต  อ  ของปัญหา

ปรากฏว่า ผลกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือคราวนี้พวกขโมยก็ระวังตัวกันมากขึ้น ข โ  ม ย  แล้วต้องไม่ให้จับได้ เพราะถ้าถูกจับได้ ตายสถานเดียว วิธีที่พวก ข โ ม ยใช้ก็คือ ข โ ม ย  ของใคร  ก็  ฆ  ่ า  เจ้าทรัพย์เสียด้วยเพื่อไม่ให้มีเจ้าทุกข์โยงมาเอาผิดกับตัวได้

แรกเริ่มเดิมที ข โ ม ย  เพื่อประทังชีวิต

ต่อมา ข โ ม ย  เพื่อหวังผล ไม่ได้หวังทรัพย์จากการ ข โม ย แต่หวังให้ทางการสงเคราะห์ คือแกล้ง ข โม ย ลงท้าย  ข โ ม ย จริง หวังทรัพย์จากการ ข โ ม ย คือ ข โม ย  เป็นอาชีพ ซ้ำ   ฆ  ่  า  เจ้าของทรัพย์เสียด้วย

กลายเป็นว่า นอกจากจะ ท  ำ ชั่  ว ด้วยการ ข โ ม ย - ซึ่งตอนนี้กลายเป็นปล้นกันไปแล้ว มนุษย์ยังเพิ่มการท  ำ ชั่  ว  อีกอย่างหนึ่ง คือ ฆ  ่ า  กัน   จากสภาพสังคมที่มนุษย์มีศีลธรรมเต็มเปี่ยม ก็เริ่ม  ท  ำ ชั่  ว   คือ (๑) อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่ง ข โ ม ย  ตามติดมาด้วย (๒) ปาณาติบาต ยัง ช   ี วิ ต  เพื่อนมนุษย์ให้ ต ก ล่ ว ง 

จากเดิมอายุขัยของมนุษย์ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี  

ถ้าใช้เกณฑ์ “๑๐๐ ปีผ่านไปอายุขัยลดลง ๑ ปี”  จากแปดหมื่นจนกระทั่งเหลือสี่หมื่น จะต้องใช้เวลากี่ล้านปี

ตลอดช่วงเวลาดังว่านี้แหละที่มนุษย์ทำชั่วกันเพียง ๒ เรื่องเท่านั้น คืออทินนาทานและปาณาติบาต  เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๔๐,๐๐๐ ปี ความชั่วอีกชนิดหนึ่งก็เริ่มเกิดขึ้น กล่าวคือ คนที่ลักขโมยปล้นฆ่าเขา เมื่อถูกจับก็หาทางรอดด้วยการปฏิเสธว่าตนไม่ได้ทำ 

น่าจะมีคนปฏิเสธด้วยวิธีการที่แนบเนียนจนทางการเชื่อว่าไม่ได้ทำผิดจริง (ทั้งๆ ที่ทำผิดจริง) และปล่อยตัวไป ทำให้คนเห็นกันว่า ทำผิดแล้วไม่ยอมรับเป็นวิธีที่ช่วยให้รอดได้ มนุษย์จึงเริ่มทำชั่วขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือมุสาวาท กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คือโกหกหลอกลวงกัน

ในที่สุด ปาณาติบาต อทินนาทาน และมุสาวาท ก็เป็นเรื่องที่ทำกันแพร่หลาย  จากอายุขัยของมนุษย์ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ ๒๐,๐๐๐ ปี  ตลอดช่วงเวลาดังว่านี้ มนุษย์ทำชั่วกันเพียง ๓ เรื่องเท่านั้น คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และมุสาวาท 

เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๒๐,๐๐๐ ปี ความชั่วอีกชนิดหนึ่งก็เริ่มเกิดขึ้น นั่นคือการโกหกหลอกลวงกันด้วยวิธีการที่พลิกแพลง คือผู้คนเริ่มใส่ร้ายกันเพื่อเอาตัวรอดบ้าง เพื่อทำความพินาศแก่ผู้อื่นบ้าง 

ปิสุณาวาจา คือการส่อเสียดใส่ร้ายกล่าวหากันด้วยเรื่องไม่จริงก็เกิดขึ้นทั่วไป 

จากอายุขัยของมนุษย์ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี  ตลอดช่วงเวลาดังว่านี้ มนุษย์ทำชั่วกัน ๔ เรื่อง คือ -

ปาณาติบาต > ฆ่ากัน    อทินนาทาน > ลักขโมยจี้ปล้นกัน    มุสาวาท > โกหกหลอกลวงกัน   ปิสุณาวาจา > ส่อเสียด ใส่ร้าย ยุยง กล่าวหากัน

จะเห็นได้ว่า ความชั่วเหล่านี้มี “อาวุโส” ไม่เท่ากัน  อทินนาทานอาวุโสสูงสุด มนุษย์ทำมาตั้งแต่อายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี  ปาณาติบาต รองลงมาจากอทินนาทาน ทำมาไล่ๆ กัน  มุสาวาท มนุษย์ทำมาตั้งแต่อายุขัย ๔๐,๐๐๐ ปี (ช่วงอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี มนุษย์ยังโกหกกันไม่เป็น)  และล่าสุด ปิสุณาวาจา คือส่อเสียด ใส่ร้าย ยุยง กล่าวหากัน มนุษย์ทำมาตั้งแต่อายุขัย ๒๐,๐๐๐ ปี

ยัง ยังไม่หยุดแค่นั้น

เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๑๐,๐๐๐ ปี ความชั่วอีกชนิดหนึ่งก็เริ่มเกิดขึ้น   ตอนนี้อยากให้ฟังสำนวนจากพระสูตรโดยตรง ท่านว่าไว้ดังนี้ :-

เตสํ  สตฺตานํ  อายุปิ  ปริหายิ  วณฺโณปิ  ปริหายิ   แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย   เตสํ  อายุนาปิ  ปริหายมานานํ  วณฺเณนปิ  ปริหายมานานํ  วีสติวสฺสสหสฺสายุกานํ  มนุสฺสานํ  ทสวสฺสสหสฺสายุกา ปุตฺตา อเหสุํ    เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี

ทสวสฺสสหสฺสายุเกสุ  ภิกฺขเว  มนุสฺเสสุ  เอกิทํ  สตฺตา  วณฺณวนฺตา  โหนฺติ  เอกิทํ  สตฺตา  ทุพฺพณฺณา  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี บางพวกมีผิวพรรณวรรณะดี บางพวกมีผิวพรรณวรรณะไม่ดี    ตตฺถ  เย  เต  สตฺตา  ทุพฺพณฺณา  เต  วณฺณวนฺเต  สตฺเต  อภิชฺฌายนฺตา  ปเรสํ  ทาเรสุ  จาริตฺตํ  อาปชฺชึสุ ฯ   ในสองพวกนั้น พวกที่มีผิวพรรณวรรณะไม่ดีก็เพ่งเล็งพวกที่มีผิวพรรณวรรณะดี จึงเกิดการประพฤติล่วงละเมิดในคู่ครองของคนอื่นขึ้น

ที่มา: จักกวัตติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ข้อ ๔๔

ความในพระสูตรตอนนี้น่าสังเกตอย่างยิ่ง โดยเฉพาะตอนที่ว่า “บางพวกมีผิวพรรณวรรณะดี บางพวกมีผิวพรรณวรรณะไม่ดี” เพราะนี่คือจุดกำเนิดของความชั่วที่เรียกว่า “กาเมสุมิจฉาจาร”

หมายความว่า ก่อนหน้านั้น คือตั้งแต่มนุษย์มีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี ก่อนจะถึง ๑๐,๐๐๐ ปี รูปร่างหน้าตาของมนุษย์สะสวยงดงามเสมอกันหมด 

ผู้ชายไม่มีใครหล่อกว่าใคร   ผู้หญิงไม่มีใครสวยกว่าใคร

เพราะฉะนั้น คู่ครองเขากับคู่ครองเราจึงมีรูปสมบัติทัดเทียมกัน ความคิดที่จะไปละเมิดคนที่ไม่ใช่คู่ครองของตนจึงไม่เกิด  ก็ในเมื่อของเราก็ดีเท่าๆ กับของเขา แล้วจะต้องไปมองหาของใครอื่นอีกทำไมกันเล่า - ใช่หรือไม่

มีหนึ่งแล้วก็อยากได้สองล่ะ เป็นไปได้ไหม? 

ตามความในพระสูตรท่านว่า ความคิดชนิดนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจมนุษย์ นั่นคือ แม้จนถึงตอนนี้ ความชั่วที่มนุษย์ทำกันก็มีแค่ ๔ เรื่องเท่านั้น มนุษย์ยังไม่รู้จักความละโมบโลภมาก  แต่ครั้นเมื่อมนุษย์เริ่มหล่อไม่เท่ากัน สวยไม่เท่ากัน การมองเห็น “เมียเขาสวยกว่าเมียเรา” “ผัวเขาหล่อกว่าผัวเรา” ก็เริ่มเกิดขึ้น

คำในพระสูตรตรงที่ว่า “ทุพฺพณฺณา  เต  วณฺณวนฺเต  สตฺเต  อภิชฺฌายนฺตา - พวกที่มีผิวพรรณวรรณะไม่ดีก็เพ่งเล็งพวกที่มีผิวพรรณวรรณะดี” มีนัยว่า การเอาใจใส่เรื่องรูปร่างหน้าตาเริ่มจะมีขึ้น พวกที่ไม่สวยไม่หล่อก็คงพยายามหาทางทำให้สวยให้หล่อ การเสริมสวยเสริมหล่อน่าจะมีจุดกำเนิดที่ตรงนี้   มองจากจุดนี้ อาจกล่าวได้ว่า การที่มนุษย์พยายามทำให้ร่างกายดูงามดูดีนั่นเองคือรากเหง้าของปัญหา “กาเมสุมิจฉาจาร” แต่นี่เป็นแค่ “มุมมอง” ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิ์เห็นต่างไปจากนี้ได้นะครับ

สรุปว่า จากอายุขัยของมนุษย์ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ตลอดช่วงเวลานี้ มนุษย์ทำชั่วกัน ๕ เรื่อง คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณาวาจา และกาเมสุมิจฉาจาร   เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๕,๐๐๐ ปี มีความชั่วที่ประพฤติกันแพร่หลายเพิ่มขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ ผรุสวาจา การด่าทอกันด้วยคำหยาบคาย และ สัมผัปปลาปะ กล่าวถ้อยคำเหลวไหลไร้สาระ อายุขัยก็ลดลงเหลือ ๒,๐๐๐ ปี ถึง ๒,๕๐๐ ปี 

จากอายุขัย ๕,๐๐๐ ปี ถึง ๒,๕๐๐ ปี มนุษย์ทำชั่วกัน ๗ เรื่อง คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณาวาจา กาเมสุมิจฉาจาร ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ   เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๒,๕๐๐ ปี ลักษณะนิสัยที่ประพฤติกันแพร่หลายคือ อภิชฌา ความเห็นแก่ได้เห็นแก่ตัว และ พยาบาท โกรธแค้นคิดร้ายต่อกัน อายุขัยก็ลดลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี 

จากอายุขัย ๒,๕๐๐ ปี ถึง ๑,๐๐๐ ปี มนุษย์ทำชั่วกัน ๙ เรื่อง คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณาวาจา กาเมสุมิจฉาจาร ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา และ พยาบาท  เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี ลักษณะนิสัยที่ประพฤติกันแพร่หลายคือ มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี คือคนทั่วไปยอมรับกันว่าการที่ทำความผิดเช่นนั้นๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เห็นความประพฤติที่ปราศจากธรรมเป็นความถูกต้อง และเห็นความเชื่อความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงว่าเป็นความเชื่อความเห็นที่ถูกต้อง 

อายุขัยก็ลดลงเหลือ ๕๐๐ ปี 

จากอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี ถึง ๕๐๐ ปี มนุษย์ทำชั่วกัน ๑๐ เรื่อง คือ (๑) ปาณาติบาต (๒) อทินนาทาน (๓) มุสาวาท (๔) ปิสุณาวาจา (๕) กาเมสุมิจฉาจาร (๖) ผรุสวาจา (๗) สัมผัปปลาปะ (๘) อภิชฌา (๙) พยาบาท และ (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ

ยังไม่หมดครับ ความชั่วหรือลักษณะนิสัยที่วิปริตผิดปกติของมนุษย์ยังจะเกิดขึ้นอีก และจะน่าสยดสยองขึ้นเรื่อยๆ แต่หยุดพักหายใจไว้ตรงนี้ก่อน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔, ๑๘:๑๒ 

จักกวัตติสูตรศึกษา (๒๐) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๙) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๘) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๖) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕),  จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๑)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๐)จักกวัตติสูตรศึกษา (๙)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๘)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๖)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๕), จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๑)



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: