วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วิ ญ ญ า ณ จะ เ กิ ด ขึ้น ไม่ ได้ ถ้า ไม่ มี เ ห ตุ ปั จ จั ย


วิ  ญ  ญ  า ณ จะ  เ กิ ด ขึ้น ไม่ ได้ ถ้า ไม่ มี เ ห ตุ ปั จ จั ย

[ณ วิหารเชตวัน ใกล้นครสาวัตถี สาติภิกษุ ลูกชาวประมง เห็นผิดว่า วิญญาณนี้แหละที่ท่องเที่ยวแล่นไป โดยบอกกับผู้อื่นว่านี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปหนึ่งได้เล่าเรื่องนี้ให้พระพุทธเจ้าฟัง พระพุทธเจ้าจึงเรียกพระสาติมาพบ แล้วถามว่า]

พ: สาติ ได้ยินว่าเธอมีความเห็นว่า วิญญาณนี้แหละที่ท่องเที่ยวแล่นไป และบอกกับผู้อื่นว่านี่เป็นคำสอนของเรา จริงหรือ?  ส: เป็นอย่างนั้นท่าน.  พ: แล้ววิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?  ส: เป็นสภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ รับผลกรรมดีชั่วทั้งหลาย.   พ: ผิดแล้วเธอ เธอไปได้ยินเราพูดกับใคร วิญญาณ (การรับรู้) ต้องมีเหตุปัจจัย จึงจะเกิดได้ เราพูดมาตลอดไม่ใช่หรือว่า วิ ญ ญ า ณจะเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้  ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยอะไรให้เกิดขึ้น ก็จะเรียกว่าเป็นวิญญาณตามปัจจัยนั้นๆ  

ถ้าอาศัยตาและรูป ก็เรียกจักขุวิญญาณ (การรู้ทางตา) ถ้าอาศัยหูและเสียง ก็เรียกโสตวิญญาณ   ถ้าอาศัยจมูกและกลิ่น ก็เรียกฆานวิญญาณ   ถ้าอาศัยลิ้นและรส ก็เรียกชิวหาวิญญาณ   ถ้าอาศัยกายและสัมผัส ก็เรียกกายวิญญาณ  ถ้าอาศัยใจและอารมณ์ที่เกิดทางใจ ก็เรียกมโนวิญญาณ  เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าเป็นไฟจากเชื้อนั้นๆ  เธอทั้งหลายเห็นขันธ์ 5 (กอง 5 กอง คือ รูป ความรู้สึก ความจำได้ ความคิดปรุงแต่ง และความรับรู้) ที่เกิดขึ้นหรือไม่?

ภ: เห็นท่าน.   พ: เห็นว่าเกิดเพราะอาหารใช่ไหม?  ภ: เห็นอย่างนั้นท่าน.  พ: ขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นนั้น ต้อง ดั บเป็นธรรมดา เป็นเพราะอาหารนั้นดับไปใช่ไหม?  ภ: เป็นอย่างนั้นท่าน.  พ: ถ้าเธอทั้งหลายไม่ยึดติดเพลิดเพลินว่า [ขันธ์ 5] เป็นของเรา เธอก็จะสลัดทุกอย่างออก ไม่ใช่เข้าไปยึดถือ เป็นอย่างนั้นไหม?  ภ: เป็นอย่างนั้นท่าน   พ: เ ห ล่ า  สั  ต ว์  อาศัยอาหาร 4 อย่างที่ทำให้เกิด  (1) อาหารที่เป็นวัตถุ กินเป็นคำๆ (กวฬิงการาหาร)  (2) อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (ผัสสาหาร)  (3) เจตนาซึ่งทำให้เกิดกรรม คือการพูด คิด ทำ (มโนสัญเจตนาหาร)  (4) การรับรู้อารมณ์ซึ่งทำให้เกิดนามรูป (วิ ญ ญ า ณาหาร)

โดยอาหารทั้ง 4 นี้ ล้วนเกิดจาก ตั ณ ห า  ทั้งสิ้น  แล้ว ตั ณ ห า เกิดจากอะไร ตั  ณ  ห า  เกิดจากเวทนา (ความรู้สึก)  แล้วเวทนาเกิดจากอะไร เ  ว  ท  นา  เกิดจากผัสสะ (การสัมผัส)  แล้วผัสสะเกิดจากอะไร ผัสสะเกิดจากสฬายตนะ (ช่องทางการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)  แล้วสฬายตนะเกิดจากอะไร สฬายตนะเกิดจากนามรูป (กายกับจิต)  แล้วนามรูปเกิดจากอะไร นามรูปเกิดจาก วิ ญ ญ า  ณ (การรับรู้สิ่งต่างๆ)  แล้ววิญญาณเกิดจากอะไร วิ ญ ญ า ณเกิดจากสังขาร (การปรุงแต่ง)  แล้วสังขารเกิดจากอะไร สังขารเกิดจากอวิชชา (การไม่รู้จักโลกตามความเป็นจริงว่าสิ่งต่างๆไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของมันเอง มีแต่เหตุปัจจัยประกอบกันขึ้น)

ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน (การยึดติด)  อุปาทานทำให้เกิดภพ (สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่จิตสร้างขึ้น)  ภพทำให้เกิดชาติ (การเป็นตัวเป็นตน)  ชาติทำให้เกิดชรา (ความ แ ก่) มรณะ (ค ว า ม  ต  า  ย) โสกะปริเทวะ (ความ  เ  ศ  ร้  า  โ ศ  ก  เ  สี  ย   ใจ) ทุ ก ข์ก า ย ทุ ก ข์ ใจ อุปายาส (ความ  คั  บ แ  ค้  น  ใจ)  ทั้งหมดนี้คือ ก อ ง ทุ  ก  ข์   เมื่อสิ่งนั้นมี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

พ: เมื่อพวกเธอรู้อย่างนี้แล้ว ยังจะคิดอยู่ไหมว่าเรามีนั่นมีนี่ เราเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต?  ภ: ไม่เลย ท่าน.  พ: การ ที่ สั  ต  ว์ จะ ถือ กำเนิดขึ้นในครรภ์ได้นั้น ต้องมีปัจจัยครบ 3 ข้อ คือ (1) พ่อแม่อยู่ร่วมกัน (2) แม่มี ประ จำ  เ ดื อ น และ (3)  สั   ต  ว์  ที่จะมาเกิดได้ปรากฏขึ้น

เด็กน้อยนั้นอาศัยน้ำนมแม่ ร่างกายจึงเติบโต และเต็มไปด้วยกามคุณ 5 (ความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส) สติไม่ตั้งมั่น จิตเป็นอกุศล เพลิดเพลินและยึดติดอยู่กับความสุขความอยากในสิ่งเหล่านั้น เกิดภพเกิดชาติ มีชรา (ความแก่) มรณะ (คว า ม  ต  า  ย) โสกะปริเทวะ (ความ เ ศ ร้ า โ ศ ก เ สี ย ใจ) ทุ ก ข์ กาย  ทุ ก ข์ ใจ อุปายาส (ความ คั บ  แ ค้  น  ใจ) เป็น ก อ ง  ทุ  ก  ข์  ทั้ ง สิ้ น  การที่ฆราวาสผู้ครองเรือนจะหลุดพ้นจาก ทุ ก  ข์ โดย สิ้ น เชิง นั้น ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ การออกบวชเป็นทางที่ปลอดโล่งกว่า

เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจรักษาศีล สำรวจกายวาจาใจ มีสติรู้ตัว อยู่ที่สงบ ละนิวรณ์ (สิ่งขัดขวางการทำงานของจิตไม่ให้เกิดสมาธิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินพอใจ ใ น ก า ม ความพยาบาท ความเซื่องซึมง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความลังเลสงสัย) แล้วเข้าฌาน  เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส หรือมีสิ่ง กระ ท  บใจ ก็ละวาง ไม่ยินดียินร้ายกับความรู้สึกที่เกิด เมื่อไม่เพลิดเพลินยินดี ก็ไม่ยึด ติ ด ภ พ ดั บ ชา ติ ดั บ  สุดท้าย ทุ ก ข์ ก็ ดั บ  พวกเธอจงจำ ตั ณ ห า สังขยวิมุตติ (คำสอนนี้) และจำไว้ว่าสาติภิกษุยังเป็นผู้ที่ ถู ก รั ด ติ ด แน่นอยู่ใน ข่ า ย  ตั ณ หา

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 19 (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค 1 เล่ม 3 มหาตัณหาสังขยสูตร ข้อ 440), 2559, น.172-195


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: