วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Even One Word Is Enough

A Dhammatalk by Ajahn Chah: Even One Word Is Enough 1

Whatever you will teach, it won't be outside of sīla, samādhi and paññā, or, to use another standard classification, generosity, morality and meditation.

Folks here are already pretty complicated. You have to look at the people you are teaching and understand them. Here, they are complicated. So you have to give them something they can relate to. Just to say, ''Let go, let go!'' won't be right. Put that aside for the time being. It's like talking to older people in Thailand. If you try to speak bluntly, they will resent it. If I do that, it's OK - if they hear it from me, it pleases them - but otherwise they would get angry.

You can be able to speak well but still not be skillful. Right, Sumedho? It's like that, isn't it?

Ajahn Sumedho: It is. They (some of the other monks) speak the truth, but they don't do it skillfully, and the lay people don't want to listen. They don't have the skillful means.

Ajahn Chah: Right. They don't have a ''technique.'' They don't have the technique in speaking. Like construction - I can build things, but I don't have a technique for construction, to make things beautiful and long-lasting. I can speak, anyone can speak, but it's necessary to have the skillful means to know what is appropriate. Then saying even one word can be of benefit. Otherwise, you can cause trouble with your words.

For example, people here have learned a lot of things. Don't go extolling your way: ''My way is right! Your way is wrong!'' Don't do that. And don't merely try to be profound, either. You can lead people to madness by that. Just say, ''Don't discard other ways you may have learned. But for the time being, please put them aside and focus on what we are practising right now.'' Such as mindfulness of breathing. That's something you can all teach. Teach to focus on the breath going in and out. Just keep teaching in the same way, and let people get an understanding of this. When you become skilled at teaching one thing, your ability to teach will develop of its own, and you will be able to teach other things. Coming to know one thing well, people can then know many things. It happens of its own. But if you try to teach them many things, they don't get a real understanding of any one thing. If you point out one thing clearly, then they can know many things clearly.

Like those Christians who came today. They just said one thing. They said one thing that was full of meaning. ''One day we will meet again in the place of ultimate truth.'' Just this one statement was enough. Those were the words of a wise person. No matter what kind of Dhamma we learn, if we don't realize the ultimate truth (paramatthadhamma) in our hearts, we won't reach satisfaction.

For example, Sumedho might teach me. I have to take that knowledge and try to put it into practice. When Sumedho is teaching me, I understand, but it isn't a real or deep understanding, because I haven't yet practised. When I do actually practise and realize the fruit of practising, then I will get to the point and know the real meaning of it. Then I can say I know Sumedho. I will see Sumedho in that place. That place is Sumedho. Because he teaches that, that is Sumedho.

When I teach about the Buddha, it's like that also. I say the Buddha is that place. The Buddha is not in the teachings. When people hear this they will be startled. ''Didn't the Buddha teach those things?'' Yes, he did.... This is talking about ultimate truth. People don't understand it yet.

What I gave those people to think about was, this apple is something that you can see with your eyes. The flavour of the apple isn't something you can know by looking at it. But you do see the apple. I felt that was as much as they were able to listen to. You can't see the flavour, but it's there. When will you know it? When you pick up the apple and eat it.

The Dhamma we teach is like the apple. People hear it, but they don't really know the flavour of ''the apple.'' When they practice, then it can be known. The flavour of the apple can't be known by the eyes, and the truth of the Dhamma can't be known by the ears. There is knowledge, true, but it doesn't really reach the actuality. One has to put it into practice. Then wisdom arises and one recognizes the ultimate truth directly. One sees the Buddha there. This is the profound Dhamma. So I compared it to an apple in this way for them; I offered it to that group of Christians to hear and think about.

That kind of talk was a little ''salty2.'' Salty is good. Sweet is good, sour is good. Many different ways of teaching are good. Well, if you've got something to say, any of you, please feel free to say it. Soon we won't have a chance to discuss things.... Sumedho's probably run out of things to say.

AS: I'm fed up explaining things to people

AC: Don't do that. You can't be fed up.

AS: Yes, I'll cut that off.

AC: The head teacher can't do that. There are a lot of people trying to reach Nibbāna, so they are depending on you.

Sometimes teaching comes easily. Sometimes you don't know what to say. You are at a loss for words, and nothing comes out. Or is it that you just don't want to talk? It's a good training for you.

AS: People around here are pretty good. They aren't violent and mean-spirited or troublesome. The Christian priests don't dislike us. The kinds of questions people ask are about things like God. They want to know what God is, what Nibbāna is. Some people believe that Buddhism teaches nihilism and wants to destroy the world.

AC: It means their understanding is not complete or mature. They are afraid everything will be finished, that the world will come to an end. They conceive of Dhamma as something empty and nihilistic, so they are disheartened. Their way only leads to tears.

Have you seen what it's like when people are afraid of ''emptiness''? Householders try to gather possessions and watch over them, like rats. Does this protect them from the emptiness of existence? They still end up on the funeral pyre, everything lost to them. But while they are alive they are trying to hold on to things, every day afraid they will be lost, trying to avoid emptiness. Do they suffer this way? Of course, they really do suffer. It's not understanding the real insubstantiality and emptiness of things; not understanding this, people are not happy.

Because people don't look at themselves, they don't really know what's going on in life. How do you stop this delusion? People believe, ''This is me. This is mine.'' If you tell them about non-self, that nothing is me or mine, they are ready to argue the point until the day they die.

Even the Buddha, after he attained knowledge, felt weary when he considered this. When he was first enlightened, he thought that it would be extremely troublesome to explain the way to others. But then he realized that such an attitude was not correct.

If we don't teach such people, who will we teach? This is my question, which I used to ask myself at those times I got fed up and didn't want to teach anymore: who should we teach, if we don't teach the deluded? There's really nowhere else to go. When we get fed up and want to run away from disciples to live alone, we are deluded.

Monk: We could be Pacceka Buddhas3.

AC: That's good. But it's not really correct, being a Pacceka Buddha, if you simply want to run away from things.

AS: Just living naturally, in a simple environment, then we could naturally be Pacceka Buddhas. But these days it's not possible. The environment we live in doesn't allow that to happen. We have to live as monks.

AC: Sometimes you have to live in a situation like you have here first, with some disturbance.... To explain it in a simple way, sometimes you will be an omniscient (sabbaññū) Buddha; sometimes you will be a Pacceka. It depends on conditions.

Talking about these kinds of beings is talking about the mind. It's not that one is born a Pacceka. This is what's called ''explanation by personification of states of mind'' (puggalādhitthāna). Being a Pacceka, one abides indifferently and doesn't teach. Not much benefit comes from that. But when someone is able to teach others, then they are manifesting as an omniscient Buddha.

These are only metaphors.

Don't be anything! Don't be anything at all! Being a Buddha is a burden. Being a Pacceka is a burden. Just don't desire to be. ''I am the monk Sumedho,'' ''I am the monk Ānando''... That way is suffering, believing that you really exist thus. ''Sumedho'' is merely a convention. Do you understand?

If you believe you really exist, that brings suffering. If there is Sumedho, then when someone criticizes you, Sumedho gets angry. Ānando gets angry. That's what happens if you hold these things as real. Ānando and Sumedho get involved and are ready to fight. If there is no Ānando or no Sumedho, then there's no one there - no one to answer the telephone. Ring ring - nobody picks it up. You don't become anything. No one is being anything, and there is no suffering.

If we believe ourselves to be something or someone, then every time the phone rings, we pick it up and get involved. How can we free ourselves of this? We have to look at it clearly and develop wisdom, so that there is no Ānando or no Sumedho to pick up the telephone. If you are Ānando or Sumedho and you answer the telephone, you will get yourself involved in suffering. So don't be Sumedho. Don't be Ānando. Just recognize that these names are on the level of convention.

If someone calls you good, don't be that. Don't think, ''I am good.'' If someone says you are bad, don't think, ''I'm bad.'' Don't try to be anything. Know what is taking place. But then don't attach to the knowledge either.

People can't do this. They don't understand what it's all about. When they hear about this, they are confused and they don't know what to do. I've given the analogy before about upstairs and downstairs. When you go down from upstairs, you are downstairs, and you see the downstairs. When you go upstairs again, you see the upstairs. The space in between you don't see - the middle. It means Nibbāna is not seen. We see the forms of physical objects, but we don't see the grasping, the grasping at upstairs and downstairs. Becoming and birth; becoming and birth. Continual becoming. The place without becoming is empty. When we try to teach people about the place that is empty, they just say, ''There's nothing there.'' They don't understand. It's difficult - real practice is required for this to be understood.

We have been relying on becoming, on self-grasping, since the day of our birth. When someone talks about non-self, it's too strange; we can't change our perceptions so easily. So it's necessary to make the mind see this through practice, and then we can believe it: ''Oh! It's true!''

When people are thinking, ''This is mine! This is mine!'' they feel happy. But when the thing that is ''mine'' is lost, then they will cry over it. This is the path for suffering to come about. We can observe this. If there is no ''mine'' or ''me,'' then we can make use of things while we are living, without attachment to them as being ours. If they are lost or broken, that is simply natural; we don't see them as ours, or as anyone's, and we don't conceive of self or other.

This isn't just talking about a mad person; this is someone who is diligent. Such a person really knows what is useful, in so many different ways. But when others look at him and try to figure him out, they will see someone who is crazy.

When Sumedho looks at lay people, he will see them as ignorant, like little children. When lay people consider Sumedho, they will think he is someone who's lost it. You don't have any interest in the things they live for. To put it another way, an arahant and an insane person are similar. Think about it. When people look at an arahant, they will think he is crazy. If you curse him, he doesn't care. Whatever you say to him, he doesn't react - like a crazy person. But crazy and having awareness. A truly insane person may not get angry when he is cursed, but that's because he doesn't know what's going on. Someone observing the arahant and the mad person might see them as the same. But the lowest is mad, the very highest is arahant. Highest and lowest are similar, if you look at their external manifestation. But their inner awareness, their sense of things, is very different.

Think about this. When someone says something that ought to make you angry and you just let it go, people might think you're crazy. So when you teach others about these things, they don't understand very easily. It has to be internalized for them to really understand.

For example, in this country, people love beauty. If you just say, ''No, these things aren't really beautiful,'' they don't want to listen. ''Ageing'' - they're not pleased. ''Death'' - they don't want to hear about it. It means they aren't ready to understand. If they won't believe you, don't fault them for that. It's like you're trying to barter with them, to give them something new to replace what they have, but they don't see any value in the thing you are offering. If what you have is obviously of the highest value, of course they will accept it. But now why don't they believe you? Your wisdom isn't sufficient. So don't get angry with them: ''What's wrong with you? You're out of your mind!'' Don't do that. You have to teach yourself first, establish the truth of the Dhamma in yourself and develop the proper way to present it to others, and then they will accept it.

Sometimes the Ajahn teaches the disciples, but the disciples don't believe what he says. That might make you upset, but instead of getting upset, it's better to search out the reason for their not believing: the thing you are offering has little value to them. If you offer something of more value than what they have, of course they will want it.

When you're about to get angry at your disciples, you should think like this, and then you can stop your anger. It's really not much fun to be angry.

In order to get his disciples to realize the Dhamma, the Buddha taught a single path, but with varying characteristics. He didn't use only one form of teaching or present the Dhamma in the same way for everyone. But he taught for the single purpose of transcending suffering. All the meditations he taught were for this one purpose.

The people of Europe already have a lot in their lives. If you try to lay something big and complicated on them, it might be too much. So what should you do? Any suggestions?

If anyone has something to talk about, now is the time. We won't have this chance again.... Or if you don't have anything to discuss, if you've exhausted your doubts, I guess you can be Pacceka Buddhas.

In the future, some of you will be Dhamma teachers. You will teach others. When you teach others you are also teaching yourselves... do any of you agree with this? When you teach others, you also teach yourself. Your own skillfulness and wisdom increase. Your contemplation increases. For example, you teach someone for the first time, and then you start to wonder why it's like that, what the meaning is. So you start thinking like this and then you will want to contemplate to find out what it really means. Teaching them, you are also teaching yourself in this way. If you have mindfulness, if you are practicing meditation, it will be like this. Don't think that you are only teaching others. Have the idea that you are also teaching yourself. Then there is no loss.

AS: It looks like people in the world are becoming more and more equal. Ideas of class and caste are falling away and changing. Some people who believe in astrology say that in a few years there will be great natural disasters that will cause a lot of suffering for the world.... I don't really know if it's true.... But they think it's something beyond our capabilities to deal with, because our lives are too far from nature and we depend on machines for our lives of convenience. They say there will be a lot of changes in nature, such as earthquakes, that nobody can foresee.

AC: They talk to make people suffer.

AS: Right. If we don't have mindfulness, we can really suffer over this.

AC: The Buddha taught about the present. He didn't advise us to worry about what might happen in two or three years. In Thailand, people come to me and say, ''Oh, Luang Por, the communists are coming! What will we do?'' I ask, ''Where are those communists?'' ''Well, they're coming any day now,'' they say.

We've had communists from the moment we were born. I don't try to think beyond that. Having the attitude that there are always obstacles and difficulties in life kills off the ''communists.'' Then we aren't heedless. Talking about what might happen in four or five years is looking too far away. They say, ''In two or three years Thailand will be communist!'' I've always felt that the communists have been around since I was born, and so I've always been contending with them, right up to the present moment. But people don't understand what I'm talking about.

It's the truth! Astrology can talk about what's going to happen in two years. But when we talk about the present, they don't know what to do. Buddhism talks about dealing with things right now and making yourself well-prepared for whatever might happen. Whatever might happen in the world, we don't have to be too concerned. We just practise to develop wisdom in the present and do what we need to do now, not tomorrow. Wouldn't that be better? We can wait for an earthquake that might come in three or four years, but actually, things are quaking now. America is really quaking. People's minds are so wild - that's your quake right there. But folks don't recognize it.

Big earthquakes only occur once in a long while, but this earth of our minds is always quaking, every day, every moment. In my lifetime, I've never experienced a serious earthquake, but this kind of quake is always happening, shaking us and throwing us all around. This is where the Buddha wanted us to look.

But maybe that's not what people want to hear.

Things happen due to causes. They cease due to causes ceasing. We don't need to be worrying about astrological predictions. We can just know what is occurring now. Everyone likes to ask these questions, though. In Thailand, the officials come to me and say, ''The whole country will be communist! What will we do if that happens?''

''We were born - what do we do about that? I haven't thought much about this problem. I've always thought, since the day I was born the ''communists'' have been after me.'' After I reply like this, they don't have anything to say. It stops them.

People may talk about the dangers of communists taking over in a few years, but the Buddha taught us to prepare ourselves right now, to be aware and contemplate the dangers we face that are inherent in this life. This is the big issue. Don't be heedless! Relying on astrology to tell you what will happen a couple of years from now doesn't get to the point. Relying on ''Buddhology,'' you don't have to chew over the past, you don't worry about the future, but you look at the present. Causes are arising in the present, so observe them in the present.

People who say those things are only teaching others to suffer. But if someone talks the way I do, people will say they are crazy.

In the past, there was always movement, but it was only a little bit at a time, so it wasn't noticeable. For example, Sumedho, when you were first born, were you this size? This is the result of movement and change. Is change good? Of course it is; if there were no movement or change, you never would have grown up. We don't need to fear natural transformation.

If you contemplate Dhamma, I don't know what else you would need to think about. If someone predicts what will happen in a few years, we can't just wait to see what happens before we do anything. We can't live like that. Whatever we need to do, we have to do it now, without waiting for anything in particular to happen.

These days the populace is in constant motion. The four elements are in motion. Earth, water, fire, and air are moving. But people don't recognize that the earth is moving. They only look at the external earth and don't see any movement.

In the future, in this world, if people are married and stay together more than a year or two, others will think there's something wrong with them. A few months will be the standard. Things are in constant motion like this; it's the minds of people that are moving. You don't need to look to astrology. Look to Buddhology and you can understand this.

''Luang Por, if the communists come, where will you go?'' Where is there to go? We have been born and we face aging, sickness, and death; where can we go? We have to stay right here and deal with these things. If the communists take over, we will stay in Thailand and deal with that. Won't they have to eat rice, too?4 So why are you so fearful?

If you keep worrying about what might happen in the future, there's no end to it. There is only constant confusion and speculation. Sumedho, do you know what will happen in two or three years? Will there be a big earthquake? When people come to ask you about these things, you can tell them they don't need to look so far ahead to things they can't really know for certain; tell them about the moving and quaking that is always going on, about the transformation that allowed you to grow to be as you are now.

The way people think is that having been born, they don't want to die. Is that correct? It's like pouring water into a glass but not wanting it to fill up. If you keep pouring the water, you can't expect it not to be full. But people think like this: they are born but don't want to die. Is that correct thinking? Consider it. If people are born but never die, will that bring happiness? If no one who comes into the world dies, things will be a lot worse. If no one ever dies, we will probably all end up eating excrement! Where would we all stay? It's like pouring water into the glass without ceasing yet still not wanting it to be full. We really ought to think things through. We are born but don't want to die. If we really don't want to die, we should realize the deathless (amatadhamma), as the Buddha taught. Do you know what amatadhamma means?

It is the deathless - though you die, if you have wisdom it is as if you don't die. Not dying, not being born. That's where things can be finished. Being born and wishing for happiness and enjoyment without dying is not the correct way at all. But that's what people want, so there is no end of suffering for them. The practitioner of Dhamma does not suffer. Well, practitioners such as ordinary monks still suffer, because they haven't yet fulfilled the path of practice. They haven't realized amatadhamma, so they still suffer. They are still subject to death.

Amatadhamma is the deathless. Born of the womb, can we avoid death? Apart from realizing that there is no real self, there is no way to avoid death. ''I'' don't die; sankhāras undergo transformation, following their nature.

This is hard to see. People can't think like this. You need to get free of worldliness, like Sumedho did. You need to leave the big, comfortable home and the world of progress. Like the Buddha did. If the Buddha had remained in his royal palace, he wouldn't have become the Buddha. It was by leaving the palace and going to live in forests that he attained that. The life of pleasure and amusement in the palace was not the way to enlightenment.

Who is it that tells you about the astrological predictions?

AS: A lot of people talk about it, often just like a hobby or a casual interest.

AC: If it really is as they say, then what should people do? Are they offering any path to follow? From my point of view, the Buddha taught very clearly. He said that the things we can't be sure about are many, starting from the time we were born. Astrology may talk about months or years in the future, but the Buddha points to the moment of birth. Predicting the future may make people anxious about what could happen, but the truth is that the uncertainty is always with us, right from birth.

People aren't likely to believe such talk, are they?

If you (speaking to a layperson who was present) are afraid, then consider this: suppose that you were convicted of a crime that calls for capital punishment, and in seven days you will be executed. What would go through your mind? This is my question for you. If in seven days you will be executed, what will you do? If you think about it and take it a step further, you will realize that all of us right now are sentenced to die, only we don't know when it will happen. It could be sooner than seven days. Are you aware that you are under this death sentence?

If you were to violate the law of the land and be sentenced to death, you would certainly be most distressed. Meditation on death is recollecting that death is going to take us and that it could be very soon. But you don't think about it, so you feel you are living comfortably. If you do think about it, it will cause you to have devotion to the practice of Dhamma. So the Buddha taught us to practice the recollection of death regularly. Those who don't recollect it live with fear. They don't know themselves. But if you do recollect and are aware of yourself, it will lead you to want to practise Dhamma seriously and escape from this danger.

If you are aware of this death sentence, you will want to find a solution. Generally, people don't like to hear such talk. Doesn't that mean they are far from the true Dhamma? The Buddha urged us to recollect death, but people get upset by such talk. That's the kamma of beings. They do have some knowledge of this fact, but the knowledge isn't yet clear.

Footnotes

...1    To the Western Sangha newly arrived in England, 1979     ...''salty2    Not the same connotation as in English. Here it means 'hard' or 'direct'.  ... Buddhas3    The ''solitary enlightened ones''  ...4   Or: the communists will still let us eat rice, won't they? 

Source: http://www.ajahnchah.org

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of Dhamma , Buddhist Paintings: The Life of the Buddha , The life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom

ทำให้มันจบ

ทำให้มันจบ

วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ หรือที่พวกเราพุทธบริษัททั้งหลายเรียกกันว่าเป็นวันพระ เป็นวันชุมนุมผู้ที่มีศรัทธาและความเลื่อมใสมาประพฤติปฏิบัติธรรมะกัน ฉะนั้นต่อไปนี้จงพากันตั้งใจฟัง การฟังธรรมก็ให้รู้จักความหมายถ้าฟังธรรมไม่รู้จักความหมาย ก็เรียกว่าเป็นการเปล่าประโยชน์ ในการฟังธรรมของพวกเรา ธรรมะที่ฟังเป็นทางมรรคที่ทำให้เป็นสัมมาทิฏฐิพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นผิด พระบรมครูของเรานั้นท่านให้เดินทางมรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา

เรามาวัดในวันพระไม่ใช่ว่าเราต้องการอย่างอื่น เรามาวัดเพราะต้องการธรรมะ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการมาฟังธรรมะนี้ประโยชน์มากตั้งแต่ต้นจนอวสาน เป็นเครื่องรู้จักทาง และไม่ใช่ทางตามสติกำลังของพวกเรา พระพุทธเจ้าทุกองค์และพระสาวกทุกองค์ ที่ดำเนินตามกันมาก็อาศัยการได้ฟัง เรามาฟังธรรมะเพราะว่าเรายังไม่รู้จัก เราจะรู้จักเพราะการมาฟังธรรมให้รู้ การแสดงธรรมก็คนอื่นนั่นแหละแสดงให้ฟัง ทีนี้มันยังเป็นปัญหาอยู่ว่า ท่านจะแสดงผิดหรือถูกนั้น พวกเราก็ยังไม่รู้จัก เพราะว่าเรายังไม่รู้ ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูกเมื่อเราฟังเราก็ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูก มีผู้อธิบายธรรมะให้เราฟังเราก็ฟังไป แต่ไม่รู้ว่ามันผิดหรือมันถูก เพราะเรายังไม่รู้จัก อันนี้มันก็เป็นปัญหาที่สับสนเรียนแม้กระทั่งตัวของเราเอง ถ้าหากว่าเรารู้แล้วคนอื่นจะพูดผิดหรือถูกเราก็รู้จัก แต่ในเมื่อเรายังไม่รู้ คนอื่นพูดผิดหรือถูกเราก็ยังไม่รู้จักแน่นอน เป็นแต่เพียงสำคัญว่าเห็นว่าจะถูกเท่านั้น เห็นแต่เป็นอย่างนั้นเท่านั้น มันจึงเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

ดังนั้นพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้แสวงหาโมกขธรรมความพ้นทุกข์ จึงเกิดความสงสัยลังเลอยู่เรื่อยไป สิ่งไหนก็ยังไม่แน่นอน อะไรก็ยังไม่แน่นอน เพราะอะไรถึงไม่รู้แน่นอน ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นั้นชื่อเสียงดีก็ไป ไปฟัง เดี๋ยวก็ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นี้ดีขึ้นอีกก็ไปอีก ไปทุกอาจารย์นั่นแหละ แต่ท่านก็มีความเห็นต่างกันไปคนละอย่าง คนละทาง เราเป็นผู้ฟังก็ลังเลสงสัยว่าอะไรผิดอะไรถูกกันแน่ อย่างนี้เราก็ยังผิดอยู่คือยังติดสินใจไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาอยู่ตลอดกาลอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรายังไม่รู้ถึงที่สุดเมื่อไรเราก็จะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ปัญหามีอยู่ว่า การฟังธรรมนั้นเราควรจะทำอย่างไร จึงจะเป็นไปในทางที่ดี เราจึงควรพูดกันให้ดี ฟังให้ดี แล้วก็คิดให้ดี ฟังไม่ดีคิดไม่ดีมันก็ยิ่งไม่เกิดประโยชน์ ฟังดีคิดดีมันก็เป็นประโยชน์ทั้งสองทาง เป็นปัญหาสับสนอยู่อย่างนี้ พระอริยเจ้าทุกๆองค์จะเป็นผู้มีปัญญามาก หรือน้อยก็ตามก็ได้ตรัสรู้ทั้งนั้น แต่มีปัญญาไม่เท่ากัน เพราะคนเราจะมีปัญญาไม่เหมือนกัน ฟังธรรมอันเดียวกัน กัณฑ์เดียวกัน อาจารย์เดียวกัน แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันอันนี้ก็เพราะเครื่องรับของเรามันต่างกัน ดังนั้นการฟังธรรมเราควรเก็บหมด ท่านอธิบายมาก็เก็บหมด เก็บไว้แล้วก็อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันถูกหมด อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันผิดหมด เพราะมันเป็นความคิดหรือความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นในใจของเราเท่านั้น หมายความว่าความรู้ตามความเป็นจริงนั้นยังไม่มีในเรา เราถึงเป็นอยู่อย่างนั้น ดังนั้นการตรัสรู้ธรรมะมันถึงเป็นการเนิ่นช้า เพราะเราไม่รู้แน่นอน การไม่รู้แน่นอนนี้เป็นปัญหาที่สับสนเหลือเกิน ทีนี้ถ้าหากว่ามันเป็นปัญหาที่สับสนอย่างนี้เราก็ตกลงใจยังไม่ได้ในเรื่องของความเป็นจริง ดังนั้นเราจึงควรนำเอาอันนี้ไปพิจารณา เพื่อการภาวนานั่นเอง

เมื่อเราฟังไปนั้นก็เป็นเพียงสักแต่ว่าฟัง เราฟังเราก็พอรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มีทั้งการฟัง มีทั้งการรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มันก็ยังมีความสงสัยลังเลอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย จึงมีแต่ความลังเลสงสัยอยู่ตลอดกาล เมื่อยังมีการลังเลสงสัยอยู่ มันก็ยังไม่เห็นโทษในสิ่งที่ควรละ เพียงศีลสิบเท่านั้นก็ยังรับไม่ได้ มันก็ยังไม่เป็นประโยชน์การปฏิบัติของพวกเรานั้น ไม่ค่อยจะตั้งใจปฏิบัติให้เห็นตามความเป็นจริงกัน เปรียบเหมือนกับชาวประมงคนหนึ่ง ไปสุ่มปลาในหนองในคลองสุ่มไปๆ ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์ตัวหนึ่งเข้าไปติดอยู่ในสุ่มนั้น มันสัมผัสด้วยกายของเรา ทำให้เราพอจะรู้ได้ แต่เมื่อสัมผัสถึงใจเราก็ยังไม่รู้จัก เพียงแต่รู้ว่ามีตัวอะไรอย่างหนึ่งมาปรากฏอยู่ในสุ่มของเขา เขาก็กดสุ่มลงไปให้แน่น เพราะกลัวว่าถ้าเป็นปลาแล้วมันจะหนีออกไปเสีย กดลงไปให้แน่น แล้วก็เอามือล้วงลงไปก็ปะทะกับสัตว์ที่อยู่ในสุ่มนั้น คลำๆดูก็รู้สึกว่าตัวมันยาวๆ จะว่าเป็นงูก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นปลาไหลก็ไม่ใช่ สงสัยอยู่อย่างนี้ คนสุ่มปลาคนนั้นก็ไม่สบายใจไม่รู้ว่าจะทิ้งหรือจะเอามันดี อย่างนี้ก็เป็น "วิจิกิจฉา" ยังลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น ทำให้ชาวประมงนั้นลำบากใจ จะทิ้งหรือจะเอาก็ไม่แน่นอน อันนี้เรียก "วิจิกิจฉา" ถ้าจะปล่อยไปก็กลัวว่ามันจะเป็นปลาไหล หรือว่าจะกำเอามันขึ้นมาก็กลัวว่าจะเป็นงู กลัวมันจะกัดเอา มีความลังเลสงสัยอยู่ จึงเรียกว่าเป็นปัญหาสับสน ในที่สุดก็เลยล้วงลงไปจับเอามันชูขึ้นมาอย่างระมัดระวัง พอมันพ้นน้ำขึ้นมาคอลายๆ เป็นแฉกๆ ก็เห็นชัด รู้ชัดเจนว่ามันเป็นงูเท่านั้นแหละ ก็วางปุ๊บลงโดยไม่รู้ตัวเลย ตัวเรานี้มันก็เตือนตัวเอง มันก็รู้สึกของมันเอง มันแก้เองวางเอง

ทางมรรคก็ไม่ต้องคิดเช่นนั้น ง่ายเหลือเกิน เพราะเราเข้าใจ เราคิดได้ว่าถ้ามันกัดแล้วเราจะตาย มันกัดแล้วเราจะเป็นทุกข์ เห็นชัดเจนแล้วเช่นนี้มันก็วางได้ เพราะมันง่าย อันนี้มันทำกันได้ง่าย เราเห็นตัวตนทั้งหลายซึ่งเป็นที่สุดนั้น ถ้าหากว่าเราเห็นขนาดนั้น เห็นโทษมันอย่างนั้น เห็นอันตรายมันอย่างนั้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ใครมาพูด หรือมาบอกให้เว้น หรือจ้ำจี้จ้ำไชตัวของเราให้ปล่อยวางความชั่วอันนั้น มันจะปล่อยของมันเอง มันจะรู้มันเอง มันจะเป็นของมันเอง นี่มันเป็นลักษณะอย่างนี้ ถ้าใครเห็นโทษในการกระทำผิดทางกายและทางวาจา หรือทุกอย่างนั้น มันก็ง่ายที่สุด ไม่ใช่ว่ามันยาก จะได้เลิกพูดว่า "แหม! การปฏิบัตินี้มันยากลำบาก" มันยากก็เพราะว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นโทษในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามความเป็นจริง มันถึงลำบาก เกิดปัญหาสับสนในการประพฤติปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดเจนเข้าไปจริงๆอย่างชาวประมงคนนั้น จับตัวงูชูพ้นน้ำขึ้นมา เห็นว่าเป็นงูจริงๆ แล้วก็วาง โดยที่ไม่ต้องมีใครไปบังคับบัญชามัน ตัวเราเมื่อเกิดความรู้สึก มันก็ปล่อยวางของมันเองอย่างนั้น นี่เรียกว่ามันง่ายดี คือมันเป็นอย่างนี้ถ้าเราเห็นชัดแจ้ง มันง่ายที่สุด มันไม่ยาก ถ้าเราจะทิ้งขณะที่เรายังไม่เห็นชัด มันก็ลำบาก มันจึงเป็นวิจิกิจฉา มันลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้นตลอดกาลตลอดเวลา

การฟังธรรมะให้รู้จักตามความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะรู้เฉพาะที่ท่านเทศน์ให้ฟังอย่างนี้ รู้ในเวลานี้เป็นการรู้ในสัญญาเท่านั้นท่านพูดไป เราก็ฟังไปพิจารณาไป พิจารณาไปเท่านั้นถ้าเราเชื่อ เชื่อเพราะอะไร? เชื่อเราก็เชื่อผู้อื่น ความเชื่อผู้อื่นนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญ พระพุทธองค์นั้นสรรเสริญผู้ที่รู้ด้วยตนเอง เป็นสิกขีภูโต เอาตนเองเป็นพยานของตน ฟังธรรมจากพระองค์อื่น ฟังธรรมจากผู้อื่นแล้วรู้ รู้แล้วน้อมเข้ามาเป็นโอปนยิโก มาพิจารณาให้เกิดความรู้เกิดความฉลาดรู้ตามความเป็นจริง เห็นว่ามันเป็นโทษจริงๆอย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย เหมือนชาวประมงคนนั้นรู้จักอสรพิษอย่างแท้จริง อันนี้มันก็ทำให้ปล่อยวางความเชื่อทุกอย่าง ไม่ต้องสงสัยลังเลแล้ว เรียกว่าพ้นวิจิกิจฉา ตัดกระแสของธรรมะอย่างแท้จริง ไม่มีใครจะต้องมาบังคับ ไม่มีใครจะต้องมาจ้ำจี้จ้ำไช ไม่มีใครจะต้องพูดให้ฟังร่ำรี้ร้ำไร คือเข้าถึงธรรมะแล้ว ตัวธรรมะก็เข้าไปถึงใจ ใจก็เข้าไปรู้ตัวธรรมะคือรู้อารมณ์ เมื่อธรรมะเข้าไปถึงใจ ใจนั้นก็รู้จักธรรมะ ธรรมะนั้นก็อยู่ในใจ เมื่อดูใจก็เห็นธรรมะ เมื่อดูธรรมะก็เห็นใจ ทั้งใจ ทั้งธรรมะ เมื่อเราพิจารณาใจเราเมื่อไร เราจะเห็นธรรมะเมื่อนั้น เราพิจารณาธรรมะเมื่อไรเราก็เห็นใจเมื่อนั้น อันนี้เป็นการรู้อย่างแท้จริงที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง

เมื่อความรู้สึกชนิดปรากฏขึ้นกับเราแล้ว จะนั่งอยู่มันก็พูดอยู่พูดอยู่ รู้อยู่ คิดอยู่ ปฏิบัติอยู่ มีสติอยู่ มีความสังวรสำรวมอยู่ทุกคนจะเป็นอย่างนี้ เมื่อฉลาดแล้วจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าเอาตัวของตัวเองเป็นพยานแล้ว จะไปทำความชั่วที่ไหนก็ไม่ต้องมีใครบอกหรอกตัวเองก็ไม่กล้าทำด้วย เพราะเข้าใจแล้วว่า ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว จะทำดีทำชั่วก็มีผู้ตามรู้ จะไปทำอยู่ที่ไหนแม้จะไม่มีใครรู้ แต่เราก็ต้องรู้ จะไปทำอยู่ในน้ำก็มีคนรู้ ไปทำอยู่บนบกก็มีคนรู้ หรือใครจะไปทำอยู่บนอากาศก็จะต้องมีคนเห็นอยู่รู้อยู่อย่างนั้น อันนั้นเป็นเพราะอะไร? เพราะพระธรรมมันเกิดจากใจ เราปฏิบัติธรรมะทำความเพียรอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีการประมาท เป็นผู้สังวร เป็นผู้สำรวม เป็นผู้ระวังอยู่ อันนี้เรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติจนเป็นวงกลมติดต่อกันอยู่

เมื่อบุคคลยังไม่รู้จักตัวเอง ธรรมะไม่เข้าถึงใจ ใจไม่เข้าถึงธรรมะ จะทำความชั่วอะไรก็กลัว กลัวคนอื่นจะเห็น กลัวพ่อแม่จะเห็น กลัวครูบาอาจารย์จะเห็น กลัวคนอื่นจะรู้ คือคนยังไม่เห็นธรรมก็ต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อไปในสถานที่ใดๆที่ว่างจากผู้คน ว่างจากพ่อแม่ว่างจากครูบาอาจารย์ เห็นว่าไม่มีเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีใครอยู่ในที่นั้น ก็พยายามทำความชั่วอยู่ที่ตรงนั้น ด้วยความประมาท เพราะความโง่เขลาเบาปัญญานั่นเอง การกระทำเช่นนั้นเขาก็คิดว่าเขาทำถูกแล้ว พ้นภัยแล้ว เพราะว่าไม่มีใครเห็นเขา ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นเขาอย่างนี้ ก็กระทำอย่างสนิทใจเลย แต่คนคนนั้นในทางธรรมถือว่าเป็นคนโง่ที่สุด คือเป็นคนดูถูกตัวเองที่สุด ความเป็นจริงนั้นเมื่อจิตมันเป็นธรรมะ เมื่อธรรมะเป็นจิต มันจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันเลย จะไปทำผิดอะไรที่ตรงไหนเป็นต้น ก็ต้องมีคนเห็น คนอื่นไม่เห็นเราก็เห็นคนอื่นไม่รู้เราก็รู้ ดังนั้นถึงจะไปอยู่ตรงไหนก็เป็นอยู่อย่างนั้น จึงเป็นธรรมะ ไม่กล้าทำ เพราะใจมันเป็นธรรมะแล้ว พระอริยสาวกทุกๆองค์เมื่อใจเป็นธรรมะแล้วก็ต้องเป็นอย่างนั้นทุกๆองค์ ที่ลับไม่มี ที่แจ้งไม่มี อะไรๆมันก็ไม่มี รู้แต่ว่าท่านประพฤติปฏิบัติถึงที่แล้ว

นี่คือผลที่ได้รับจากการไปฟังธรรมจากคนอื่น แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติ น้อมเข้ามาในใจของเราจนเห็นตามความจริงอย่างนั้นคำสอนของผู้อื่นได้เข้าถึงจิตใจของเรา ใจเราจะรู้ธรรมะ ธรรมะก็จะถึงใจเรา ถ้าใครมาเห็นถนัดชัดเจนอย่างนี้ ก็จะพ้นจากความสงสัย อันนี้ก็เท่ากับเราได้รู้จักฐานะที่ควรหรือไม่ควรแล้ว และถูกต้องตามพระธรรมที่ท่านได้ตรัสบอกเอาไว้ว่า  สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง  การไม่ทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั่นแหละ  เอตัง  พุทธานะ  สาสะนัง  อันนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา อันนี้เป็นหัวใจของพระศาสนา เมื่อจิตเราเป็นอย่างนั้น อันนี้ไม่ใช่คำพูดเฉยๆ แต่จิตมันเป็นอย่างนั้นจริงๆอะไรที่ขึ้นชื่อว่ามันผิด มันบาป ใจของเรามันจะไม่รับ ไม่รับนั้นเรียกว่า  สัพพะปาปัสสะ

ถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะเห็นว่า หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร เราก็จะเข้าใจว่าอะไรคือการเข้าถึงพุทธศาสนา อะไรคือการเข้าถึงธรรมะเมื่อความชั่วทั้งหลายไม่มีในใจเรา โทษทั้งหลายจึงหมดไป เมื่อโทษทั้งหลายหมดไปความเย็นมันก็เกิดขึ้นมา ใจก็สบาย นั่งอยู่ที่ไหนก็สบาย เดินอยู่ที่ไหนก็สบาย เพราะเรารู้ตัวเราอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นตัวสมาธิแล้ว คือมันสงบ เพราะเรารักษาศีลตัวเดียวเท่านั้นแหละ ให้มันก้าวขึ้นไป มันก็จะเป็นสมาธิเอง กุสะลัสสูปสัมปะทา จิตจะเป็นบุญเป็นกุศลเพราะเราละได้ เมื่อจิตเป็นบุญเป็นกุศล จิตนั้นก็สงบ จิตนั้นก็จะระงับ ถ้าจิตสงบระงับแล้วก็เบิกบานเกิดปัญญา มันจะรู้จักละจิตตะปริโยทะปะนัง รู้จักทำจิตของตนให้ผ่องใส อะไรชั่วเราก็ปล่อยไป อะไรผิดเราก็วางไป อะไรๆต่างๆที่เข้ามาก็จะเอามาพิจารณาแล้วก็วางไป ปล่อยไป คล้ายๆกับน้ำในตุ่มนั่นแหละ ถ้าเราเอาขันไปตักออกมาขันหนึ่ง แล้วก็เททิ้ง ตักออกมาขันที่สองแล้วก็เททิ้ง ตักแล้วก็เททิ้งอยู่อย่างนั้น น้ำที่อยู่ในตุ่มมันก็ต้องมีเวลา มีโอกาสที่จะแห้งหมดไปได้ เพราะจิตเข้าไปปฏิบัติอย่างนั้น

ทีนี้ถ้าหากเรายังไม่เห็นอย่างนั้น มันก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มแล้วก็ตักออกไป ตักใส่เข้าในตุ่มหนึ่งขัน แล้วก็ตักออกไปหนึ่งขัน ตักเข้าไปเพิ่มหนึ่งขัน แล้วตักออกไปหนึ่งขัน อย่างนี้เรียกว่าบุญๆ บาปๆ ผิดๆถูกๆ ดีๆ ชั่วๆ เราทุกคนทำอย่างนี้ มันถึงเป็นเรื่องยาก เพราะกรรมอันนี้เอง จึงต้องพูดว่า "ฉันนี้มันเป็นเพราะอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็สบายๆบางทีก็เป็นทุกข์ บางทีก็สุข บางทีก็ไม่สบาย ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร?ทำไมถึงจะไม่รู้ ก็เพราะทำเหตุไว้อย่างนั้น ผลมันจึงออกมาเป็นอย่างนี้บางทีก็ตักออกไปเสีย คือการละบาป บางทีก็ตักเพิ่มเข้ามา คือการทำบาป บางทีก็ละบาปออกไป บางทีก็นำบาปเข้ามา เมื่อนำบาปออกไปมันก็สบาย นำบาปเข้ามามันก็เป็นทุกข์ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ "ฉันไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร บางวันมันก็สบ๊าย สบาย บางครั้งมันก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไร?" ทำไมมันถึงจะไม่รู้ นี่แหละคือคนไม่รู้จักการภาวนา มันก็ไม่มีปัญญา

เพราะเราทั้งหลายทำอยู่อย่างนั้น เหตุมันเป็นอย่างนั้น ผลมันจึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราเป็นคนไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญาเมื่อเห็นผลอันนี้ขึ้นมาแล้ว เราก็พิจารณาไปถึงเหตุว่ามันเกิดมาจากอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ คือเห็นเหตุมันก็เห็นผล เห็นผลแล้วก็เห็นเหตุ เหมือนคนจับไม้ยาวประมาณ ๒ เมตรขึ้นมาวัดดู โดยใช้มือกำมาจากทางปลายไม้กำมาๆเรื่อยๆ ไปจนถึงทางด้านต้นไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นยาวเท่าไร อีกคนหนึ่งมาจับทางต้นไม้ จับกำมาๆจนถึงทางด้านปลายไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นมันสั้นมันยาวเท่ากันนั่นแหละ ต่างกันแต่คนหนึ่งวัดจากต้นไม้ไปหาปลาย อีกคนหนึ่งวัดจากปลายไปหาต้น มันก็ท่อนไม้ท่อนเดียวกันนั่นเอง ความสั้นความยาวมันก็เสมอกันเท่ากันอยู่นั่นแหละอันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเรารู้จักพิจารณาเหตุผล เมื่อเห็นผลมันเกิดขึ้นมาเป็นอย่างนี้ เราก็จะรู้ว่าเพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุมันเป็นอย่างนี้ ผลมันจึงเกิดอย่างนั้น เมื่อเราทำเหตุอย่างนี้ เราก็รู้จักว่าผลมันจะเกิดอย่างไร เราทำเหตุอย่างไร ผลมันก็เกิดอย่างนั้น ผลมันเกิดอย่างไรเหตุมันก็เป็นอย่างนั้นอันนี้เราจะพิสูจน์ด้วย กาลเวลา

ผู้ประพฤติปฏิบัติเมื่อเห็นความรู้แจ้งชัดอย่างนี้ มันก็เบากายสบายใจ รู้แบบที่ว่าเรามองเห็นธรรมะโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมาทนทุกข์ทรมาน เพราะผลมันชัดแจ้ง ถ้าหากเห็นว่ามันสุขเป็นบางครั้งเป็นบางคราว ก็จะรู้ว่าอย่างนี้มันเป็นไปได้ยังไง เป็นเพราะการกระทำของเรา การกระทำของเรานั่นแหละคือกรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็โยนให้คนโน้นคนนี้มันก็ลำบาก ไม่มีใครยอมรับ ถ้าไม่มีใครยอมรับก็โยนให้กรรมเสีย อย่างเช่นเกิดเป็นโรคขึ้นมา ไปรักษาที่โรงพยาบาลก็ไม่หายจะไปเอาอะไรกับหมออีก ยาก็หมดแล้วจะทำอย่างไร เราก็คิดเสียว่าโยนให้กรรมเสีย อันเจ้าของกายก็เป็นของสมมติเท่านั้นเอง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น โยนให้กรรมแล้วมันก็หมดเท่านั้นแหละ มันจะไปตรงไหนล่ะ มันสุดอยู่ตรงนั้น ต้องไปคิดอะไรให้มันมากมาย เรื่องของการปฏิบัติมันจะต้องเป็นดังนี้

สำหรับการปฏิบัติภาวนาของเราทุกวันนี้ คนเรานั้นมันอยากจะรู้ง่าย อยากเห็นง่าย จึงคิดว่ามันปฏิบัติยาก ที่มันปฏิบัติยาก เพราะเราไม่มีการละ ฉะนั้นการสร้างบุญกุศล การประพฤติปฏิบัตินี้ อาตมาเห็นว่า การทำบุญทำกุศลกันนี้ใครๆก็ทำกันได้ และก็ไปทำกันเป็นส่วนมาก แต่ว่าการละบาปนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการทำบุญ แต่คนไม่ค่อยจะเอาใจใส่ ไม่ค่อยจะรู้เรื่องของมัน การละบาป คือการตัดราก การทำบุญ คือการเด็ดยอด เด็ดเอายอดไปใช้ เด็ดเอายอดไปกิน มันก็แตกยอดขึ้นมา แตกใบขึ้นมาอีก แตกขึ้นมาเรื่อยๆตราบใดที่รากมันยังอยู่ มันก็ยังได้กินอาหารอยู่ ยังมีอาหารหล่อเลี้ยงอยู่ ยอดมันก็เจริญเติบโตขึ้นมาอีก ก็เด็ดมันอีก ก็โผล่ขึ้นมาอีกอย่างนั้น ความลำบากทั้งหลายมันมีอยู่นี่ ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ารากมันยังอยู่ คือการกระทำบาปมันยังอยู่ ดังนั้นการละบาป และการบำเพ็ญบุญจึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ท่านกล่าวว่า "การไม่กระทำบาปทั้งปวง" นั่นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนาแล้ว เมื่อเราละบาปแล้วบำเพ็ญบุญเพิ่มเข้ามาทีละน้อย ก็มีหวังที่บารมีจะเต็มได้ถ้าหากว่าทำบุญแต่ไม่หยุดทำบาป อันนี้ก็ไม่มีเวลาจบ เหมือนกะละมังที่ตั้งหงายอยู่กลางแจ้ง ถึงแม้ฝนจะตกลงมาใส่ทีละหยดๆ มันก็มีโอกาสที่จะเต็มได้ เมื่อเราทำบุญแล้ว เรายังไม่ได้ละบาป ก็เหมือนกับเราเอากะละมังไปครอบคว่ำไว้กลางแจ้ง ฝนตกลงมาถูกก้นกะละมังเหมือนกัน แต่ว่ามันถูกข้างนอกไม่ได้ถูกข้างใน เมื่อมันถูกข้างนอกน้ำก็ไม่มีโอกาสที่จะเต็มในกะละมังนั้นได้ อันนี้เรียกว่า "ทำบุญไม่ละบาป"

ดังนั้นการละบาปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อันนี้พระพุทธองค์ท่านก็ตรัสว่า "สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง" การไม่กระทำบาปทั้งปวงนั้นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนา นั่นเป็นเบื้องต้น ต่อไปๆมันก็มีเวลาหมด หมดไปเหมือนกับเราเดินไปทีละก้าวๆ หลายๆก้าวเข้า ระยะทางมันก็สั้นเข้ามาๆ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ คือเดินไปก้าวหนึ่งก็ถอยกลับมาก้าวหนึ่ง เดินไปอีกก้าวหนึ่งแล้วก็ถอยกลับมาอีกก้าวหนึ่ง มันก็จะไปไม่พ้นจากศาลาได้ คือเทียบเอาจากศาลานี้ก็ได้ ถึงแม้เราจะก้าวไปอย่างช้าๆ แต่เราก้าวไปเรื่อยๆ เราก็ยังมีโอกาสที่จะพ้นประตูวัดออกไปได้ มันต่างกันอย่างนี้ ฉะนั้นการละบาปนี้ ท่านบอกว่า ไม่ให้กระทำบาป แล้วก็บำเพ็ญบุญปิดช่องมันเสีย เช่น หม้อมันรั่ว ปิดช่องที่มันรั่ว แล้วจึงเทน้ำใส่ กระทะมันรั่วก็อุดรูรั่วมันเสีย แล้วจึงเทน้ำใส่เรียกว่า ก้นกระทะไม่ดี ก้นหม้อไม่ดี การละบาปของเรายังไม่ดีทำบุญลงไปใส่มันก็รั่ว ก้นกระทะ ก้นกระถางไม่ดี เทน้ำใส่ลงไปมันก็รั่วออกไปหมด จะเทใส่ลงไปทั้งวันมันก็ซึมรั่วออกไปทีละน้อย น้ำก็เหือดแห้งหมดไป ไม่สำเร็จประโยชน์สมความต้องการของเราได้

ดังนั้นหัวใจของพุทธศาสนาคือการกระทำอย่างนี้ คือความเป็นจริงอย่างนี้ คือการละบาปอย่างนี้ คือการบำเพ็ญบุญอย่างนี้ อันนี้มีทางจบที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมสามอย่างนี้คือละบาปกับการบำเพ็ญบุญ การสมาทานศีลนี้ ก็คือการละบาปนั่นเองไม่ใช่อื่นไกลพวกเราทั้งหลายชาววัดหนองป่าพง จะรู้ถึงความจริงแล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้ ศีลและอำนาจของศีล สีเลนะ สุคะติง ยันติ,  สีเลนะ  โภคะสัมปะทา,  สีเลนะ... แปลว่าโดยปกติ โดยปกติกาย ปกติวาจาปกติใจ ไม่ฝ่าฝืนอะไรต่างๆ เป็นศีลที่ปกติ เป็นศีลเดิม เป็นของเดิมเป็นของเก่า เป็นคำเก่า เป็นของที่ยังสะอาด เป็นของที่ไม่เศร้าหมองเป็นของที่ยังไม่สกปรก เรียกว่า "ปกติ" ของใหม่ๆมันก็ปกติ คือว่ามันยังไม่เก่า ไม่เสื่อม ไม่ผิด อันนี้ท่านเรียกว่าปกติ ปกติของเดิมของเก่า อย่างน้ำที่ใสสะอาดนี้ เดิมเป็นของปกติ แต่เมื่อนำเอาสีแดงสีเหลืองมาใส่มันก็ผิดปกติ คือความสะอาดกาย สะอาดใจ สะอาดวาจา สะอาดตา เป็นของที่สะอาดอยู่เป็นปกติ ดังนั้นศีลนั้นเป็นปกติคือศีลเดิม อย่างที่เรียกว่าจิตเดิม จิตที่ไม่มีอะไร จิตไม่เป็นอะไร จิตเป็นปกติ คือจิตมันว่างๆอยู่อย่างนั้น

เรื่องการรักษาศีลนี้ บางคนก็บ่นว่า จะให้ทานกันสักทีก็หาพระที่จะไปให้ศีลก็ไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บางทีให้ทานแล้ว ไปหาน้ำที่จะมากรวดอุทิศให้ก็ไม่มี เลยโง่อยู่ตลอดเวลา เลยโง่เรื่องศีล โง่เรื่องทาน โง่จนตาก็บอด หูก็หนวก ขาก็เป๋ทั้งหมด เสียหมดเลย ศีลนี้เป็น "สัมปัตตวิรัติ" อย่างนี้เป็นศีลให้เรารู้จักมัน ที่เราทำกันมาเป็นปีๆ เป็น "สมาทานวิรัติ" ต้องให้พระบอกความจริง คนที่ให้คนอื่นบอกนั้นคือคนไม่รู้จัก ฉันไม่รู้ว่าศีลนั้นน่ะเป็นอย่างไร? พวกดิฉันทั้งหลายนี่ พวกกระผมทั้งหลายนี่จึงได้กล่าวขอขึ้นว่า มะยัง ภันเตติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ...ฯลฯ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ยังไม่รู้จักอันนี้เลยเป็นข้อวัตรของพระภิกษุ เมื่อบวชเข้ามาและจะต้องกระทำต่อๆไป ความเป็นจริงนั้นเป็นสัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยตนเอง เมื่อเรารู้แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่าศีลนั้นมันเป็นอย่างนั้นๆ เมื่อเราต้องการศีลเมื่อไรเราก็มีอยู่แล้ว งดเว้นด้วยตนเองก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบอก นี่คือสัมปัตตวิรัติ

อย่างเรามาทำกันวันนี้เรียกว่าเป็น "สมาทานวิรัติ" คือเรายังไม่รู้จัก จึงต้องให้พระบอก บอกขนาดนั้นก็ยังไม่รู้จักนะ ต้องบอกเป็นภาษามคธด้วยนะก็ยังไม่รู้จักอีก บอกแล้วก็ยังไม่รู้จัก นี่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" ไม่ต้องสมาทานกับใครไม่ต้องขอกับใคร เพราะมันเป็นของมันเองแล้ว คือมันเป็นของที่ขาวสะอาดแล้ว ไม่ต้องทำสะอาดอีก จะไปทำสะอาดที่ไหนอีกล่ะ ก็เพราะตรงนั้นมันสะอาดแล้วไม่ต้องไปทำสะอาดอีก คือหมายความว่าจิตของพระอริยบุคคล ศีลของพระอริยเจ้าไม่ต้องไปรับไม่ต้องไปส่ง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องขัดอะไรอีก เพราะมันสะอาดอยู่แล้ว เป็นสมุจเฉทคือตัดไปเลย ขึ้นชื่อว่าการกระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงแล้วเราไม่ทำเลยดังนั้นท่านจึงไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำบาป เรื่องกระทำบาปเมื่อไรก็ไม่เป็นบาป อย่างเช่นท่านเดินไป บังเอิญไปเหยียบสัตว์ตาย เหยียบปูตาย เหยียบมดตาย อย่างนี้ตัวท่านก็ไม่เป็นบาป เพราะเจตนาที่จะกระทำบาปนั้นไม่มี มันเป็นไปอย่างนี้ อันนั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติ ตัดไปเลย ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว รักษาจิตอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องดูอื่นไกลแล้ว สมมติว่าเกิดมีอะไรขึ้นมาก็มีผู้รับผู้รู้ ใครเป็นคนที่รับรู้?คนที่เป็นผู้รับรู้นั้นเราเรียกว่า "จิต" ของเรา

ความเป็นจริงแล้ว จิตของปุถุชนเรานี้ ก็เป็นจิตที่มีการกำหนดรู้ตัวของตัวเองเหมือนกัน แต่ยังเป็นจิตที่ยังไม่ได้อบรม เป็นจิตที่ยังไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ยังต้องอบรม ต้องประพฤติปฏิบัติอีก

ฉะนั้นการภาวนาท่านจึงสอนให้กำหนดพุทโธๆ เพื่อให้เกิดพุทโธ ให้เกิดความรู้ชั้นที่สองขึ้นมาชัดเจนขึ้นไปอีก เมื่อเจ้าของจิตเอาความรู้จากพระบรมครู คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้แจ้ง รู้แล้วก็ตื่น รู้แล้วก็เบิกบาน ความรู้อันนี้มันจะเกิดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งเหนือกว่าจิตของเรา ความรู้อันนี้ที่มาจากการกำหนดพุทโธๆนี้ ตัวนี้แหละจะเป็นความรู้แจ้ง รู้เลิศ รู้ประเสริฐ ที่จะแนะนำพร่ำสอนจิตของเรา ซึ่งยังเป็นผู้รู้ที่ยังไม่ได้อบรมนั้น คือเรารู้อย่างไรก็เป็นไปตามอย่างนั้น ตามภาษาบ้านนอกเราเรียกว่า เป็นไปตามอารมณ์ ยายของฉันชอบตามอารมณ์ สามีของฉันชอบตามอารมณ์ ภรรยาของฉันชอบตามอารมณ์ เป็นผู้รู้อยู่แต่ก็ยังหลงอยู่ ผู้รู้คนนี้เรียกว่าผู้รู้ยังไม่ได้อบรม ผู้รู้ยังไม่ได้ฝึก รู้ตัวนี้จะเอาเป็นประมาณไม่ได้

ฉะนั้นจึงนำคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมาภาวนา คือสมมติ"พุทโธ" ๆ ให้มันรู้ขึ้นไปกว่านี้ รู้ให้มันเหนือ เหนือความรู้สึกอันเดิมนี้เหนือรู้ในจิตอันเดิมนี้ขึ้นไปอีก จนมีอำนาจสูงกว่า สูงกว่าจิตเดิมของเรานี้ จึงจะเป็นเหตุที่ทำให้รู้จิตอันนี้ สั่งสอนจิตอันนี้ ผู้รู้อันเก่านี้ได้อบรมตามที่ท่านสั่งสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงตามดูจิตของตน ใครตามดูจิตของตน คนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร ก็ใครล่ะ จะไปตามดูจิตของตนน่ะ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" ผู้รู้ผู้ตื่นฉะนั้นเรื่องการฟังธรรมะมันก็ยุ่งยาก ผู้เบิกบาน นี่แหละเป็นผู้ตามดูจิต รู้คนเก่านั้น มันเป็นการรับรู้เฉยๆ รู้ไม่ตื่น รู้ไม่แจ้ง และก็ไม่เบิกบาน ดังนั้นเราจึงน้อมเอาคำสอนนำ เอาพระนามของพระพุทธเจ้านี้มากำหนด เป็นอารมณ์ เรียกว่า"พุทโธ" ๆ นี่มันเป็นไปอย่างนี้

สับสน สำหรับพวกเราที่ยังไม่รู้จักตามความเป็นจริง ถ้ารู้จักตามความเป็นจริงแล้ว เราจะนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นไหนก็ได้ฟังธรรมะ ก็เพราะธรรมะนั้นมันอยู่ในใจของเรานี่ เราเก็บความรู้เช่นนี้ พระพุทธเจ้าก็อยู่ในตัวของเราแล้ว เป็นหลักธรรมที่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจของท่าน พระธรรมอยู่ที่ใจของท่านพระสงฆ์อยู่ที่ใจของท่าน ถ้าเป็นดังนั้นก็เรียกว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว คนคนนั้นเมื่อถึงกาลดับสลายวายชนม์ไปแล้ว ก็จะไม่ตกนรก ยืนยันได้ทีเดียวว่าไม่ตกนรก ทำไมจึงไม่ตกนรก? เพราะในเมื่อปัจจุบันนี้ยังไม่ทำให้มันตกนรกแล้ว ใครจะไปตกนรกที่ไหนเมื่อไรอีกล่ะ ในเมื่อปัจจุบันนี้เรายังทำผิดไม่ได้ ทำไมมันจะผิดได้อีกล่ะ ที่ตกนรกก็เพราะไปทำความผิด สัตว์ตกนรกก็คือคนเป็นทุกข์ คนผู้ทำผิดนั้นคือสัตว์นรก นี่เราเห็นกันง่ายๆอย่างนี้ เห็นในปัจจุบันแล้วมันก็เห็นอนาคตด้วย นี่เรียกว่าเหตุมันมีอยู่ตรงนี้ 

ที่มา : http://www.ajahnchah.org


วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

โลกนี้ คือสิ่งที่เป็นมายา

โลกนี้ คือสิ่งที่เป็นมายา

โลกนี้คือสิ่งที่เป็นมายา คือมันจะพ้องกับความเปลี่ยนแปลง แต่ว่ามันต่างออกไปอีกแง่หนึ่งเป็นมายา, เอาคําสอนของพระพุทธเจ้ามาพูดกันดีกว่า ว่า “เมื่อคนเห็นโลกอยู่ว่าเป็นเหมือนกับฟองน้ำ เหมือนกับพยับแดดแล้ว ความตายก็จะไม่มองเห็นคนนั้น” นี่สอนให้มองโลกนีัว่าเหมือนกับฟองน้ำหรือพยับแดด, ฟองน้ำนี้เกิดจากการกระทบกระเทือนที่ผิวน้ำ เกิดเป็นฟองขึ้นมา ในนั้นกลวงไม่มีอะไร เดี๋ยวก็แตกดับไป นี้เรียกว่าฟองน้ำ, ให้ดูโลกในลักษณะที่มันเป็นอย่างนี้, พยับแดดนั้นคือเมื่อแดดมันมีอากาศวิปริต กระทั่งตาเราก็ทนความร้อนไม่ได้ จนกระทั่งเห็นภาพต่างๆ ขึ้นในพยับแดด เป็นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงมิได้มี

ถ้ามองเห็นโลกว่าที่เห็นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้นั้น นี่เพราะว่ามันมีความหลอกลวงเป็นมายา, ที่จริงมันเป็นของอย่างที่ว่ามาแล้ว เช่น ไม่เที่ยงเป็นต้น. “ ยถา  ปพฺพุฬกํ  ปสฺเส , ยถา  ปสฺเส  มรีจิกํ ”, - เมื่อมองเห็นโลกอยู่อย่างนี้ “ เอวํ  โลก  อเวกฺขนฺตํ  มจฺจุราชา  น  ปสฺสติ ” - ความตายจะไม่เห็นท่าน ความตายจะไม่ครอบงําท่าน. คือเมื่อมองว่ามันเป็นมายา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แล้ว มันไม่รู้ว่าใครจะตาย ไม่มีใครจะตาย ; นี้เรียกว่าความตายจะจับตัวท่านไม่ได้ เพราะมองไม่เห็นท่าน ; นี้เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้า

นี่ มองดูเถอะทั้งโลกวัตถุ โลกมนุษย์ โลกสัตว์ แม้ก้อนหินนี้ก็มีความเป็นมายา แต่ยากที่จะมองเห็นว่าเป็นมายา, เพราะไปจับเข้าที่ไรก็เป็นก้อนหินแข็งเสียทุกที ไม่เหมือนฟองน้ำหรือพยับแดด. แต่ถ้ามองด้วยสติปัญญาที่สูงแล้ว ก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง : ทีแรกไม่มี แล้วก็มามีอยู่ แล้วก็จะหายไปในที่สุด อย่าว่าแต่ก้อนหินนี้เลย โลกทั้งโลกนี้มันก็มาจากไม่เคยมี มันก็มีขึ้นมา แล้วมันเปลี่ยนไป แล้วมันก็จักหายไป ไม่เหลือ , เพียงแต่เวลามันนาน เราไม่ทันอยู่เห็น เราไม่มีอายุยืนยาวพอจะอยู่เห็น

ถ้าสมมุติว่าเรามีอายุยืนกว่าโลกนี้สักหลายร้อยเท่าหลายพันเท่า เช่นว่า โลกมีอายุอยู่หลายแสนปีเราก็มีอายุอยู่หลายอสงไขยปี แล้วได้อยู่ดูเห็นโลกนี้แตกดับ - แตกดับ - แตกดับ - แตกดับ หลายๆ หน ; นั่นแหละเราจะเห็นได้ง่ายทันทีว่า โลกนี้เป็นมายา เหมือนฟองน้ำเหมือนพยับแดดด้วยเหมือนกัน ลองคํานึงสมมุติเอาซิว่า เรามีอายุยืนกว่าโลกหลายร้อยเท่า แล้วมองเห็นโลกนี้เกิดดับๆๆ ทั้งหลายหนก็จะเห็นก้อนหินนี้ว่าเป็นมายาได้ง่ายขึ้นเหมือนกัน. นี้เรียกว่า “โลกคือสิ่งซึ่งเป็นมายา หรือความเป็นมายานั่นแหละคือโลก”.

พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยายชุดสันทัสเสตัพพธรรม อันดับที่ ๕ หัวข้อเรื่อง “โลกในทรรศนะของพุทธบริษัทคืออะไร?” เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “สันทัสเสตัพพธรรม” หน้า ๑๕๘-๑๕๙

สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ที่มาเกี่ยวข้องกับเรา ไม่มีอะไร ที่ไม่มีการเกิด-การดับ ในบรรดาสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ ย่อมเป็นความทุกข์อย่างเดียว

“ความเป็นจริงมีอยู่ข้อหนึ่ง ซึ่งถือกันเป็นหลักว่า บรรดาสิ่งทั้งหลายที่มีการเกิดการดับได้นั้น มีแต่ “ความทุกข์” อย่างเดียวเท่านั้น หามีความสุขไม่, แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ ในบรรดาสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับคนเรานั้น ไม่มีอะไรนอกไปกว่าสิ่งที่มีการเกิดๆ ดับๆ อยู่เสมอ แต่คนที่ไม่รู้หรือเป็นคนเขลา คนหลง ก็ยังมัวแสวงหาความสุขในสิ่งที่มีการเกิดๆ ดับๆ อยู่นั่นเอง.  มีพระบาลี(พระไตรปิฎก)ในสังยุตตนิกายว่า  

"ทุกฺขเมว  หิ  สมฺโภติ - ทุกข์อย่างเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้น"    "ทุกฺขํ  ติฏฺฐติ  เวติ  จ  -  ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่และดับไปหรือเปลี่ยนไป"   "นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  สมฺโภติ – นอกจากความทุกข์แล้ว หาได้มีอะไรเกิดขึ้นไม่"  "นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  นิรุชฺฌติ – นอกจากความทุกข์แล้ว หาได้มีอะไรดับไปไม่"

หลักข้อนี้เป็นเครื่องยืนยันตรงๆ ว่า ให้คนทั้งหลายได้พินิจพิจารณาดูให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า ในบรรดาสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ อยู่ในโลกนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีแต่ความทุกข์อย่างเดียว ไม่มีความสุข. เขาจะต้องพิจารณาให้เห็นชัดเจนว่า “ไม่มีอะไรที่ไม่มีการเกิดการดับ” ในบรรดาสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับเรา; และในบรรดาสิ่งที่เกิด ๆ ดับๆ อยู่นั้น มันเป็นความทุกข์อยู่ในตัวความเกิดและความดับนั้นเองแล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความสุขอันใดที่จะเกิดหรือดับ มีแต่ความทุกข์ แต่ที่เราไปสมมติเอาว่าเป็นสุขนั้น ก็เพราะเอาโมหะหรือความหลงเข้ามาช่วย คือหลงสําคัญผิดเป็นความสุขไปเอง

สมมติว่า สุขเวทนาที่เกิดมาจากกามารมณ์ นี้เป็นตัวอย่าง ที่ใครๆก็เรียกกันว่า “เป็นความสุข” เพราะให้เกิดสุขเวทนาในขณะนั้น ; แต่โดยหลักธรรมะที่แสดงอยู่ว่า สิ่งที่เรียกว่าเวทนานั้นย่อมเป็นเพียงสังขารชนิดหนึ่ง คือมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แล้วก็ต้องเกิดๆ ดับๆ, ความที่ต้องดับนั้นต้องทําให้เกิดทุกข์แก่บุคคลผู้ยึดถือว่าเป็นของตน และอยากให้อยู่คงทนถาวร, หรือว่าอาการที่มันเกิดๆ ดับๆ นั้น มันย่อมทรมานจิตใจคนที่ยึดถือว่าเป็นของตน, หรือว่าอาการที่เกิดๆ ดับๆ นั้นย่อมแสดงความว่างจากสาระ ที่จะไปจับฉวยเอาเป็นจริงเป็นจังได้ เพราะมีแต่การเกิดๆ ดับๆ

สิ่งที่เรียกว่า “สุขเวทนา” กําลังหลงใหลมัวเมากันว่าเป็นความสุขสนุกสนาน เอร็ดอร่อย เพลิดเพลินนั้น ที่แท้ก็คือการเกิดการดับที่ถี่ยิบของสังขาร : หมายความว่า เวทนานั้นย่อมเกิดขึ้นมาจากผัสสะ ซึ่งเป็นการกระทบ มีการ เกิด-ดับ, เกิด-ดับ, เกิด-ดับ อยู่ทุกขณะที่ความคิดหรือความรู้สึกนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ความรู้สึกเป็นสุขหรือสนุกสนานนั้น มันต้องเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่ว่ามันจะนิ่งวแน่ตายตัวลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหยุดอยู่ ความสนุกสนานที่เดินไปเป็นเรื่องเป็นราวอย่างนั้นอย่างนี้นั้น คืออาการของการเกิด-ดับของสังขาร คือที่ปรุงเป็นความรู้สึกคิดนึกขึ้นมาได้ มองดูในลักษณะเช่นนี้ก็จะเห็นได้ว่า “เป็นมายา” ชนิดหนึ่ง เหมือนกับพยับแดด ซึ่งหลอกให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เข้าไปใกล้ก็ไม่มีอะไร ความรู้สึกที่เป็นสุขเวทนารู้สึกอยู่ในใจก็เป็นอย่างนั้น ถ้าโมหะครอบงำก็จะเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน แต่พอสติปัญญาหรือความจริงเข้ามาเท่านั้น ก็ไม่มีตัวไม่มีตน กลายเป็นของที่เป็นเพียงมายา ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเที่ยงแท้ถาวร จึงให้เกิดความทุกข์แก่บุคคล ที่เข้าไปยึดถือว่า..สุขเวทนานี้ของเรา”

พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยายชุดมาฆบูชาเทศนา หัวข้อเรื่อง “อันธตมมุยหกถา ความมืดสูงสุด คือความมืดของผู้ไม่เห็นธรรม” บรรยายเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “มาฆบูชาเทศนา” หน้า ๗๗-๗๘


ต้องตั้งจิตไว้ให้เป็น“อิสระจากความทุกข์” ที่มีอยู่ตามกฎของธรรมชาติ

ต้องตั้งจิตไว้ให้เป็น“อิสระจากความทุกข์” ที่มีอยู่ตามกฎของธรรมชาติ 

อะไรที่ทำให้มนุษย์มีความทุกข์ ค้นไปค้นมา ในที่สุดสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความทุกข์ก็คือ ความเป็นไปของกฎธรรมชาตินี่เอง ในที่สุดแล้ว มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของ “กฎธรรมชาติ” การที่เรามีความเป็นไปอะไรต่างๆเหล่านี้ ก็เพราะกฎธรรมชาติ คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

ดูง่ายๆ ความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยงนี้ เป็นไปในทุกสิ่งทุกอย่างตลอดทุกเวลา มันครอบคลุมและครอบงำทั้งชีวิตของเราและสิ่งทั้งหลายที่เราเกี่ยวข้อง รวมทั้งโลกที่เราอยู่นี้ทั้งหมด ไม่เว้นเลย

เมื่อสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป เราก็พลอยได้รับผล ถูกกระทบกระทั่งบีบคั้น ได้อย่างใจบ้าง ไม่ได้บ้าง ปรารถนาสมหวังบ้าง ไม่สมหวังบ้าง ที่อยากให้คงอยู่ก็หายสิ้นบ้าง ที่ไม่ชอบใจก็ต้องเจอบ้าง เราก็เกิดความทุกข์ เพราะเจ้าตัวกฎธรรมชาตินี่แหละ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปต่างๆ ที่บีบคั้นเรา

แต่ที่จริง การที่ความเป็นไปต่างๆ นั้นบีบคั้นเรา ก็เพราะว่า เราไปวางท่าทีต่อมันผิด แล้วก็ไม่รู้เท่าทันมัน กับทั้งจะเอาแต่ที่ใจอยากและชอบ แต่รับกระทบ สิ่งที่เป็นไปดีๆมากมายก็ไม่เอา ไปคอยรับแต่ที่ขัดใจ และในที่สุดว่ากันตามจริงแท้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามธรรมดาของมันนั้นแหละ ใจของเราตั้งรับผิดเองหรือเปล่า?

ในขั้นสุดท้ายก็คือ ทำอย่างไรจะไม่ให้กฎธรรมชาติมาครอบงำมีอิทธิพลต่อสุขทุกข์ของเรา อันนี้แหละ เป็นวิธีขั้นสุดท้าย คือถึงขั้น “อิสรภาพจากกฎธรรมชาติ” เลยทีเดียว อิสรภาพนี้ถือว่าสูงสุด หมายถึงการมีปัญญารู้ทันความจริงของสิ่งทั้งหลาย รู้เท่าทันเป็นกันเองได้แม้แต่กับ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกระแสเหตุปัจจัยของมัน ความรู้อันนี้แหละ จะทำให้เราถอนตัวออกมาเป็นอิสระได้ จนกระทั่งว่า ความเปลี่ยนแปลงและความทุกข์ที่มีอยู่เป็นของธรรมชาติ ก็ปล่อยให้ธรรมชาติเป็นทุกข์ของมันไป ไม่ใช่เที่ยวเก็บเอาทุกข์มาใส่ตัว

ธรรมชาติ น่ะ! เป็นทุกข์อยู่ตามธรรมดา คือ มันเปลี่ยนแปลงไป คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ธรรมชาติเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ของมันไป ไม่มีใครไปห้ามได้ แต่เราไม่ต้องไปทุกข์ด้วย อันนี้แหละ คือความสำเร็จของการพัฒนามนุษย์ มนุษย์จะไม่ต้องขึ้นต่อธรรมชาติ ก็ตรงนี้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )

ที่มา : จากธรรมนิพนธ์ เรื่อง “พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน”


สาลิตฺตกชาตกํ - ว่าด้วยคนมีศิลปะ

สาลิตฺตกชาตกํ - ว่าด้วยคนมีศิลปะ

"สาธุ  โข  สิปฺปกํ  นาม,        อปิ  ยาทิส  กีทิสํ;

ปสฺส  ขญฺชปฺปหาเรน,          ลทฺธา  คามา  จตุทฺทิสาติ ฯ

ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ขอเชิญพระองค์ ทรงทอดพระเนตร บุรุษเปลี้ยได้บ้านส่วยทั้ง ๔ ทิศ ก็เพราะการดีดมูลแพะ."

สาลิตตกชาดกอรรถกถา (วิชาดีดก้อนกรวด)

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  สาธุ  โข  สิปฺปกํ  นาม  ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่งถึงความสำเร็จในสาลิตตกศิลป์ ที่เรียกว่า สาสิตตกศิลป์ได้แก่ ศิลปะในการดีดก้อนกรวด วันหนึ่งเขาฟังธรรมแล้วบวชถวายชีวิตในพระศาสนาได้อุปสมบทแล้ว แต่มิได้เป็นผู้มุ่งการศึกษา มิได้เป็นผู้ยังการปฏิบัติให้สำเร็จ

วันหนึ่งเธอชวนภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ไปสู่แม่น้ำอจิรวดี อาบน้ำแล้วพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ ครั้งนั้น หงส์ขาว ๒ ตัวพากันบินมาทางอากาศ เธอจงกล่าวกะภิกษุหนุ่มนั้นว่า „ผมจะเอาก้อนกรวดประหารหงส์ตัวหลังนี้ที่นัยน์ตา ให้ตกลงมาแทบเท้าของท่าน“    อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า „ท่านจะทำให้มันตกได้อย่างไร, ท่านไม่อาจประหารมันได้ดอก“

เธอกล่าวว่า „เรื่องนั้นยกไว้ก่อนเถิด เราจักประหารมันที่นัยน์ตาข้างโน้น ให้ทะลุถึงตาข้างนี้" ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวแย้งว่า „คราวนี้ท่านพูดไม่จริงละ !“ เธอบอกว่า „ถ้าอย่างนั้น คุณคอยดู“ แล้วหยิบเอาก้อนกรวดคม ๆ ได้ก้อนหนึ่ง คลึงด้วยนิ้วชี้แล้วดีดไปข้างหลังของหงส์นั้น,   ก้อนกรวดนั้น ส่งเสียงหึ่ง ๆ หงส์คิดว่า น่าจะมีอันตราย เหลียวกลับมาหมายจะฟังเสียงภิกษุนอกนี้ ก็ถือก้อนกรวดก้อนหนึ่งไว้ในขณะนั้น เมื่อมันยังเหลียวดูอยู่ ก็ดีดไปกระทบนัยน์ตาอีกข้างหนึ่งก้อนกรวดเจาะทะลุถึงนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง หงส์ร้องดังสนั่นตกลงมาที่ใกล้เท้าทันที.    พวกภิกษุมาจากที่นั้น ๆ พากันติเตียนกล่าวว่า „คุณทำไม่สมควรเลย“ แล้วนำเธอไปสำนักพระศาสดากราบทูลเรื่องนั้นว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระทำกรรมชื่อนี้"

พระศาสดาทรงตำหนิภิกษุนั้น ตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้ฉลาดในศิลปะนั้น แม้ครั้งก่อนก็ได้เป็นผู้ฉลาดแล้วเหมือนกัน“ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-     ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี    พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของพระองค์ ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชาเป็นคนปากกล้ายิ่งนัก ชอบพูดมาก เมื่อตั้งต้นพูดแล้ว คนอื่น ๆ จะไม่มีโอกาสได้พูดเลยทีเดียว.    ฝ่ายพระราชาก็ทรงพระดำริว่า „เมื่อไรเล่าหนอ เราถึงจักได้ใครช่วยสะกัดถ้อยคำของเขาเสียได้“ ตั้งแต่นั้นท้าวเธอก็ทรงใคร่ครวญหาคนอย่างนี้สักคนหนึ่ง

ครั้งนั้น ในเมืองพาราณสีมีบุรุษง่อยคนหนึ่ง ถึงความสำเร็จในศิลปะคือ การดีดก้อนกรวด พวกเด็กชาวบ้านยกเขาขึ้นสู่รถช่วยกันลากมาไว้ที่ต้นไทรใหญ่สมบูรณ์ด้วยคาคบต้นหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ใกล้ประตูพระนครพาราณสีพากันห้อมล้อม ให้เงินมีกากณึกเป็นต้น ร้องบอกว่า „จงทำรูปช้าง จงทำรูปม้า“ เขาก็ดีดก้อนกรวดแสดงรูปต่าง ๆ ที่ใบไทรทั้งหลาย, ในใบไทรทั้งมวลล้วนเป็นช่องน้อย ช่องใหญ่ไปทั้งนั้น.

ครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จพระดำเนินไปสู่พระอุทยาน เสด็จถึงตรงนั้น พวกเด็กทั้งหมดพากันหนี เพราะกลัวจะถูกขับไล่ บุรุษง่อยนอนอยู่ในที่นั้นเอง.    พระราชาเสด็จถึงโคนต้นไทร ประทับนั่งในราชรถนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นเงาต่าง ๆเพราะใบไม้ทั้งหลายขาดเป็นช่อง ก็ทรงจ้องดู ครั้นเห็นใบไม้ทั้งปวงปรุโปร่งไปหมดก็ตรัสถามว่า „ใบไม้เหล่านี้ใครทำให้เป็นอย่างนี้ ?" ราชบุรุษกราบทูลว่า „ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษเปลี้ย กระทำพระเจ้าข้า“

พระราชทรงพระดำริว่า „อาศัยคนผู้นี้เราอาจสะกัดคำของพราหมณ์ได้, จึงมีพระดำรัสถามว่า „พนาย เจ้าง่อยอยู่ไหนละ ?“ ราชบุรุษเที่ยวค้น ก็พบเขานอนอยู่ที่โคนไม้ ก็พากันนำตัวมากราบทูลว่า „นี่พระเจ้าข้า“ พระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้าแล้วทรงขับบริษัทไปเสีย.    ตรัสถามว่า „ในสำนักของเรามีพราหมณ์ปากกล้าอยู่คนหนึ่ง เจ้าจักอาจทำให้เขาหมดเสียงได้ไหม ?“ บุรุษง่อยกราบทูลว่า „เมื่อได้ขี้แพะประมาณทะนานหนึ่ง ข้าพระองค์ก็อาจจะกระทำได้พระเจ้าข้า“

พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษพาบุรุษง่อยเข้าไปสู่พระราชวัง ให้นั่งอยู่ภายในม่านเจาะช่องที่ม่าน รับสั่งให้จัดที่นั่งของพราหมณ์ตรงช่องแล้วให้วางขี้แพะแห้งประมาณหนึ่งทะนานไว้ใกล้ ๆ บุรุษง่อย เวลาพราหมณ์มาเฝ้า รับสั่งให้นั่งเหนืออาสนะนั้น พลางทรงตั้งเรื่องสนทนาขึ้น.   พราหมณ์ไม่ยอมให้โอกาสแก่คนอื่น ๆ เริ่มกราบทูลแก่พระราชาครั้งนั้น บุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะไปทีละก้อน ๆ ทางช่องม่าน กะให้ตกลงที่พื้นเพดานปากของพราหมณ์นั้นทุกที เหมือนกับโยนใส่กระเช้าฉะนั้น.   

พราหมณ์ก็กลืนขี้แพะที่ดีดมาแล้ว ๆ เหมือนกรอกน้ำมันใส่ทะนาน. ขี้แพะถึงความสิ้นไปหมดทั้งทะนาน ขี้แพะประมาณทะนานหนึ่งนั้น เข้าท้องของพราหมณ์ไปได้ประมาณกึ่งอาฬหกะ.    พระราชาทรงทราบความที่ขี้แพะหมดสิ้นแล้วจึงตรัสว่า „ท่านอาจารย์ท่านกลืนขี้แพะเข้าไปตั้งทะนาน เพราะเป็นคนปากมากท่านยังไม่รู้อะไรเลย, บัดนี้ท่านจักไม่สามารถให้ขี้แพะมากกว่า นี้ย่อยได้, ไปเถิด จงดื่มน้ำประยงค์ ถ่ายทิ้ง ทำตนให้ปราศจากโรคเถิด“    

จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ เหมือนมีปากถูกปิดสนิท แม้ใครจะพูดก็ไม่ค่อยจะพูดด้วยพระราชาทรงพระดำริว่า „บุรุษนี้ทำความสบายหูให้แก่เรา“ พระราชทานบ้าน ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔ มีส่วยขึ้นประมาณแสนกษาปณ์

พระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า „ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาศิลปะในโลก บัณฑิตทั้งหลายพึงเรียน แม้เพียงดีดก้อนกรวด ก็ยังช่วยให้บุรุษง่อยได้สมบัตินี้“ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-   

„ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญพระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อยได้บ้านส่วย ทั้ง ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดมูลแพะ.“

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ปสฺส  ขญฺชปฺปหาเรน  ความว่า พระโพธิสัตว์กล่าวสรรเสริญคุณของศิลปะว่า „ข้าแต่มหาราชเจ้าขอเชิญทรงทอดพระเนตรเถิด บุรุษง่อยผู้นี้ได้รับพระราชทานบ้าน ๔ หลัง ใน ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดขี้แพะ อะไรเป็นข้อขีดคั่นอานิสงส์แห่งศิลปะอื่น ๆเล่า ?“

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสประชุมชาดกว่า บุรุษง่อยในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุนี้ พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคตฉะนี้แล. 

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali



อุทญฺจนีชาตกํ - ว่าด้วยหญิงโจร

อุทญฺจนีชาตกํ - ว่าด้วยหญิงโจร

"สุขํ  วต  มํ  ชีวนฺตํ,          ปจมานา อุทญฺจนี;

โจรี  ชายปฺปวาเทน,        เตลํ  โลณญฺจ  ยาจตีติ ฯ

หญิงโจรผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียดเบียนฉัน ผู้เคยมีชีวิตอยู่เป็นสุข จะขอน้ำมัน หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวานฐานเป็นภรรยา."

อุทัญจนีชาดกอรรถกถา

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภการเล้าโลมของถุลกุมาริกา (หญิงสาวเจ้าเนื้อ) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  สุขํ  วต  มํ  ชีวนฺตํ  ดังนี้.

เนื้อเรื่อง จักแจ่มแจ้งในจูฬนารทกัสสปชาดก เตรสนิบาต นั่นแล ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า „ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ?“ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า "จริงพระเจ้าข้า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า", ตรัสถามต่อไปว่า „จิตของเธอปฏิพัทธ์ในอะไรเล่า ? "เธอกราบทูลว่า „ในหญิงสาวเจ้าเนื้อนางหนึ่ง พระเจ้าข้า.“

ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า „ดูก่อนภิกษุ นางนี้ เคยทำความฉิบหายให้เธอ, แม้ในกาลก่อนเธออาศัยนางนี่ ถึงความเสื่อมจากศีล เที่ยวซบเซาไป ต่ออาศัยบัณฑิตจึงได้ความสุข“ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-    เมื่อเรื่องในอดีต ตั้งแต่คำว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสีเป็นต้นก็จักแจ่มแจ้ง ในจูพนารทกัสสปชาดกเหมือนกัน

ก็ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือผลาผลมาในเวลาเย็น เปิดประตูบรรณศาลาเข้าไปได้พูดคำนี้กะดาบสน้อยผู้บุตรว่า „พ่อเอ๋ย ในวันอื่น ๆ เจ้าหักฟืน ตักน้ำดื่มไว้ ก่อไฟไว้ แต่วันนี้ไม่ทำแม้สักอย่างเดียวเหตุไรเล่า? เจ้าจึงมีหน้าเศร้า นั่งซบเซาอยู่.“    ดาบสน้อย ตอบว่า „ข้าแต่พ่อ เมื่อท่านพ่อไปหาผลาผล หญิงคนหนึ่ง มาเล้าโล้มกระผมชวนให้ไปด้วยแต่กระผมผัดไว้ว่า „ต่อท่านพ่ออนุญาตแล้วจึงจักไป“ จึงยังไม่ได้ไป, กระผมให้นางนั่งรออยู่ที่ตรงโน้นแล้วกลับมา คราวนี้กระผมจักไปละครับท่านพ่อ.“

พระโพธิสัตว์ทราบว่า „เราไม่อาจเหนี่ยวรั้งเขาไว้ได้ " จึงอนุญาต โดยสั่งว่า „ถ้าเช่นนั้นจงไปเถิดพ่อ แต่เขาพาเจ้าไปแล้ว เมื่อใด นางอยากกินปลา กินเนื้อ หรือมีความต้องการเนย เกลือและข้าวสารเป็นต้น, เมื่อนั้น นางจักเคี่ยวเข็ญเจ้าว่า จงไปหาสิ่งนี้ ๆ มาให้, ตอนนั้น เจ้าจงนึกถึงคุณของพ่อแล้วพึงหนีมาที่นี่เถิด.“   ดาบสได้ไปถิ่นมนุษย์กับนาง ครั้งนั้น นางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจของตนต้องการสิ่งใด ๆ ก็ใช้ให้ไปหาสิ่งนั้น ๆมา เช่นสั่งว่า „จงไปหาเนื้อมา จงไปหาปลามา"    คราวนั้น เขาก็ได้คิดว่า „นางนี่เคี่ยวเข็ญ ให้เราทำอย่างกับเป็นทาสกรรมกรของตน“ แล้วหนีมาสู่สำนักของบิดา ไหว้บิดาแล้ว ทั้ง ๆที่ยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวคาถานี้ว่า :-

„หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อนำ เบียดเบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวานฐานภรรยา.“

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  สุขํ  วต  มํ  ชีวนฺตํ  ความว่า ท่านพ่อขอรับ หญิงนั้น ทำผมผู้เคยเป็นอยู่สบายในสำนักของท่านพ่อ ให้เดือดร้อน.

บทว่า  ปจมานา  ความว่า ถูกมันทำให้เดือดร้อน บังคับเคี่ยวเข็ญ ต้องการจะกินสิ่งใด ๆก็เคี่ยวเข็ญเอาสิ่งนั้น. หญิงชื่อว่าอุทัญจนี เพราะนำไปด้วยหม้อ.    บทว่า อุทญฺจนี    นี้เป็นชื่อของหญิงผู้ตักตวงน้ำจากตุ่ม หรือจากบ่อ ก็หญิงประเภทอุทัญจนีนั้น ต้องการสิ่งใด ๆก็จะใช้ให้หาสิ่งนั้น ๆมาให้จงได้ ดุจตักตวงเอาน้ำด้วยหม้อ.   บทว่า  โจรี  ชายปฺปวาเทน  ความว่า หญิงโฉดนางหนึ่งอ้างตนเป็นภรรยา โอ้โลมกระผมด้วยคำอันอ่อนหวาน พาไปในถิ่นมนุษย์ มันต้องการน้ำมัน หรือเกลืออย่างหนึ่งอย่างใด จะเคี่ยวเข็ญขอสิ่งนั้น ๆทุกอย่าง ให้นำมาให้ เหมือนเป็นทาส เป็นกรรมกร เหตุนั้น กระผมจึงบอกเล่ากล่าวโทษของมันไว้.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็ปลอบดาบสน้อยนั้นว่า „ช่างมันเถิด พ่อ มาเถิด เจ้าจงเจริญ เมตตากรุณาไว้เถิด“ แล้วบอกพรหมวิหาร๔ ให้ บอกกสิณบริกรรมให้ ไม่นานนักดาบสน้อยนั้น ก็ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดได้ เจริญพรหมวิหารแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก พร้อมด้วยบิดา.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศสัจจะในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้นดำรงในโสดาปัตติผลทรงประชุมชาดกว่า ถุลกุมาริกาในครั้งนั้นได้มาเป็นถุลกุมาริกาในบัดนี้ ดาบสน้อยได้มาเป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสผู้บิดาได้เราเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล. 

ที่มา : Palipage : Guide to Language - Pali



มิลินทปัญหา (ตอนที่ ๓๔)

มิลินทปัญหา (ตอนที่ ๓๔) ปัญหาที่ ๔ โพธิสัตตธัมมตาปัญหา 

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ใน ธัมมตาธมมปริยาย (ที.มหา. ๑๐/๑๒) ว่า

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนแล้ว, ได้กำหนดการตรัสรู้ไว้แน่นอนแล้ว, ได้กำหนดผู้เป็นอัครสาวกได้แน่นอนแล้ว, ได้กำหนดผู้เป็นบุตรไว้แน่นอนแล้ว, ได้กำหนดผู้เป็นพระอุปัฏฐากไว้แน่นอนแล้ว  ดังนี้ และพวกท่านก็กล่าวกันอีกว่า   พระโพธิสัตว์ผู้ดำรงอยู่ในชั้นดุสิตย่อมตรวจดูมหาวิโลกนะ ๘ อย่างคือ ตรวจดูกาล ๑, ตรวจดูทวีป ๑, ตรวจดูประเทศ ๑, ตรวจดูตระกูล ๑, ตรวจดูผู้ให้กำเนิด ๑, ตรวจดูอายุ ๑, ตรวจดูเดือน ๑, ตรวจดูการเสด็จออกบรรพชา ๑   ดังนี้

พระคุณเจ้านาคเสน เมื่อญาณยังไม่แก่กล้าก็หาความรู้มิได้ เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ก็ไม่อาจให้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งแต่ละอย่างไม่ใช่ฐานะ ได้หวนกลับคืนมา, ใจที่แก่กล้าแล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจก้าวล่วงได้ เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์จึงตรวจดูกาลว่า เราจะอุบัติในกาลไหน ดังนี้เล่า เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ก็หาความรู้มิได้ เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ก็ไม่อาจให้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งแต่ละอย่างไม่ใช่ฐานะ ได้หวนกลับคืนมา เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์จึงตรวจดูตะกูลว่า เราจะอุบัติในตระกูลไหน ดังนี้อีกเล่า พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่าพระโพธิสัตว์ในปางก่อน ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนแล้ว จริงแล้วไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า พระโพธิสัตว์ตรวจดูตระกูล ดังนี้ก็ไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า พระโพธิสัตว์ตรวจดูตระกูล จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า พระโพธิสัตว์ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนแล้ว ดังนี้ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ปัญหาแม้ข้อนี้ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้วขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระโพธิสัตว์ในปางก่อน ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนจริง และตรวจดูตระกูลจริง ก็แต่ว่า ตรวจดูตระกูลอย่างไรเล่า ตรวจดูตะกูลอย่างนี้ว่า ผู้ที่จะเป็นมารดาและบิดาของเรา เป็นกษัตริย์หรือว่าเป็นพราหมณ์เล่า ดังนี้.     ขอถวายพระพร มหาบพิตร บุคคล ๘ จำพวก มีอันต้องตรวจดูอนาคตก่อนเทียว ๘ จำพวกนี้คืออะไรบ้าง ขอถวายพระพร

– พ่อค้า ต้องตรวจดูสินค้าที่จะขายก่อน ๑,  – ช้าง ต้องใช้งวงตรวจดูหนทางที่ยังไม่ถึง (ยังไม่เคยไปก่อน) ๑,  – คนขับเกวียนต้องตรวจดูท่าข้ามที่ยังไม่ถึงก่อน ๑,   – ต้นหนเรือ ต้องตรวจฝั่งที่ยังไม่ถึงก่อน แล้วจึงค่อยให้ส่งเรือไป ๑,   – แพทย์ ต้องตรวจดูอายุคนไข้ก่อน แล้วจึงค่อยเข้าไปหา ลงมือรักษา คนไข้ ๑,  – ผู้จะข้ามสะพาน ต้องรู้เสียก่อนว่ามั่นคงหรือไม่มั่นคงแล้วจึงค่อยย่างขึ้น ๑,  – ภิกษุ ต้องพิจารณาเวลาที่ยังไม่ถึงเสียก่อน แล้วจึงฉันอาหาร ๑,   – พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็มีอันต้องพิจารณาตะกูลก่อนว่า เป็นตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์ ๑   

ดังนี้ ขอถวายพระพร บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ มีอันต้องตรวจดูอนาคตก่อน.     พระเจ้ามิลินท์, ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมานี้. จบโพธิสัตตธัมมตาปัญหาที่ ๔

คำอธิบายปัญหาที่ ๔

ปัญหาเกี่ยวกับธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า โพธิสัตตธัมมตาปัญหา.    คำว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนแล้ว เป็นต้น ความว่า บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน มีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ในการที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ได้กำหนดผู้เป็นมารดาและบิดาไว้แน่นอนแล้วเป็นต้น โดยอาศัย มหาปทานสูตร (ที.มหา. ๑๐/๑) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราทั้งหลายได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาควิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระราชาพระนามว่า พระเจ้าพันธุมาเป็นพระชนก ทรงมีพระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการอดีต นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาควิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติเกิดขึ้นแล้วในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาควิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีคู่อัครสาวก ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาควิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระอุปัฏฐากชั้นยอด ชื่อว่า พระอโสกะ ดังนี้

คำว่า มหาวิโลกนะ คือสิ่งควรตรวจดูที่ยิ่งใหญ่ หรือการตรวจดูครั้งยิ่งใหญ่.    คำว่า ตรวจดูกาล คือตรวจดูกาลที่มนุษย์มีอายุกัปเหมาะสมต่อการที่จะทรงประกาศพระธรรมจักร ได้แก่ การที่มนุษย์มีอายุอย่างมากประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี, อย่างน้อยประมาณ ๑๐๐ ปี.    คำว่า ตรวจดูทวีป คือตรวจดูทวีปที่จะเสด็จจากชั้นดุสิตลงมาอุบัติ ทรงพบว่าเป็นชมพูทวีป  (ชมพูทวีป หมายถึงโลกมนุษย์ / ณัฏฐ)

คำว่า ตรวจดูประเทศ คือตรวจดูสถานที่จะทรงอุบัติในชมพูทวีปนั้น ทรงพบว่า มัชฌิมประเทศในชมพูทวีปนั้น นั่นแหละ.    คำว่า ตรวจดูตระกูล คือตรวจดูตระกูล ว่า ธรรมดาว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือไม่ก็ในตระกูลพราหมณ์ เราจะบังเกิดในตระกูลไหน ซึ่งในบัดนี้คนทั้งหลายยกย่องกันว่าสูงสุด.   คำว่า ตรวจดูผู้ให้กำเนิด คือตรวจดูว่า ใครจะเป็นผู้มีคุณสมบัติสมควรเป็นพระชนกชนนีของพระโพธิสัตว์.    คำว่า ตรวจดูอายุ คือตรวจดูพระชนมายุของพระชนนี.    คำว่า ตรวจดูเดือน คือตรวจดูเดือนที่เหมาะสมจะเสด็จลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ทรงพบว่าเป็นวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

คำว่า ตรวจดูการเสด็จออกบรรพชา คือตรวจดูเวลาที่จะทรงสละจากเพศฆราวาสเสด็จมหาภิเนษกรม คือเพศบรรพชิต.   คำว่า เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ก็หาความรู้ไม่ได้ ความว่า เมื่อญาณคือพระปัญญายังไม่แก่กล้า ยังไม่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญพระบารมี ก็หาความรู้ที่จะตรวจดูมหาวิโลกนะ ๘ อย่างนั้น มิได้ อธิบายว่า ไม่อาจทำความรู้เกี่ยวกับการตรวจดูให้เกิดขึ้นได้.    คำว่า เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ก็ไม่อาจให้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งแต่ละอย่างไม่ใช่ฐานะได้หวนกลับคืนมา ความว่า เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ไม่อาจให้สิ่งเหล่านี้ คือมหาวิโลกนะ ๘ อย่างเหล่านี้ ได้หวนกลับคืนมา เพื่อจะตรวจดู คือไม่อาจหวนกลับไปตรวจดู เพราะเมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก สิ่ง ๘ อย่างเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะพึงตรวจดู ประโยชน์อะไรด้วยการตรวจดูนั้นเล่า.     คำว่า ใจที่แก่กล้าแล้ว ใครๆ ไม่อาจก้าวล่วงได้ คือใจที่แก่กล้าแล้วด้วยญาณที่แก่กล้า ใครๆไม่อาจก้าวล่วง คือไม่อาจชักนำด้วยมหาวิโลกนะ ๘ อย่างนั้นได้

แง่ปมที่ขัดแย้งกันอยู่ในปัญหา มีอยู่ว่า ถ้าหากว่าพระโพธิสัตว์ในปางก่อน ได้ตรวจดูผู้เป็นมารดาบิดาไว้ จริงแล้วไซร้ ก็ไม่น่าจะต้องมีการตรวจดูตะกูลอีก เพราะเมื่อกำหนดผู้เป็นมารดาบิดาไว้แน่นอนแล้ว ก็เป็นอันต้องยอมรับตะกูลของมารดาบิดานั้นด้วย.      คำว่า ตรวจดูตระกูลอย่างนี้ว่า ฯลฯ เป็นกษัตริย์หรือว่าเป็นพราหมณ์ คือกำหนดผู้เป็นมารดาบิดาไว้ก็จริง แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในตระกูล ๒ อย่าง คือกษัตริย์หรือพราหมณ์นี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการตรวจดูอีกว่า มารดาและบิดาของเรา เป็นกษัตริย์หรือว่าเป็นพราหมณ์.   จบคำอธิบายปัญหาที่ ๔.   ปัญหาที่ ๕ อัตตนิปาตนปัญหา

พระเจ้ามิลินท์, พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ว่า    “ น     ภิกฺขเว     อตฺตานํ      ปาเตตพฺพํ,    โย     ปาเตยฺย,    ยถาธมฺโม       กาเรตพฺโพ” (วิ.มหา. ๑/๑๓๐)   ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรทำตนให้ตกไป ภิกษุรูปใด พึงทำให้ตกไป ก็ต้องปรับอาบัติภิกษุรูปนั้น ตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ แต่พวกท่านกล่าวไว้อีกว่า พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ในที่ใดที่หนึ่งก็ตาม ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยายเป็นอันมาก สาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก้าวล่วงชาติ ชรา พยาธิ มรณะได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญจากผู้นั้น ด้วยพระวาจาตรัสสรรเสริญอย่างเยี่ยมยอด

ดังนี้ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรทำตนให้ตกไป ภิกษุรูปใด พึงทำตนให้ตกไป ก็ต้องปรับอาบัติภิกษุรูปนั้น ตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่ง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรทำตนให้ตกไป ภิกษุรูปใดพึงทําตนให้ตกไป ก็ต้องปรับอาบัติภิกษุรูปนั้น ตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ปัญหานี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ควรทำตนให้ตกไป ภิกษุรูปใด พึงทำตนให้ตกไป ก็ต้องปรับอาบัติภิกษุรูปนั้นตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ จริง และพระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ในที่ใดที่หนึ่งก็ตาม ย่อมทรงแสดงธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เพื่อการตัดขาดชาติ ชรา พยาธิ มรณะ จริง แต่ในคำที่ว่านั้น มีเหตุผลที่ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม และตรัสชี้ชวน อยู่

พระเจ้ามิลินท์, เหตุผลที่ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม และเหตุผลที่ทำให้ตรัสชี้ชวนคืออะไรหรือ พระคุณเจ้านาคเสน ?     พระนาคเสน, ขอถวายพระพร มหาบพิตร ภิกษุผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นเหมือนยาแก้พิษ ในการใช้สลายพิษคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นเหมือนยา ในการใช้สงบความป่วยไข้ คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นเหมือนน้ำในการใช้ชำระล้างเหงื่อไคล คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นเหมือนแก้วมณี ในการมอบสมบัติทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นเหมือนเรือ ในการทำสัตว์ให้ได้ไปถึงฝั่งทะเลทั้ง ๔, ย่อมเป็นเหมือนนายกองเกวียน ในการที่พาสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามที่กันดาร คือชาติ, ย่อมเป็นเหมือนลม ในการใช้ดับความร้อนแห่งไฟ ๓ กอง ของสัตว์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นเหมือนเมฆใหญ่ในอันทำความหวังของสัตว์ให้เต็ม, ย่อมเป็นเหมือนอาจารย์ในการยังสัตว์ทั้งหลายให้ศึกษาในกุศล, ย่อมเป็นเหมือนคนชี้ทางได้แม่นยำ ในการบอกเส้นทางแก่สัตว์ทั้งหลาย

ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ผู้มีศีล มีคุณมาก มีคุณเป็นเอนก มีคุณหาประมาณมิได้ เป็นที่รวมแห่งคุณ เป็นกองคุณ เป็นผู้สร้างความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย เห็นปานฉะนี้ขอจงอย่าพินาศไปเลย ดังนี้ แล้วจึงทรงมีพระกรุณาบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่พึงทำตนให้ตกไป ภิกษุรูปใด พึงทำตนให้ตกไป ต้องปรับอาบัติภิกษุรูปนั้น ตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ ขอถวายพระพร ข้อที่ว่านี้ เป็นเหตุผลในคำที่ตรัสไว้นี้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระกุมารกัสสปเถระ ผู้กล่าวทำได้วิจิตร เมื่อจะแสดงโลกหน้าแก่พระยาปายาสิ ก็ได้กล่าวแล้วว่า

“ยถา    ราชญฺญ   สมณพฺราหฺมณา   สีลวนฺโต   กลฺยาณธมฺมา   จิรํ   ทีฆมทฺธานํ   ติฏฺฐนฺติ,   ตถา   พหุปุญฺญํ  ปสวนฺติ     พหุชนหิตาย    จ    ปฏิปชฺชนฺติ    พหุชนสุขาย    โลกานุกมฺปาย     อตฺถาย     หิตาย    สุขาย   เทวมนุสฺสานํ.”  (ที.มหา. ๑๐/๓๖๖) (ที.มหา. ๑๐/๓๖๖)  ดูก่อน ท่านพระยา สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลยาวนาน โดยประการที่จะประสบแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นอันมาก, และโดยประการที่จะปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก, เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก, เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้

ส่วนว่า เหตุผลอะไรเล่า คำให้พระผู้มีพระภาคทรงชี้ชวน ขอถวายพระพร แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความสุขก็เป็นทุกข์ แม้ความร่ำไห้รำพันก็เป็นทุกข์ แม้ความทุกข์กายก็เป็นทุกข์ แม้ความทุกข์ใจก็เป็นทุกข์ แม้ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งที่เกลียดก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ แม้มารดาตายก็เป็นทุกข์ แม้บิดาตายก็เป็นทุกข์ แม้พี่น้องชายตายก็เป็นทุกข์ แม้พี่น้องหญิงตายก็เป็นทุกข์ แม้นบุตรตายก็เป็นทุกข์ แม้ภรรยาตายก็เป็นทุกข์ แม้ทาสตายก็เป็นทุกข์ แม้ญาติตายก็เป็นทุกข์ แม้ญาติพินาศก็เป็นทุกข์ แม้โรคพินาศก็เป็นทุกข์ แม้โภคะพินาศก็เป็นทุกข์ แม้ศีลพินาศก็เป็นทุกข์ แม้ทิฏฐิพินาศก็เป็นทุกข์ แม้ราชภัยก็เป็นทุกข์ แม้โจรภัยก็เป็นทุกข์ แม้เวริภัยก็เป็นทุกข์ แม้ทุพภิกขภัยก็เป็นทุกข์ แม้อัคคีภัยก็เป็นทุกข์ แม้อุทกภัยก็เป็นทุกข์ แม้อุมิภัย (ภัยลูกคลื่น) ก็เป็นทุกข์ แม้อาวฏภัย (ภัยน้ำวน) ก็เป็นทุกข์ แม้กุมภิลภัย (ภัยจระเข้) ก็เป็นทุกข์ ฯลฯ…แม้การตัดศีรษะด้วยดาบก็เป็นทุกข์

ขอถวายพระพร สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ย่อมเสวยทุกข์มากมายหลายประการ เห็นปานฉะนี้.   ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า น้ำฝนที่ตกเหนือภูเขาหิมพานต์ ย่อมไหลท่วมทับ ชะเอาก้อนหิน ก้อนกรวด ไม้แห้ง ดินแข็ง บ่อน้ำวน เกลียวคลื่น เขื่อนดิน รากไม้และกิ่งไม้ที่ขวางทางอยู่ ไปสู่แม่น้ำคงคา ฉันใด ขอถวายพระพร สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ย่อมเสวยทุกข์มากมายหลายประการ เห็นปานฉะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.   ขอถวายพระพรความเป็นไปเป็นทุกข์, ความหยุดไปเป็นสุข ขอถวายพระพรพระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงคุณของความหยุดเป็นไปและภัยในความเป็นไป จึงตรัสชี้ชวน เพื่อให้กระทำความหยุดเป็นไปให้แจ้ง เพื่อให้ก้าวล่วงชาติ ชรา พยาธิ มรณะ.   

พระเจ้ามิลินท์, ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ท่านคลี่คลายปัญหาได้ดีแล้ว ท่านกล่าวถึงเหตุผลได้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมากระนี้ นี้.   จบอัตตนิปาตนปัญหาที่ ๕

คำอธิบายปัญหาที่ ๕

ปัญหาเกี่ยวกับการทำตนให้ตกไป ชื่อว่า อัตตนิปาตนปัญหา.     คำว่า ไม่ควรทำตนให้ตกไป คือ ไม่ควรทำชีวิตของตนให้ตกไป ความว่า ไม่ควรฆ่าตนเอง.     คำว่า ตามสมควรแก่เหตุ คือ ตามสมควรแก่การกระทำซึ่งเป็นเหตุแห่งอาบัติ.    คำว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ เป็นต้น ความว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ อันเป็นผลที่จะพึงบังเกิดในอนาคต จากเหตุในปัจจุบันตามความสืบต่อกันแห่งเหตุและผล ด้วยพระอรหัตตมรรค.     แง่มุมที่ขัดแย้งกันในปัญหา มีอยู่ว่า ถ้าหากตรัสว่า ไม่ควรทำตนให้ตกไป ดังนี้ จริงไซร้ ก็ไม่น่าจะทรงแสดงธรรมเพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ คือความเกิด เป็นต้น เพราะการปฏิบัติเพื่อความไม่เกิด ก็นับว่าเป็นความประสงค์จะไม่ให้มีอัตภาพเช่นเดียวกับการทำตนให้ตกไป นั่นเอง.   ความว่า ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามการทำตนให้ตกไปไว้เพื่อป้องกัน เพื่อรักษาภิกษุผู้มีศีล ผู้ไม่เยื่อใยในชีวิตไว้ เพื่อพี่ภิกษุเหล่านี้จะดำรงอยู่ในโลก สร้างสิ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายได้นาน ๆ.     

คำว่า ความเป็นไปเป็นทุกข์ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ที่เป็นความสืบต่อกันด้วยอำนาจความสัมพันธ์กันแห่งเหตุและผล คือ เป็นผลในปัจจุบันที่มีจากเหตุในอดีต และจะเป็นผลในอนาคตที่มีจากเหตุในปัจจุบัน ชื่อว่า ปวัตตะ ความเป็นไป ปวัตตะนั้นเป็นทุกข์.    คำว่า ความหยุดเป็นไปเป็นสุข ความว่า พระนิพพานอันเป็นธรรมที่หยุดชาติเป็นต้น อันได้ชื่อว่า ปวัตตะนั้น ชื่อว่า อปวัตตะ ความหยุดเป็นไป อปวัตตะนั้นเป็นสุข เพราะระงับปวัตตะที่เป็นทุกข์ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า    “นิพฺพานํ   ปรมํ   สุขํ.  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”   ดังนี้ ฉะนี้แล.   จบคำอธิบายปัญหาที่ ๕.    จบมิลินทปัญหาตอนที่ ๓๔

นิพฺพานํ   ปรมํ   สุขํ.    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”

ขอให้ การอ่าน การศึกษา ของทุกท่านตามกุศลเจตนา ได้เป็นพลวปัจจัย เพิ่มพูลกำลังสติ กำลังปัญญา ให้สามารถนำตนให้พ้นจากวัฏฏทุกข์ด้วยเทอญ

ณัฏฐ สุนทรสีมะ

ที่มา : http://dhamma.serichon.us/

มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) ,  (ตอนที่ 49) ,  (ตอนที่ 48) ,  (ตอนที่ 47) ,  (ตอนที่ 46) ,  (ตอนที่ 45) ,  (ตอนที่ 44) ,  (ตอนที่ 43) ,  (ตอนที่ 42) ,  (ตอนที่ 41) ,  (ตอนที่ 40) ,  (ตอนที่ 39) ,  (ตอนที่ 38) ,  (ตอนที่ 37) ,  (ตอนที่ 36) ,  (ตอนที่ 35) ,  (ตอนที่ 34) ,  (ตอนที่ 33) ,  (ตอนที่ 32) ,  (ตอนที่ 31) ,  (ตอนที่ 30) ,  (ตอนที่ 29) ,  (ตอนที่ 28) ,  (ตอนที่ 27) ,  (ตอนที่ 26) ,  (ตอนที่ 25) ,  (ตอนที่ 24) ,  (ตอนที่ 23) ,  (ตอนที่ 22) ,  (ตอนที่ 21 ต่อ) ,  (ตอนที่ 21) ,  (ตอนที่ 20) ,  (ตอนที่ 19) ,  (ตอนที่ 18) ,  (ตอนที่ 17) ,  (ตอนที่ 16) ,  (ตอนที่ 15) ,  (ตอนที่ 14) ,  (ตอนที่ 13) ,  (ตอนที่ 12) ,   (ตอนที่ 11) ,  (ตอนที่ 10) ,  (ตอนที่ 9) ,  (ตอนที่ 8) ,  (ตอนที่ 7) ,  (ตอนที่ 6) ,  (ตอนที่ 5) ,  (ตอนที่ 4) ,  (ตอนที่ 3) ,  (ตอนที่ 2) ,  (ตอนที่ 1) ,  ประโยชน์​การอุปมา​อันได้จากการศึกษา​คัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์​มิลินท์​ปัญหาเป็นต้น​ ,   มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้  ,  เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า?  ,  นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์  ,   ถามว่า​ อานิสงส์​การเจริญเมตตา​ ห้ามอันตราย​ต่างๆ​ เหตุไรสุวรรณ​สามผู้เจริญเมตตา​จึงถูกยิงเล่า?