วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สำหรับผู้ที่บวชแล้วมีหน้าที่ ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

สำหรับผู้ที่บวชแล้วมีหน้าที่ ๒ อย่างคือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ 

๑. คันถธุระ หน้าที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย  ๒. วิปัสสนาธุระ หน้าที่ปฏิบัติให้เกิดปัญญา

ถ้ามุ่งบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ก็เรียนพอรู้ทางแล้วลงมือปฏิบัติ   ถ้ามุ่งบำเพ็ญคันถธุระ ก็ต้องตั้งหน้าเรียนให้แตกฉาน 

ธุระทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องอาศัยกัน คือถ้าได้แต่ปฏิบัติอย่างเดียวไม่เรียนรายละเอียด ก็จะมีแต่ผู้รู้ที่อธิบายตามแนวของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะเมื่อไม่ได้เรียนก็จะอธิบายได้แต่ตามภาษาใจของตัวเอง ซึ่งมักจะไม่ตรงกับแบบแผน เช่น อธิบายคำว่า "ตสฺส" ใน "นโม ตสฺส" ว่าหมายถึงให้ตัดหนามมาสะไว้เป็นรั้วกันศัตรู คือให้มีความสังวรระวังกิเลส หนักเข้าก็จะเกิดศาสนาใหม่แทนพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาสอนหรือพูดตามชอบใจแบบศาสนาพราหมณ์ ซึ่งโยคีคนหนึ่งก็พูดอย่างหนึ่งตามถนัด 

หรือถ้าจะมีแต่ผู้ที่เรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็จะกลายเป็นเพียงวิชาความรู้แขนงหนึ่ง #ที่รู้ไว้สำหรับพูดกันหรือสนทนากันเท่านั้น ไม่อำนวยประโยชน์อะไรแก่โลก เมื่อใดมีทั้งผู้เรียนทั้งผู้ปฏิบัติ เมื่อนั้นพระศาสนาจึงรุ่งเรืองอยู่ได้ 

เราจะต้องมีทั้งผู้ปลีกหาความสงบตามลำพังไม่เกี่ยวข้องกับหมู่เลย และมีผู้ที่เห็นแก่พระศาสนารับภาระช่วยกันเผยแผ่สั่งสอน เพราะถ้าไม่มีใครเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเลยพระพุทธศาสนาก็คงล่มจมไปนานแล้ว และแม้พระพุทธเจ้าเองถ้าทรงปลีกอยู่ตามลำพังไม่สั่งสอน พระพุทธศาสนาก็คงจะไม่เกิดขึ้น 

เพราะเหตุนี้แหละถ้าใครจะปลีกออกแสวงความสงบส่วนตนก็ทำไป ถ้าใครปรารถนาจะทำประโยชน์ส่วนรวมคือการสั่งสอนเผยแผ่ธรรมะก็ต้องเล่าเรียนศึกษาและประพฤติปฏิบัติไปด้วย ฯลฯ




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: