มีสติรู้เฉยๆ ความชอบ-ไม่ชอบจะดับไปเอง
[ณ ป่าไผ่ นิคมกัชชังคลา อุตตรมาณพ ลูกศิษย์ของพราหมณ์ปาราสิยะ ได้เข้าไปหาพระพุทธเจ้าซึ่งมีพระอานนท์นั่งอยู่ด้วย]
พ: อุตตระ พราหมณ์ปาราสิยะได้สอนเรื่องการกำกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินทรีย์) ไว้ยังไง? อุ: สอนว่า อย่าไปดู อย่าไปฟัง (จะได้ไม่เกิดกิเลส)
พ: ถ้างั้น คนที่ปฏิบัติตามก็เหมือนคนหูหนวกตาบอดน่ะสิ
[เมื่ออุตตระไม่รู้จะตอบยังไง พระพุทธเจ้าเลยหันไปพูดกับพระอานนท์ว่า ที่พราหมณ์สอนกับที่เราสอนนั้นไม่เหมือนกัน พระอานนท์จึงขอให้ท่านอธิบาย]
พ: อานนท์ เมื่อชอบใจหรือไม่ชอบใจจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้กิน ได้สัมผัส หรือที่ใจคิดขึ้นมานั้น ก็ให้มีสติรู้ว่าชอบใจ ไม่ชอบใจ แค่รู้เฉยๆ ความชอบใจ ไม่ชอบใจที่ว่าก็จะดับไป ดับได้เร็วเหมือนดีดนิ้ว กระพริบตา ใจมันจะวางเฉย (อุเบกขา)...
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงไปฝึกปฏิบัติ อย่าประมาท จะได้ไม่เสียใจทีหลัง นี่เป็นคำที่เราพร่ำบอกเธอเสมอ
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 23 (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภาค 3 เล่ม 2 อินทริยภาวนาสูตร), 2559, น.492-498
0 comments: