วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ - เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น"

“ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ."  

"เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น"

ในธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงถึงอสุภภาวนา ทุกขานุปัสสนา อนิจจานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา โดยมุขคือการเว้นจากการยึดถือว่างาม เป็นสุข เป็นของเที่ยง และเป็นตัวตนแล

โดยที่แท้  เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูปแล้ว ก็เป็นเพียงแต่เห็นว่า "เป็นของไม่งาม เป็นทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนที่จริงแท้"

สาระธรรมจากอรรถกถาพาหิยสูตร

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

7/8/2564


สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ คนพาลเปรียบได้กับหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว บัณฑิตเปรียบได้กับห้วงน้ำที่เต็มเปี่ยม

พึงฝึกฝนเพื่อการนั่งสงบผู้เดียว และบำเพ็ญจิตภาวนาของสมณะ ความเป็นมุนีที่เราบอกไว้แล้วโดยส่วนเดียว หากเธอจักยินดีอยู่ผู้เดียว เธอก็จักปรากฏเกียรติคุณไปทั่ว ๑๐ ทิศ ฯ

สาระธรรมจากนาลกสูตร
พระมหาวัชระ  เชยรัมย์  (ติกฺขญาโณ)


๑. ทุกข์มีความแก่และความตายเป็นต้นก็ดี  ๒. ความประพฤติที่ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นครอบงำ ได้แก่กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตก็ดี

ความทุกข์และความประพฤติชั่วทั้ง ๒ ประการนี้ล้วนมีอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้า  คนจึงมีความปรารถนาชั่ว ไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ เขาจึงประสพบาปอยู่เสมอ คือเขาสั่งสมบาปด้วยการประพฤติชั่วทางกายทางวาจาและทางใจอยู่เสมอ เพราะบาปนั้น เขาต้องไปเกิดในอบายอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้น ผู้พยายามเพื่อละความรักใคร่พอใจ ความโลภ และความไม่รู้ แล้วทำวิชชา (ความรู้แจ้งในอริยสัจ) ให้เกิดขึ้น จึงจะละทุคติทั้งปวงได้

สาระธรรมจากวิชชาสูตร
พระมหาวัชระ  เชยรัมย์  (ติกฺขญาโณ)


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: