..“ ถ้าเราอยู่ในโลกไม่เป็น ก็ติดโลก แล้วก็ยึดทุกอย่างในโลก เช่น ของที่เรามี ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เราก็ยึดทุกอย่าง เรายึดอะไร “ตัวตน”ของเราก็ขยายไปอยู่กับมัน สิ่งนั้นก็ผนวกเข้าเป็น“ตัวตน”ของเรา
..เรามีแก้วใบหนึ่ง แก้วใบนั้นก็เป็น“ตัวตน”ของเราด้วย ตัวเราขยายไปอยู่กับแก้ว เรามีบ้านหลังหนึ่ง ตัวตนของเราก็แผ่ขยายไปครอบคลุมบ้าน เรามีอะไร “ตัวตน”ของเราก็ขยายไปผนวกเข้า ตัวตนก็ใหญ่ออกไปๆ จนในที่สุด สิ่งกระทบก็เข้ามากระทบมากมายจนรับไม่ไหวเลย วันหนึ่งๆไม่รู้กระทบเท่าไหร่?
..ยิ่ง“ตัวตน”ใหญ่ ก็ยิ่งมีโอกาสมีขอบเขตมีแดนที่จะรับกระทบมาก ก็เลยทุกข์มาก
จะทำอะไร จะแก้ไขอะไร ก็ทำด้วยกิเลส ที่“เห็นแก่ตน” ทำไปตามแรงความรู้สึกที่ถูกบีบ ไม่ทำให้ตรงตามเหตุปัจจัย ก็เลยยิ่งเกิดปัญหามาก
ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาตน เพื่อจะรู้เท่าทัน เข้าใจ“อนัตตา” มองเห็นความไม่มี“ตัวตน” จะได้หมดความยึดมั่นในตัวตนแล้วก็จะหมดความทุกข์ พ้นจากกิเลส มีจิตใจเป็นอิสระ”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “หลักแม่บทของการพัฒนาตน”
0 comments: