วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กรรมสมบัติ ๔ อย่าง


กรรมสมบัติ ๔ อย่าง

กรรมอันมีระเบียบวางไว้ให้ทำอย่างไร ต้องทำให้ถูกระเบียบตามพุทธบัญญัติ จึงจะถือว่าถูกฐานไม่วิบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งกรรม หรือ ความเพียบพร้อมแห่งกรรม หรือเป็นกรรมที่ใช้ได้ ประกอบด้วยองค์ ๔ อย่าง คือ

๑. วัตถุสมบัติ คือ ความเพียบพร้อมแห่งวัตถุ หรือ วัตถุถูกต้อง เช่น ให้อุปสมบทแก่คนมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ และไม่เป็นอภัพบุคคล เป็นต้น

๒. สีมาสมบัติ คือ ความเพียบพร้อมแห่งสีมา หรือ สีมาถูกต้อง กล่าวคือสีมาที่สงฆ์สมมติไม่เล็กเกินไปจน จุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งได้หัตถบาสกันไม่ได้ สีมาที่สงฆ์สมมติไม่ใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ และเป็นพัทธสีมาที่สงสมมติถูกต้องตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต

๓. ปริสสมบัติ คือ ความเพียบพร้อมแห่งบริษัท หรือ ความถูกต้องแห่งบริษัท กล่าวคือการประชุมสงฆ์ทำกรรมครบองค์กำหนด   แห่งกรรมนั้นๆได้แก่ ในกรรมอันสงฆ์ จตุรวรรคก็ดีปัญจวรรคก็ดี ทสวรรคก็ดี วีสติวรรคก็ดี จะพึงทำ ภิกษุผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์   มีจำนวนครบตามกำหนดนั้นๆและเมื่อยังมีภิกษุอื่นอยู่ในสีมาควรให้ฉันทะ ได้นำฉันทะ ของเธอมาแล้ว

๔.กรรมวาจาสมบัติ คือ ความเพียบพร้อมแห่งกรรมวาจา หรือ ความถูกต้องแห่งกรรมวาจา กล่าวคือ ภิกษุผู้สวดกรรมวาจานั้น

ตั้งญัตติเผดียงสงฆ์ให้รู้เรื่องก่อนแล้ว สวดอนุสาวนา ประกาศความปรึกษาและความตกลงของส่งไปตามลำดับ โดยระบุวัตถุ ระบุสงฆ์ ระบุบุคคล พร้อมทั้งสวดถูกต้องตามประเภทและฐานกรณ์ของอักขรวิธี๔. กรรมวาจาวิบัติ คือ ความบกพร่องแห่งญัตติและอนุสาวนา ซึ่งรวมเรียก

กรรมวาจาวิบัติ หรือ ญัตติและอนุสาวนาไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ภิกษุผู้สวดกรรมวาจานั้นส่วนบกพร่องไม่ถูกต้องตามระเบียบ

ในกรรมวาจานั้นไม่ระบุวัตถุ คือ คน ของ หรือการที่ปรารภ ไม่ตั้งญัตติหรือตั้งต่อภายหลัง ในกรรมวาจาที่มีอนุสาวนา ทิ้งอนุสาวนาเสีย  หรือ สวดในกาลไม่ควรหรือสวดอนุสาวนาก่อนแล้วตั้งญัตติที่หลัง หรือสวดอนุสาวนาไม่ครบกำหนดแห่งกรรมวาจาที่มีอนุสาวนา ๓ หน

คือ ญัตติจตุตถกรรมวาจาหรือทำให้ตกหล่น เช่น ขาดความบางพากย์ หรือขาดบางบท หรือว่าผิด เช่น จะว่าบทหรืออักขระหนึ่ง  ว่าพลาดเป็นบทหรืออักขระอื่นไป เช่นนี้เป็นกรรมวิบัติโดยกรรมวาจาทั้งสิ้น

คำว่า กรรมวาจา นั้น ในคัมภีร์บริวารแยกกรรมวิบัติโดยกรรมวาจาเป็น ๒ คือ โดยญัตติ ๑ โดยอนุสาวนา ๑ เพราะฉะนั้น กรรมวาจาวิบัติ จึงแยกเป็น ๒ อย่างคือ

๑. ญัตติวิบัติ คือ ความบกพร่องแห่งญัตติ หรือ ความไม่ถูกต้องแห่งญัตติ  ๒. อนุสาวนาวิบัติ คือ ความบกพร่องแห่งอนุสาวนา หรือ ความไม่ถูกต้องแห่ง

อนุสาวนา ภิกษุผู้สวดกรรมวาจานั้น สวดญัตติบกพร่อง หรือ สวดอนุสาวนาบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็นกรรมวาจาวิบัติ  คือ จัดเป็นกรรมวิบัติโดยกรรมวาจาทั้งนั้น

ที่มา : http://dhamma.serichon.us


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: