มิตฺตวินฺทกชาตกํ - โทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
"จตุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา, อฏฺฐาหิปิ จ โสฬส;
โสฬสาหิ จ พาตฺตึส, อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท;
อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส, จกฺกํ ภมติ มตฺถเกติ ฯ
ผู้มีความปรารถนาจัด มี ๔ ก็ต้องการ ๘, มี ๘ ก็ต้องนั้น ๑๖, มี ๑๖ ก็ต้องการ ๓๒, บัดนี้ มาได้รับกงจักรกรด, กงจักรกรดพัดอยู่เหนือศีรษะของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา."
มิตตวินทกชาดกอรรถกถา
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภภิกษุผู้ว่า ยากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จพุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ดังนี้.
เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดกในหนหลัง ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ
ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่งทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก ถามพระโพธิสัตว์ว่า „ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ?“ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ“ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-
„ผู้ที่มีความปรารถนาเกินส่วน มีอยู่ ๔ ก็ต้องการ ๘ มี๘ ก็ต้องการ ๑๖ มี ๑๖ ก็ต้องการ ๓๒ บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรงจักกรดพัด อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา.“
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ความว่า เจ้าได้เวมานิกเปรต ๔ นางในระหว่างสมุทร ยังไม่พอใจด้วยนางเหล่านั้นจึงเดินมุ่งต่อไปข้างหน้า ด้วยปรารถนาเกินส่วนได้ครอบครองนางทั้ง ๘อีก แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท ความว่า เจ้าไม่พอใจด้วยลาภของตนอย่างนี้ ยังปรารถนาเกินส่วน คือต้องการต่อไปไม่รู้หยุด มุ่งลาภข้างหน้าต่อไป คราวนี้จึงมาโดนจักรกรด คือถึงจักรกรดนี้ เจ้านั้นอันความปรารถนากำจัดเสียแล้ว คือ ถูกตัณหาความทะยานอยาก กำจัด คือเข้าไปตัดรอนเสียแล้ว จักรกรดจึงพัดผันบนหัวเจ้า ในจักรทั้งสอง คือจักรหินเละจักรเหล็ก
พระโพธิสัตว์เห็นจักรเหล็กคมปานมีดโกน พัดผันอยู่บนหัวของเขาด้วยสามารถแห่งการพัดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จึงกล่าวอย่างนี้. ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปสู่เทวโลกของตน. แม้เนรยิกสัตว์นั้น เมื่อบาปของตนสิ้นแล้ว ก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุผู้ว่า ยาก ส่วนเทวบุตรได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔
หมายเหตุ : มิตตวินทชาดก พบ ๔ แห่งในชาดก คือ
๑. มิตตวินทกชาดก (๘๒) เอกกนิบาต อปายิมหวรรค ที่ ๙ (อรรถกถาแสดงโดยย่อ)
๒. มิตตวินทกชาดก (๑๐๔) เอกกนิบาต ปโรสตวรรค ที่ ๑๑ (อรรถกถาแสดงโดยย่อ)
๓. มิตตวินทกชาดก (๓๖๙) ปัญจกนิบาต วัณณาโรหวรรค ที่ ๒ (อรรถกถาแสดงโดยย่อ)
๔. มหาวินทกชาดก หรือ จตุทฺวารชาดก (๔๓๖) ทสกนิบาต (อรรถกถาแสดงโดยพิศดาร)
ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali
0 comments: