ฌานโสธนชาตกํ - ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
"เย สญฺญิโน เตปิ ทุคฺคตา, เยปิ อสญฺญิโน เตปิ ทุคฺคตา; เอตํ อุภยํ วิวชฺชย, ตํ สมาปตฺติสุขํ อนงฺคณนฺติ ฯ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคตะสัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์และอสัญญีสัตว์ทั้ง ๒ นี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น เป็นของไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน."
อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภการที่พระธรรมเสนาบดีพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถาม โดยย่อได้อย่างพิสดาร ณ ประตูสังกัสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย สญฺญิโน ดังนี้.
ต่อไปนี้เป็นเรื่องอดีต ในการพยากรณ์ปัญหานั้น. ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพที่ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกถาม ก็กล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เหมือนกับเรื่องใน #ปโรสหัสสชาดก) พวกดาบสไม่ยอมเชื่อถ้อยคำของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์จึงมาแต่พรหมชั้นอาภัสสระ ยืนอยู่ในอากาศกล่าวคาถานี้ว่า :-
„สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์ เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคตะท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์และอสัญญีสัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน.“
ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เย สญฺญิโน นี้ท่านแสดงถึงหมู่สัตว์ที่มีจิตที่เหลือ เว้นท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า เพราะไม่ได้สมาบัตินั้นแม้ชนเหล่านั้นจึงยังเป็นผู้ชื่อว่าทุคตะ. ด้วยบทว่า เยปิ อสญฺญิโน นี้ท่านแสดงถึงอจิตตกสัตว์ผู้เกิดในอสัญญีภพ. บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า ถึงแม้สัตว์เหล่านั้นก็ยังคงเป็นทุคตะอยู่เหมือนกัน เพราะยังไม่ได้สมาบัตินี้นั้นแหละ. บทว่า เอตํ อุภยํ วิวชฺชย ความว่า พระโพธิสัตว์ให้โอวาทแก่อันเตวาสิกต่อไปว่า เธอจงเว้นเสีย ละเสีย แม้ทั้งสองอย่างนั้น คือ สัญญีภาวะและอสัญญีภาวะ. บทว่า ตํ สมาปตฺติสุขํ อนงฺคณํ ความว่า ความสุขในฌานนั้น คือที่ถึงการนับว่า เป็นสุข โดยเป็นธรรมชาติสงบระงับของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอนังคณะคือปราศจากโทษ แม้เพราะความที่แห่งจิตมีอารมณ์แน่วแน่มีกำลังเป็นสภาพความสุขนั้น ก็ชื่อว่าเป็นของไม่มีกิเลสเครื่องยียวน.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมสรรเลริญคุณของอันเตวาสิกด้วยประการฉะนี้ แล้วก็ได้กลับคืนไปยังพรหมโลก คราวนั้นดาบสที่เหลือ ต่างพากันเชื่อฟัง อันเตวาสิกผู้ใหญ่.
พระศาลดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระสารีบุตรส่วนท้าวมหาพรหมได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔
ที่มา : Palipage: Guide to Language - Pali
0 comments: