โคธชาตกํ - ว่าด้วยฤาษีหลอกกินเหี้ย
"กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กึ เต อชินสาฏิยา; อพฺภนฺตรํ เต คหนํ, พาหิรํ ปริมชฺชสีติ ฯ ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชฎาทั้งหลายประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยหนังเสือ ภายในของท่านขรุขระ ท่านย่อมขัดสีแต่ภายนอก."
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้งนั้น ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ มีตะบะกล้า อาศัยปัจจันตคามตำบลหนึ่งอยู่ ณ บรรณศาลาชายป่า พวกชาวบ้านช่วยกันบำรุงพระดาบสด้วยความเคารพ
พระโพธิสัตว์ก็ได้อยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ณ ที่สุดที่จงกรมของท่านก็แลเมื่ออยู่นั้นได้ไปหาพระดาบสวันละ ๓ ครั้งทุก ๆ วัน ฟังคำอันประกอบด้วยเหตุ ประกอบด้วยผลแล้ว ไหว้พระดาบสแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตนต่อมา พระดาบสก็อำลาพวกชาวบ้านหลีกไป
ก็แลเมื่อพระดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตรนั้นหลีกไปแล้ว มีดาบสโกงอื่น มาพำนักอยู่ในอาศรมบทนั้น พระโพธิสัตว์กำหนดว่า „แม้ท่านผู้นี้ก็มีศีล จึงได้ไปสู่สำนักของเขาโดยนัยก่อนนั่นแล“ อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเมฆตั้งขึ้นในสมัยใช่กาล ยังฝนให้ตกลงมาในฤดูแล้ง ฝูงแมลงเม่าพากันออกจากจอมปลวกทั้งหลาย ฝูงเหี้ยก็พากันออกเที่ยวหากินแมลงเม่าเหล่านั้นพวกชาวบ้านก็พากันออกจับเหี้ยที่กินแมลงเม่าได้เป็นอันมากแล้วจัดทำเป็นเนื้อส้ม ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันอร่อย ถวายพระดาบส
ดาบสฉันเนื้อล้มแล้วติดใจในรส จึงถามว่า „เนื้อนี้อร่อยยิ่งนัก เนื้อนั้นเป็นเนื้อของสัตว์ประเภทไหน ?“ ครั้นได้ยินเขาบอกว่า „เนื้อเหี้ย“ ก็ดำริว่า เหี้ยตัวใหญ่มาในสำนักของเรา จักฆ่ามันกินเนื้อเสียแล้วให้คนขนภาชนะสำหรับต้มแกงและวัตถุมีเนยใสและเกลือเป็นต้น วางไว้ข้างหนึ่ง ถือไม้ค้อนซ่อนไว้ด้วยผ้าห่ม คอยการมาของพระโพธิสัตว์อยู่ที่ประตูบรรณศาลา นั่งวางท่าทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม. ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์คิดว่า „เราจักไปหาดาบส“ แล้วออกเดิน ขณะที่กำลังเข้าไปใกล้นั่นเองได้เห็นข้อผิดแผกแห่งอินทรีย์ของเขา จึงคิดว่า „ดาบสนี้มิได้นั่งด้วยท่าทางที่เคยนั่งในวันอื่น ๆ แม้จะมองดูเราในวันนี้เล่า ก็ชำเลืองเป็นที่เคลือบแฝงต้องคอยจับตาดูให้ดี“ ดังนี้
พระโพธิสัตว์จึงไปยืนใต้ทิศทางลม ของดาบสได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงคิดว่า „วันนี้ ดาบสโกงนี้คงฉันเนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้มุ่งจะตีเราผู้เข้าไปหาด้วยไม้ค้อนแล้วเอาเนื้อไปต้มแกงกินเป็นแน่“ ก็ไม่ยอมเข้าไปใกล้เขา ถอยกลับวิ่งไป.
ดาบสรู้ความที่พระโพธิสัตว์ไม่ยอมมา ก็คิดว่า „เหี้ยตัวนี้คงจะรู้ตัวว่า เรามุ่งจะฆ่ามัน ด้วยเหตุนั้น จึงไม่เข้ามา แม้ถึงเมื่อมันจะไม่เข้ามา ก็ไม่พันมือไปได้“ แล้วเอาไม้ค้อนออกขว้างไปไม้ค้อนนั้นกระทบเพียงปลายหางของพระโพธิสัตว์เท่านั้น.
พระโพธิสัตว์เข้าจอมปลวกไปโดยเร็ว โผล่ศีรษะออกมาทางช่องอื่นกล่าวว่า "เหวยชฎิลเจ้าเล่ห์ เมื่อเราเข้าไปหาเจ้า ก็เข้าไปหาด้วยสำคัญว่า เป็นผู้มีศีล แต่เดี๋ยวนี้ความเจ้าเล่ห์ของเจ้า เรารู้เสียแล้ว มหาโจรอย่างเจ้าบวชไปทำไมกัน" เมื่อจะติเตียนดาบสจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
„เหวยชฎิลปัญญาทราม เจ้ามุ่นชฎาทำไม นุ่งหนังเสือทำไม ข้างในของเจ้ารุงรัง เจ้ามัว ขัดสีแต่ภายนอก.“
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเตหิ ชฏาหิ ทุมฺเมธ ความว่า เหวยชฏิล ปัญญาทราม ไร้ความรอบรู้ การมุ่นชฏานี้ อันผู้เว้นจากการเบียดเบียน จึงควรธำรงไว้ อธิบายว่า เจ้าปราศจากคุณคือการเว้นจากความเบียดเบียนเสียแล้ว จะมุ่นชฎานั้นไว้ทำไมเล่า ?
บทว่า กินฺเต อชินิสาฏิยา ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่เจ้าไม่มีสังวรคุณ อันคูควรกัน เจ้าจะนุ่งหนังเสือทำไมเล่า ? บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต คหนํ ความว่า ภายในคือหัวใจของเจ้า รุงรัง หนาแน่นด้วยเครื่องรุงรัง คือราคะ โทสะ โมหะ. บทว่า พาหิรมฺปริมชฺชสิ ความว่า เจ้านั้นเมื่อภายในยังรุงรัง ยังมัวขัดสีข้างนอกด้วยการอาบน้ำเป็นต้นและด้วยการถือเพศ เมื่อมัวแต่ขัดข้างนอก เจ้าก็เป็นเหมือนกระโหลกน้ำเต้าที่เต็มด้วยรัง เป็นเหมือนตุ่มเต็มด้วยยาพิษ เป็นเหมือนจอมปลวกที่เต็มด้วยอสรพิษและเป็นเหมือนหม้อที่วิจิตรเต็มด้วยคูถ ซึ่งเกลี้ยงเกลาแต่ข้างนอกเท่านั้น เจ้าเป็นโจร จะอยู่ที่นี่ทำไมรีบหนีไปเสียโดยเร็วเถิด ถ้าเจ้าไม่หนีไป เราจักบอกชาวบ้านให้ทำการขับไล่ข่มขื่นชี่เจ้า.
พระโพธิสัตว์คุกคามดาบสเจ้าเล่ห์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าลู่จอมปลวก แม้ดาบสเจ้าเล่ห์ก็หลบไปจากที่นั้น.
พระศาลดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงนี้ ดาบ ผู้มีศีลองค์นั้นได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนโคธบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาโคธชาดกที่ ๘
ที่มา : Palipage: Guide to Language - Pali
0 comments: