วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

มิลินทปัญหา (ตอนที่ ๒๘)

มิลินทปัญหา (ตอนที่ ๒๘) ปัญหาที่ ๘, อเภชชปริสปัญหา

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน พวกท่านกล่าวกันว่า  “ตถาคโต อเภชฺชปริโส” (ที.ปา. ๑๑/๑๙๑ โดยรวม) – "พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน"  แต่ยังกล่าวอีกว่า  “เทวทตฺเตน เอกปฺปหารํ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ ภินฺนานิ” (ซิ.จุ. ๗/๑๖๐) – "พระเทวทัตยุยงภิกษุสงฆ์ให้แตกแยกกันในคราวเดียว ๕๐๐ รูป"

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่าพระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกันจริงแล้วไซร้ ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า พระเทวทัตยุยงภิษุสงฆ์ให้แตกแยกกันในคราวเดียว ๕๐๐ รูป ดังนี้ก็ต้องผิด ถ้าหากว่าพระเทวทัตยุยงภิกษุสงฆ์ให้แตกแยกกันในคราวเดียว ๕๐๐ รูป จริงแล้วไซร้ ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้ ก็ต้องผิด ปัญหานี้มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว เป็นปัญหาที่ลึกซึ้งเปลื้องได้ยากเป็นปมยิ่งกว่าปมผู้คนยังยุ่งเหยิง สับสนพัลวันในปัญหานี้กันอยู่ ขอจงแสดงกำลังญาณของท่านในวาทะของฝ่ายอื่นทั้งหลายเถิด

พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกันจริง และพระเทวทัตข้อยุยงภิษุสงฆ์ให้แตกแยกกันในคราวเดียว ๕๐๐ รูปจริง แต่ว่าความแตกแยกกันนั้น ย่อมมีได้ด้วยกำลังความสามารถของผู้ยุยงให้แตกแยกกัน ขอถวายพระพร คือว่าเมื่อมีผู้มายุยงให้แตกแยกกัน ก็อาจไม่มีความกลมเกลียวกันได้ เมื่อมีผู้มายุยงให้แตกแยกกัน แม้มารดาก็แตกแยกกับบุตรได้ แม้บุตรก็แตกแยกกับมารดาได้ แม้บิดาก็แตกแยกกับบุตรได้ แม้บุตรก็แตกแยกกับบิดาได้ แม้พี่น้องชายก็แตกแยกกับพี่น้องหญิงได้ แม้พี่น้องหญิงก็แตกแยกกับพี่น้องชายได้ แม้เพื่อนก็แตกแยกกับเพื่อนได้ แม้เรือที่ประกอบติดกันด้วยชิ้นไม้ต่างๆก็ยังแตกกันได้เพราะถูกคลื่นซัด แม้ต้นไม้ที่ออกผลสะพรั่ง มีรสหวาน พอถูกกำลังสายฟ้าฟาดเอา ก็ฉี่แตกไป แม้ทอง แม้เงิน แม้มีทองแดงเข้าแทรกปนก็แยกห่างกันไป ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทแตกแยกกัน นี้ วิญญูชนทั้งหลายหาเห็นชอบด้วยไม่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงยอมรับด้วยไม่ บัณฑิตทั้งหลายหาพอใจไม่ ก็ในความข้อนี้ เหตุที่ทำให้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงพระตถาคตว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้ มีอยู่ เหตุในความข้อที่ว่านี้คืออะไร ขอถวายพระพร คำพูดที่ว่า บริษัทของพระตถาคตแตกแยกกัน เพราะพระตถาคตทรงกระทำความลำเอียงก็ดี เพราะทรงมีพระวาจาหน้าเกลียดก็ดี เพราะทรงมีความประพฤติเสียหายก็ดีเพราะทรงเป็นผู้มีตนไม่เสมอต้นเสมอปลายก็ดี ทรงประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ดังนี้ ใครๆก็ไม่เคยได้ยินเพราะเหตุดังกล่าวนั้น บัณฑิตจึงกล่าวถึงพระตถาคตว่า ทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้ ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงทรงทราบแม้ความข้อนี้ คือว่า เรื่องอะไรๆ ที่มาแล้วในพระสูตร ในพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ที่เกี่ยวกับว่าบริษัทของพระตถาคตแม้ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ย่อมแตกแยกกันเพราะการที่ทรงก่อเหตุการณ์เช่นนี้ไว้ ดังนี้ มีอยู่หรือ ?  พระยามิลินท์, ไม่มีหรอก พระคุณเจ้า เรื่องที่ว่านี้ไม่ปรากฏในโลก แม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่เคยได้ยิน ดีจริงๆ พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำพูดตามที่ท่านกล่าวมานี้.  จบอเภชชปริสปัญหาที่ ๘

คำอธิบายปัญหาที่ ๘

ปัญหาเกี่ยวกับการที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกันชื่อว่า อเภชชปริสปัญหา.  คำว่า พระเทวทัตยุยงภิกษุสงฆ์ให้แตกแยกกันในคราวเดียว ๕๐๐ รูป คือพระเทวทัตยุยงภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เชื่อคำของพระเทวทัต แยกจากภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่ ติดตามไปเป็นพวกของพระเทวทัต.  คำว่า เพลงในความข้อที่ว่านี้คืออะไร คือเหตุ ในฐานะที่จะกล่าวได้ว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน นี้เป็นไฉน ? ความว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน เพราะทรงมีเหตุเหล่านี้ คือ ความไม่ลำเอียง ความที่ไม่ทรงมีพระวาจาน่าเกลียด (วาจาส่อเสียดยุยง วาจาที่สร้างความแตกสามัคคี) ความที่ไม่จงมีความประพฤติเสียหาย ความที่ไม่จงเป็นผู้มีตนไม่เสมอต้นเสมอปลาย ความที่ไม่จงมีความประพฤติที่น่าตำหนิอย่างอื่นอย่างใด อย่างหนึ่ง.  คำว่า ในพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ คือในคำสอนของพระศาสดาอันมีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น ความว่าในบรรดาคำสอนเหล่านั้น มีเนื้อความเกี่ยวกับการที่พระตถาคตทรงก่อเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทแตกแยกกัน แม้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ ปรากฏอยู่บ้างหรือ.  จบคำอธิบายปัญหาที่ ๘.  จบอเภชชวรรค ที่ ๒ ในวรรคนี้มี ๘ ปัญหา

วรรคที่ ๓ ปณามิตวรรค  ปัญหาที่ ๑, เสฏฐธัมมปัญหา

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า  “ธมฺโม หิ วาเสฏฺฐ เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ ทิฏฺเฐ เจซ ธมฺเม อภิสมฺปราเย จ” (ที.ปา. ๑๑/๙๐)  "ดูก่อน ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในอัตภาพภาคหน้า ดังนี้" และตรัสไว้อีกว่า  “อุปาสโก คิหึ โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุปฏฺเฐติ” (ไม่พบที่มา )  "อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้"

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่าพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อน ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในอัตภาพภาคหน้า ดังนี้จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้จริง ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า ดูก่อน ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในอัตภาพภาคหน้าดังนี้ ก็ต้องผิด ปัญหานี้มี ๒ เงื่อนตกถึงแก่ท่านแล้วขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ว่า ดูก่อน ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในอัตภาพภาคหน้า ดังนี้จริง, ตรัสไว้อีกว่า อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้จริง ก็แต่ว่า ในเรื่องนั้นมีเหตุผลอยู่ เหตุผลนั้นคืออะไร ?

ขอถวายพระพร มหาบพิตร ทำเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่าง ย่อมเป็นเหตุให้พวกสมณะทั้งหลาย เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ การลุกรับ นับถือ บูชา ทำเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ได้แก่  

– ธมฺมาราโม มีความยินดีในธรรม ๑  – อคฺโค นิยโม มีนิยมอันเลิศ ๑  – จาโร มีความประพฤติดี ๑  – วิหาโร มีวิหารธรรม ๑  – สํยโม มีความสำรวม ๑  – สํวโร มีธรรมเครื่องป้องกัน ๑  – ขนฺติ มีความอดกลั้น ๑  – โสรจฺจ มีความสงบเสงี่ยม ๑  – เอกตฺตจริยา ประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง ๑  – เอกตฺตาภิริติ ยินดีในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง ๑  – ปฏิสลฺลานํ มีความประพฤติหลีกเร้น ๑  – หิริโอตฺตปฺปํ มีความละอายและเกรงกลัวบาป ๑  – วีริยํ มีความเพียร ๑  – อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท ๑  – สิกฺขาสมาทานํ มีสิกขาสมาทาน ๑  – อุทฺเทโส มีการเรียนพระบาลี ๑  – ปริปุจฺฉา มีการสอบถามหรือเรียนอรรถกถา ๑  – สีลาทิอภิรติ มีความยินดีในคุณ มีศีลเป็นต้น ๑  – นิราลยตา ไม่มีอาลัย ๑  – สิกฺขาปทปาริปูรตา เป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ ๑  – กาสาวธารณํ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ ๑  – ภณฺฑุภาโว มีศีรษะโล้น ๑

ขอถวายพระพร มหาบพิตร ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะมี ๒๐ อย่างเหล่านี้ และเพศมี ๒ อย่างเหล่านี้ แล ภิกษุย่อมสมาทานประพฤติคุณธรรมเหล่านี้ ภิกษุนั้น เพราะความที่มีธรรมเหล่านั้นไม่บกพร่อง ทว่าบริบูรณ์ถึงพร้อม เพียบพร้อม ก็ย่อมก้าวลงสู่อเสกขภูมิ อรหันตภูมิ ย่อมก้าวลงสู่ลำดับภูมิอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ไปสู่ที่ใกล้ความเป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุนั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันจึงสมควรที่กราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน

อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงความเป็นผู้เสมอเหมือนกับพระขีณาสพทั้งหลาย เราไม่มีสมัย (โอกาส) นั้น ดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับพระภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงความเป็นยอดบริษัท เราไม่ใช่ผู้เข้าถึงฐานะนั้น ดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชนด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นได้ฟังพระปาฏิโมกข์อุเทส เราไม่ได้ฟังพระปาฏิโมกข์อุเทสนั้น ดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นให้บุคคลอื่นบรรพชาอุปสมบทก็ได้ ทำพระศาสนาของพระชินวรพุทธเจ้าให้เจริญก็ได้ กิจที่ว่านี้เราทำไม่ได้ ดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปกติทำให้เพียบพร้อมในสิกขาบททั้งหลาย อันหาประมาณมิได้ เราไม่ได้ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงเพศสมณะ ดำรงอยู่ในฐานะที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์เราห่างไกลจากเพศนั้นดังนี้.   อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นไม่ปล่อยขนรักแร้ยาวรุงรัง ไม่หยอดตา ไม่ประดับประดาร่างกาย ลูบไร้กลิ่นศีล ส่วนเรายังยินดีในการประดับ การแต่งตัว ดังนี้

ขอถวายพระพร มีอีกอย่างหนึ่ง อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่างเหล่าใด ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมมีแก่ภิกษุ ก็พระภิกษุนั้นนั่นเทียว ทรงธรรมเหล่านั้นไว้ได้ ทั้งอย่างให้ผู้อื่นได้ศึกษาธรรมเหล่านั้น ก็แต่ว่า เราไม่มีความรู้และการศึกษานั้น ดังนี้.  ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า พระราชกุมารทรงเรียนวิชา ทรงศึกษาขัตติยะธรรมในสำนักของปุโรหิต ในสมัยต่อมา พระราชกุมารแม้นทรงได้รับการอภิเษกแล้ว ก็ยังทรงกราบไหว้ ลุกรับอาจารย์ ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ให้เราได้ศึกษาดังนี้ ฉันใด อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันก็ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า พระภิกษุผู้เป็นผู้ให้คนทั้งหลายได้ศึกษา ทรงไว้ซึ่งวงศ์พระศาสนา ดังนี้ ฉันนั้น.  ขอถวายพระพร ยังมีอีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์ทรงทราบเถิดว่า ภูมิพิสุมีความยิ่งใหญ่ มีความไพบูลย์ ที่หาภูมิฆราวาสเสมอเหมือนไม่ได้ โดยปริยายนี้ ขอถวายพระพร คือข้อที่ว่า ถ้าอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน กระทำพระอรหันตผลให้แจ้งได้ อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะมีคติอยู่ ๒ อย่าง คือจะต้องปรินิพพานในวันนั้นแน่ อย่างหนึ่ง ต้องเข้าถึงความเป็นภิกษุอย่างหนึ่ง มหาบพิตร การบวชเป็นฐานะที่ไม่หวั่นไหว ภูมิภิกษุนี้จึงเป็นภูมิที่ยิ่งใหญ่ สูงส่งยิ่งนัก.  พระราชา พระคุณเจ้านาคเสน ปัญหาที่ต้องใช้กำลังญาณ ตัวท่านผู้มีกำลัง มีความรู้ยิ่ง ก็ได้คลี่คลายแล้ว เว้นผู้มีความรู้เช่นท่านแล้ว ผู้อื่นไม่อาจเรื่องปัญหานี้ ได้อย่างนี้.  จบเสฏฐธัมมปัญหาที่ ๑

คำอธิบายปัญหาที่ ๑

ปัญหาเกี่ยวกับพระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุดชื่อว่า เสฏฐธัมมปัญหา.    เนื้อความใน ๒ ที่ ๒ แห่ง ขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้คือ ถ้าหากตรัสว่า พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุด ดังนี้จริง ผู้บรรลุพระธรรมทรงพระธรรมเหล่านั้น อันได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น แม้ว่าเป็นฆราวาสครองเรือน ก็ย่อมเป็นผู้สมควรแก่การที่ผู้เป็นปุถุชน ผู้ไม่ได้บรรลุพระธรรมเหล่านั้นจะกราบไหว้ แม้ว่าเป็นภิกษุสงฆ์ เพราะฉะนั้น คำที่ตรัสไว้ว่าอุบาสกคฤหัสถ์ แม้ว่าเป็นพระโสดาบัน ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้นั้น ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะจะเป็นว่าผู้บรรลุธรรมที่ประเสริฐต้องกราบไหว้ผู้ไม่บรรลุธรรมที่ประเสริฐ แม้จะถือเอากลับกัน ก็อย่างนั้น ก็เป็นอันว่า หากตรัสข้อความหนึ่งว่าจริง ข้อความที่เหลือขัดแย้งกันอยู่ก็ย่อมไม่ถูกต้อง.   บัณฑิตพึงทราบว่า คำว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด ในที่นี้ ตัดไม้เอาพระโลกุตรธรรมทั้งหลาย คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ที่พระอริยบุคคลบรรลุ พระธรรมชื่อว่าเป็นสิ่งประเสริฐสุด ก็โดยเกี่ยวกับว่าน่าสรรเสริญยิ่ง เพราะความที่นำออกจากทุกข์ในอบายและทุกข์ในสังสารวัฏได้.  คำว่า ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง คือธรรมที่เป็นเหตุให้สำเร็จความเป็นสมณะ ๔ จำพวก ในพระศาสนานี้ มีพระโสดาบันเป็นต้น ทั้งที่เป็นส่วนอันควรประกอบในเบื้องต้น ทั้งที่เป็นส่วนควรประกอบในเบื้องปลาย มี ๒๐ อย่าง มี ธมฺมาราโม มีความยินดีในธรรม เป็นต้น.   คำว่า เพศ ๒ อย่าง คือเครื่องหมายเพศแสดงความเป็นสมณะ อันต่างไปจากเพศฆราวาส ๒ อย่างมี กาสาวธารณํ กาาทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นต้น

ในบรรดาธรรม ๒๐ อย่างและเพศ ๒ อย่างนั้น คำว่า ธมฺมาราโม มีความยินดีในธรรม คือมีความยินดีในกุศลธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหลาย.   คำว่า อคฺโค นิยโม มีนิยมอันเลิศ คือมีธรรมที่สร้างความเป็นสมณะ เป็นสิ่งที่ตนนิยมว่าเป็นเลิศ ด้วยอรรถว่า ให้สำเร็จความเป็นยอดบริษัทคือ ภิกษุบริษัท.   คำว่า จาโร มีความประพฤติดี คือมีความประพฤติในวัตรปฏิบัติทั้งหลาย อั้นมาแล้วในขันธกวัด ซึ่งเป็นอภิสมาจาริกาศีล ศีลที่เป็นอภิสมาจาร คือเป็นมารยาทที่สูงส่งยิ่ง หรือว่ามีความประพฤติอันเป็นไปเพื่อละราคะ เพื่อละโทสะ เพื่อละโมหะ เป็นต้น.  คำว่า วิหาโร มีวิหารธรรม คือมีการอยู่ด้วยวิหาร ธรรมอันเป็นที่อยู่ ทั้ง ๔ คือ ด้วยอริยาบทวิหาร โดยการที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งก็ตาม ก็มีการมนสิการกรรมฐาน ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ด้วยใจที่ประกอบในกรรมฐาน ๑, ทิพยวิหาร (ฌานสมาบัติ) ๑, พรหมวิหาร ๑, อริยวิหาร (ผลสมาบัติ) ๑.   คำว่า สํยโม มีความสำรวม คือมีความสำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมจิต.   คำว่า สํวโร มีธรรมเครื่องป้องกัน คืนนี้ทำเครื่องป้องกัน เครื่องกำจัด เครื่องละ ๕ อย่าง คือ ศีล สติ ญาณ ขันติ และวิริยะ ที่เรียกว่า สังวร ๕.  คำว่า ขนฺติ มีความอดกลั้น คือมีความอดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย เป็นต้น.  คำว่า โสรจฺจ มีความสงบเสงี่ยม คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน.  

คำว่า เอกตฺตจริยา ประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง ความว่า อารมณ์กรรมฐานที่พระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติเจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเป็นหนึ่ง เพราะเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันปราศจากความเป็นต่างๆ มากมายด้วยอำนาจแห่งสมมุติและบัญญัติ ว่า สัตว์ บุคคล หญิง ชาย เป็นต้น การเจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่าเป็นความประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง เพราะฉะนั้นนั่นแหละ ความยินดีในอารมณ์กรรมฐานของพระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่า เอกตฺตจริยา ประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง.  คำว่า มีความประพฤติหลีกเร้น คือมีจิตหลีกออกจากอารมณ์ที่มีสภาพต่างๆ กันมากมายในภายนอก แล้วเร้นจิตนั้นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน เพื่อบรรลุฌานที่ยังไม่บรรลุบ้าง เพื่อเข้าฌานที่บรรลุแล้วบ้าง เพื่อบรรลุมรรคบ้าง เพื่อการเข้าผลสมาบัติบ้าง.  คำว่า หิริโอตฺตปฺปํ มีความละอายและเกรงกลัวบาป คือมีความละอายและเกรงกลัวทุจริตทางทวารทั้ง ๓ มีกายทุจริตเป็นต้น.  คำว่า วีริยํ มีความเพียร ได้แก่มีความเพียรอันเป็นไปในกิจ ๔ อย่าง คือ เพียรป้องกันอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้น ๑, เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑, เพียรเจริญเพิ่มพูนกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว กระทำไม่ให้หลงลืม ให้ตั้งมั่นอยู่ได้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ๑, ก็คำว่า อกุศลธรรม ในที่นี้ ได้แก่นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย ส่วนคำว่า กุศลธรรม ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา และมรรค.  คำว่า อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท คือมีความไม่ประมาท ไม่ละเลย ในอันเจริญกุศลธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหลาย ไม่ปล่อยจิตและไปในอารมณ์ทั้งหลาย ตามอำนาจกิเลส

คำว่า สิกฺขาสมาทานํ มีสิกขาสมาทาน คือมีความตั้งใจแต่จะขนขวายอยู่ในสิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้นเท่านั้น.   คำว่า อุทฺเทโส ได้แก่ มีการเรียนพระบาลีอันเป็นพระพุทธพจน์.   คำว่า  ปริปุจฺฉา ได้แก่ มีการเรียนอรรถกถาอันเป็นคำอรรถถาธิบายพระพุทธพจน์.   คำว่า สีลาทิอภิรติ มีความยินดีในคุณ มีศีลเป็นต้น ได้แก่ มีความยินดีในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ในเพราะความที่ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณ มีศีลเป็นต้น ถือเป็นแบบอย่างที่ตนเองก็จะเป็นอย่างท่านเหล่านั้น.  คำว่า นิราลยตา ไม่มีอาลัย ได้แก่ ไม่มีเคหสิตตัณหา (ตัณหาอาศัยเรือน) คือตัณหาที่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ ด้วยอำนาจการละเป็นตทังคปหาน ด้วยวิปัสสนาบ้าง, ด้วยอำนาจการละเว้นเป็นวิกขัมภนปหาน ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยอำนาจการละเป็นสมุจเฉทปหาน ด้วยมรรคบ้าง.  คำว่า สิกฺขาปทปาริปูรตา เป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ ได้แก่ ทำสิกขาบทใหญ่น้อยทั้งหลายที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์อยู่เสมอ โดยการที่เมื่อต้องอาบัติ ก็มีการปลงอาบัติ ไม่เป็นผู้มีอาบัติติดตัว หากมีความสงสัยในอาบัติก็ปรึกษาไต่ถามท่านที่ทรงพระวินัย.   คำว่า กาสาวธารณํ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ คือนุ่งห่มไตรจีวรที่ทำด้วยผ้าย้อมฝาด.   คำว่า ภณฺฑุภาโว มีศีรษะโล้น คือมีศีรษะโล้นเพราะปลงผม ไม่ใช่มีศีรษะโล้น เพราะสักแต่ว่าเป็นคนไม่มีผม และไม่ใช่มีศีรษะโล้น เพราะการถอนผมออกเหมือนอย่างพวกเดียรถีย์ในลัทธิภายนอก.  ใน ๒๒ ประการที่กล่าวมานี้ ๒๐ ประการข้างต้น เป็นการกล่าวถึงธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ, ๒ ประการข้างท้าย เป็นคำกล่าวถึงเพศ ฉะนี้แล เนื้อความที่เหลือง่ายอยู่แล้ว.  จบคำอธิบายปัญหาที่ ๑

ปัญหาที่ ๒, สัพพสัตตหิตผรณปัญหา

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน พวกท่านกล่าวกันว่า พระตถาคตทรงขจัดความหายนะ ทรงจัดแจงแต่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง และ (ท่านพระอานนท์) ยังกล่าวไว้อีกว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธรรมปริยาย อันนี้อุปมาด้วยกองไฟ (อัคคิขันโธปสูตร) (องฺสตฺตก ๒๓/๑๓๘) อยู่ โลหิตร้อนๆก็ทะลักออกจากปากของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปดังนี้ พระคุณเจ้า พระตถาคตเมื่อทรงแสดงธรรมปริยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟ ก็เป็นอันว่าพระตถาคตทรงขจัดประโยชน์ ทรงจัดแจงความหายนะแก่ภิกษุทั้งหลายประมาณ ๖๐ รูป พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระตถาคตทรงขจัดความหายนะ ทรงจัดแจงแต่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธรรมบรรยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟอยู่ โลหิตร้อนๆ ก็ทะลักออกจากปากของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ดังนี้ ก็ต้องผิด ถ้าหากว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธรรมปริยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟอยู่ โลหิตร้อนๆ ก็ทะลักออกจากป่าของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า พระตถาคตทรงขจัดความหายนะ ทรงจัดแจงแต่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ก็ต้องผิด ปัญหานี้มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระตถาคตทรงขจัดความหายนะ ทรงจัดแจงแต่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายจริง เมื่อกระทำปริยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟอยู่ โลหิตร้อนๆ ก็ทะลักออกจากปากของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป จริง ก็แต่ว่า ข้อที่โลหิตร้อนๆ ทะลักออกจากป่าของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปนั้น มิได้มีเพราะการกระทำของพระตถาคต ถ้าว่ามีเพราะการกระทำของภิกษุเหล่านั้นเอง ทีเดียว.  พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่าพระตถาคตไม่ทรงแสดงธรรมปริยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟไซร้ ภิกษุเหล่านั้นจะมีโลหิตร้อนๆ ทะลักออกจากปากหรือหนอ ?  พระนาคเสน, ไม่หรอก มหาบพิตร แต่ว่า ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ เพราะฟังธรรมปริยายของพระผู้มีพระภาคเข้า จึงเกิดความรุ่มร้อนขึ้นในกาย เพราะความรุ่มร้อนนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดโลหิตร้อนๆทะลักออกจากปาก

พระเจ้ามิลินท์, ถ้าอย่างนั้นนะ พระคุณเจ้านาคเสน ภิกษุเหล่านั้นเกิดมีโลหิตร้อนๆทะลักออกจากปาก เพราะการกระทำของพระตถาคต ในเรื่องนั้น พระตถาคตนั่นแหละที่ส่งเป็นผู้จัดแจงให้ภิกษุเหล่านั้นพินาศ พระคุณเจ้านาคเสนเปรียบเหมือนว่า งูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในจอมปลวก ต่อมามีบุรุษผู้หนึ่งต้องการผงคลีดิน จึงทุบจอมปลวกออยเอาผงคลีดินไป เพราะการที่มนุษย์ผู้นั้นโอ๊ยเอาผงคลีดินไป ก็ไปถมเอารูงูเข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น งูตัวนั้น เมื่อหายใจไม่ได้ในที่นั้นก็ตาย พระคุณเจ้า งูตัวนั้นถึงแก่ความตายเพราะการกระทำของบุรุษผู้นั้น ไม่ใช่หรือ ? พระนาคเสน, ใช่ มหาบพิตร.  พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ในเรื่องนั้น พระตถาคตนั่นแหละ ทรงเป็นผู้จัดแจงให้ภิกษุเหล่านั้นพินาศ.  พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระตถาคตเมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมไม่ทรงกระทำความยินดียินร้าย ทรงเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้ายแสดงธรรม เมื่อทรงแสดงธรรมไป โดยอาการอย่างนี้ ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมตรัสรู้ ส่วนว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมพลาดตกไป ขอถวายพระพร เมื่อบุรุษคนหนึ่ง เขย่าต้นมะม่วงก็ดี ต้นหว้าคดี ต้นมะซางก็ดี ในบรรดาผลไม้เหล่านั้น ผลเหล่าใดมั่นคง มีขั้วแข็งแรง คนเหล่านั้นก็ยังคงติดอยู่ที่ต้นนั้น ไม่ตกหล่น ในบรรดาผลเหล่านั้น ผลเหล่าใดมีโคนก้านเน่า มีขั้วอ่อนแอ ผลเหล่านั้นย่อมตกหล่น ฉันใด ขอถวายพระพร พระตถาคตเมื่อทรงแสดงธรรม ธรรมย่อมไม่ทรงกระทำความยินดียินร้ายจงเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้ายแสดงธรรมเมื่อทรงแสดงธรรมอยู่โดยอาการอย่างนี้ ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมตรัสรู้ ส่วนว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมพลาดตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่าชาวนาต้องการหว่านโปรยข้าวไถนา เมื่อชาวนาผู้นั้นกำลังไถนาอยู่ ต้นหญ้าหลายแสนต้นก็ตายไป ฉันใด ขอถวายพระพร พระตถาคตเมื่อจะทรงโปรดสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีใจสุกงอม (มีอินทรีย์แก่หง่อม) ให้ได้ตรัสรู้ ก็ทรงเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้ายแสดงธรรม เมื่อทรงแสดงธรรมไปโดยอาการอย่างนี้ ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมตรัสรู้ ส่วนว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุเหล่านั้นก็ย่อมตายไปเหมือนหญ้า ฉันนั้นเหมือนกัน.  ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า คนทั้งหลายย่อมใช้แป้นโยนบีบอ้อย เพราะเหตุแห่งรส เมื่อคนเหล่านั้นกำลังบีบอ้อยไป ก็ไปบีบเอาหมู่หนอนที่ไต่อยู่ตามหน้าเป็นยนต์ ฉันใด ขอถวายพระพร พระตถาคตเมื่อจะทรงโปรดสัตว์ทั้งหลายผู้มีใจสุกงอม (มีอินทรีแก่หง่อม) ให้ได้ตรัสรู้ก็ทรงใช้แป้นยนต์ คือธรรมเทศนาบีบคั้นเอาชนะ ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ปฏิบัติผิด ภิกษุเหล่านั้นก็ย่อมตายไปเหมือนหมู่หนอน ฉันนั้นเหมือนกัน

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน ภิกษุเหล่านั้นพลาดตกไป พระธรรมเทศนานั้นมิใช่หรือ ?  พระนาคเสน, ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ช่างถาก เมื่อจะถากไม้ ย่อมทำไม้ให้ตรง ให้เกลี้ยงเกลาได้ (ทั้งนั้น) หรือ ?พระเจ้ามิลินท์, หามิได้ พระคุณเจ้า ช่างถากจะคัดส่วนที่เป็นโทษ ออกไป แล้วจึงจะทำไม้ให้ตรง ให้เกลี้ยงเกลาได้.   พระนาคเสน, ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคต เมื่อจะทรงรักษาบริษัท ไม่ส่งอาจทำบริษัทผู้ไม่สามารถตรัสรู้ให้ตรัสรู้ได้ แต่ว่าจะทรงคัดสัตว์ผู้ปฏิบัติมิชอบทั้งหมดออกไป โปรดแต่สัตว์ผู้สามารถจะตรัสรู้ได้เท่านั้น ให้ได้รู้ ขอถวายพระพร ภิกษุผู้ปฏิบัติมิชอบเหล่านั้น ย่อมพลาดตกไปเพราะการกระทำของตน

ขอถวายพระพร ต้นกล้วย ไม้ไผ่ แม่ม้าอัสดร ยอมตายเพราะลูกที่เกิดในตนเอง ฉันใด ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ชอบเหล่านั้นก็ย่อมตายคือพลาดตกไป เพราะการกระทำของตน ฉันนั้นเหมือนกัน.   ขอถวายพระพร พวกโจรถูกควักลูกตา ถูกเสียบด้วยหลาว ถูกตัดศีรษะเพราะการกระทำของตน ฉันใด ขอถวายพระพร ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ชอบเหล่านั้น ก็ถูกฆ่าคือพลาดตกไปเพราะการกระทำของตน ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปเหล่านั้น เกิดมีโลหิตร้อนๆ ทะลักออกจากปาก ข้อที่ภิกษุเหล่านั้นมีโลหิตทะลักออกจากปากนั้น หาเป็นเพราะการกระทำของพระผู้มีพระภาคไม่ หาเป็นเพราะการกระทำของคนอื่นไม่ แต่ทว่า เป็นเพราะการกระทำของตนเองนั่นเอง.   ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า บุรุษคนหนึ่งให้ยาอมตะแก่ทุกคน คนเหล่านั้นกินยาอมตะแล้วก็เป็นผู้ไม่มีโรค มีอายุยืน พ้นจากเสนียดจัญไรทั้งปวง ต่อมามีบุรุษอีกคนหนึ่งดื่มยาอมตะนั้น โดยผิดวิธีการ แล้วถึงแก่ความตาย ขอถวายพระพร บุรุษผู้ให้ยาอมตะนั้น พึ่งได้บาปอะไร ๆ เพราะเหตุที่ได้ยาอมตะแก่คนทั้งหลายนั้น บ้างหรือหนอ ?

พระเจ้ามิลินท์, หาไม่ได้ พระคุณเจ้า.  พระนาคเสน, ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตก็ทรงมอบธรรมทานเป็นยาอมตะแก่พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหน่วยโลกธาตุ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเป็นสัตว์ผู้สมควร สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมตรัสรู้ได้ ส่วนว่า สัตว์เหล่าใดเป็นผู้อาภัพ สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมถูกพระธรรมเทศนาฆ่าตาย คือพลาดตกไปจากพระธรรมเทศนานั้น ขอถวายพระพร ธรรมดาว่าอาหารย่อมรักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไว้ แต่ว่าสัตว์บางพวกบริโภคอาหารนั้น แล้วก็ตายเพราะโรคลงท้อง ขอถวายพระพร บุรุษผู้ให้อาหารแก่เข่านั้น พึ่งได้บาปอะไร ๆ เพราะเหตุที่ได้ให้อาหารนั้นบ้างหรือ ?  พระเจ้ามิลินท์, หามิได้ พระคุณเจ้า.  พระนาคเสน, ขอถวายพระพร อุปมาฉันใดอุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตก็ส่งมอบอาหารอมตะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ สัตว์เหล่าได้เป็น ผู้สมควร สัตว์เหล่านั้นย่อมตรัสรู้เพราะอาหารอมตะ คือพระธรรมเทศนา สัตว์เหล่าได้เป็นผู้อาภัพ สัตว์เหล่านั้นก็ถูกอาหารอมตะคือพระธรรมเทศนานั้น ทำให้ตาย คือพลาดตกไปจากอาหารอมตะ คือพระธรรมเทศนานั้น.  พระเจ้ามิลินท์, สาธุ พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำพูดตามที่ท่านกล่าวมานี้.  จบสัพพสัตตหิตผรณปัญหาที่ ๒

คำอธิบายปัญหาที่ ๒

ปัญหาเกี่ยวกับการที่พระตถาคตทรงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพสัตตหิตผรณปัญหา.  คำว่า  ธรรมปริยายอันมีอุปมาด้วยกองไฟ  คือ อัคคิกขันโธปสูตร ซึ่งมีเนื้อความเกี่ยวกับการที่พระตถาคตทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทรงยกกองไฟใหญ่ที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นอยู่ในเวลานั้น เป็นอุปมา เช่นอย่างนี้ว่าสำหรับภิกษุผู้ทุศีล มีแต่บาปเป็นธรรมดา การที่เข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่ที่ร้อน ลุกโพลง ประเสริฐกว่าการเข้าไปนั่งกอดนางกษัตริย์ นางพราหมณ์ นางคฤหบดี เพราะแม้จะพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้เพราะการกอดกองไฟนั้นเป็นเหตุ ก็จริงอยู่ แต่ว่าหลังจากตาย จะได้เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะการกอดกองไฟนั้น ก็หาไม่ ส่วนการที่ภิกษุผู้ทุศีล เข้าไปนั่งกอด นอนกอด นางกษัตริย์เป็นต้นนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อความหายนะ เพื่อทุก แก่เขาตลอดกาลนาน หลังจากตายจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้เป็นต้น ในบรรดาภิกษุทั้งหลายที่ได้สดับอยู่นั้น ภิกษุผู้ทุศีลขาดจากความเป็นสมณะ ประมาณ ๖๐ รูป เกิดวิปฏิสารความเดือดร้อนใจ จนกระทั่งมีโลหิตอุ่นๆ ทะลักออกจากปาก อีกประมาณ ๖๐ รูป คิดว่าการบวชในพระศาสนามีแต่กิจที่ทำได้ยากดังนี้แล้ว ก็ลาสิกขา กลับคืนพี่เป็นคฤหัสถ์ สู้อันภิกษุผู้มีศีลดี ประมาณ ๖๐ รูป ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

บรรดา ภิกษุผู้ทุศีล ฟังธรรมแล้ว แม้ได้รับความทุกข์ใจขนาดว่า โลหิตอุ่นๆ ทะลักออกจากปากเพราะธรรมเทศนานั้น ก็หานับว่าพระผู้มีพระภาคทรงมอบความหายนะ ทรงขจัดประโยชน์ของภิกษุเหล่านั้น ไม่ เพราะเป็นผลแห่งการกระทำ ความทุกข์ศีลของภิกษุเหล่านั้นเอง ทว่า ชื่อว่าทรงขจัดความหายนะ ทรงจัดแจงประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้นทีเดียว เพราะเมื่อไม่ทรงแสดงสูตรนี้ ภิกษุเหล่านี้ก็จะยังคงตั้งอยู่ในความเป็นสมณะ แม้ว่าความจริงตนขาดความเป็นสมณะไปแล้ว ซึ่งความเป็นอย่างนี้ มีแต่จะทำให้ภิกษุเหล่านั้น บ่ายหน้าไปหาอบายภูมิท่าเดียว เสวยทุกข์ในสังสารวัฏไปตลอดกาลนานแสนนาน เกี่ยวกับอกุศลกรรมคือการที่ตนไม่ยอมลาสิกขา ยังคงประกาศความเป็นเพศสมณะ อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายผู้เลื่อมใสในบุคคลผู้ครองเพศนี้ น้อมนำเอาปัจจัยทั้งหลายเข้าไปถวายด้วยศรัทธา ด้วยปรารภถึงความเป็นสมณะผู้มีศีลของตน เพราะเขาเหล่านั้น ยังสำคัญว่าเป็นสมณะอยู่ ทั้งตนเองก็ยินดีที่จะรับเอา อันนับว่ามีความเป็นอยู่โดยการหลอกลวงผู้อื่น อกุศลกรรมเกี่ยวกับการหลอกลวงผู้อื่นเป็นอยู่ ข้อนี้แหละ จะมุ่งหน้าพาไปสู่อบายนับชาติไม่ถ้วน ทั้งในระหว่างที่ยังครองเพศสมณะอยู่นั้น ก็ไม่อาจจะเจริญอาทิกุศลอะไรๆ กล่าวคือ สมาธิ วิปัสสนา เพื่อการบรรลุฌาน เพื่ออันบรรลุมรรคและผล เพื่ออันกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ได้ เพราะว่าคุณธรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่าศีลไม่เกิดแก่บุคคลผู้มีศีลวิบัติ แต่ถ้าหากว่าได้สำนึกแล้วลาสิกขาเวียนกลับมาสู่เพศคฤหัสถ์เสีย ก็เป็นการปลงอาบัติ ก็จะหยุดยั้งการกระทำที่เป็นอกุศลกรรมนั้น ให้สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น และเมื่อดำรงอยู่เพศคฤหัสถ์แล้ว ก็สามารถทำบุญทั้งหลาย มี ทาน ศีล เป็นต้น ตามสมควรแก่เพศคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ภพหน้า มีการเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นต้น ได้ หรือแม้อาจเจริญสมาธิ วิปัสสนา จนบรรลุฌาน มรรคผลเป็นต้น ก็ได้ ก็ภิกษุพวกที่ฟังธรรมเทศนานี้แล้ว มีโลหิตอุ่นๆ ทะลักออกจากปาก เจ็บป่วยแล้ว ก็พากันลาสิกขา ได้ทำบุญทั้งหลาย มีทานเป็นต้น อยู่ในเพจนี้ บางคนได้บรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระโสดาบันเป็นต้น เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาข้อนี้ ย่อมนับว่าเป็นการขจัดความหายนะ จัดแจงประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้นนั่นเทียว.  จบคำอธิบายปัญหาที่ ๒.  จบมิลินทปัญหาตอนที่ ๒๘

ขอให้ การอ่าน การศึกษา ของทุกท่านตามกุศลเจตนา ได้เป็นพลวปัจจัย เพิ่มพูลกำลังสติ กำลังปัญญา ให้สามารถนำตนให้พ้นจากวัฏฏทุกข์ด้วยเทอญ

ณัฏฐ สุนทรสีมะ

ที่มา : http://dhamma.serichon.us/

มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) ,  (ตอนที่ 49) ,  (ตอนที่ 48) ,  (ตอนที่ 47) ,  (ตอนที่ 46) ,  (ตอนที่ 45) ,  (ตอนที่ 44) ,  (ตอนที่ 43) ,  (ตอนที่ 42) ,  (ตอนที่ 41) ,  (ตอนที่ 40) ,  (ตอนที่ 39) ,  (ตอนที่ 38) ,  (ตอนที่ 37) ,  (ตอนที่ 36) ,  (ตอนที่ 35) ,  (ตอนที่ 34) ,  (ตอนที่ 33) ,  (ตอนที่ 32) ,  (ตอนที่ 31) ,  (ตอนที่ 30) ,  (ตอนที่ 29) ,  (ตอนที่ 28) ,  (ตอนที่ 27) ,  (ตอนที่ 26) ,  (ตอนที่ 25) ,  (ตอนที่ 24) ,  (ตอนที่ 23) ,  (ตอนที่ 22) ,  (ตอนที่ 21 ต่อ) ,  (ตอนที่ 21) ,  (ตอนที่ 20) ,  (ตอนที่ 19) ,  (ตอนที่ 18) ,  (ตอนที่ 17) ,  (ตอนที่ 16) ,  (ตอนที่ 15) ,  (ตอนที่ 14) ,  (ตอนที่ 13) ,  (ตอนที่ 12) ,   (ตอนที่ 11) ,  (ตอนที่ 10) ,  (ตอนที่ 9) ,  (ตอนที่ 8) ,  (ตอนที่ 7) ,  (ตอนที่ 6) ,  (ตอนที่ 5) ,  (ตอนที่ 4) ,  (ตอนที่ 3) ,  (ตอนที่ 2) ,  (ตอนที่ 1) ,  ประโยชน์​การอุปมา​อันได้จากการศึกษา​คัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์​มิลินท์​ปัญหาเป็นต้น​ ,   มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้  ,  เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า?  ,  นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์  ,   ถามว่า​ อานิสงส์​การเจริญเมตตา​ ห้ามอันตราย​ต่างๆ​ เหตุไรสุวรรณ​สามผู้เจริญเมตตา​จึงถูกยิงเล่า?


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: