วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วันนี้ วันพระ “วันอัฏฐมีบูชา” วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

วันนี้ วันพระ “วันอัฏฐมีบูชา” วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ วันแรม ๘ ค่ำ เดือน วิสาขะ ( ๗ ) ปีนี้ ตรงกับวันนี้ วันพฤหัสบดี ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔

“วันอัฏฐมีบูชา”

คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน ถือเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ (ปกติจะตรงกับเดือน ๖ แต่ปีนี้ตามปฏิทินจันทรคติของไทยมีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน จึงเลื่อนมาตรงกับเดือน ๗) เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปแล้ว ๘ วัน เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์ มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ มกุฎพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “วันอัฏฐมี”

หลังจากที่พระเพลิงซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์ทั้งหลาย จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองคำแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในนครกุสินารา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขารต่างๆของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่ปาตลีบุตร เป็นต้น

การประกอบพิธี “อัฏฐมีบูชา” ในประเทศไทยนั้น นิยมทำกันในตอนค่ำ และปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น

หมายเหตุ :  

“มกุฏพันธนเจดีย์” ปัจจุบันเป็นสถูปโบราณที่ถูกสร้างขึ้นตรงสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มกุฏพันธนเจดีย์ได้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของ“พระเจ้าอโศกมหาราช” บริเวณด้านตะวันออกของเมืองกุสินารา หรือปัจจุบันนี้ คือตำบลกาเซียหรือกาสยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันอัฏฐมีบูชา 

เดิมที บริเวณมกุฏพันธนเจดีย์เป็นเชิงตะกอนไม้จันทน์หอม เพื่อใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้สั่งให้สร้างพระสถูปครอบบริเวณนั้นลง แต่สมัยต่อมาเมืองกุสิรานาถูกรุกรานและพระสถูปองค์นี้ถูกทำลายลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง ภายหลังได้มีการค้นพบเป็นซากพระสถูปขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมพระสถูปองค์นี้ไว้อย่างดี ถ้าวัดรอบฐานของพระสถูปองค์นี้มีความยาวทั้งหมด ๔๖.๑๔ เมตร ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๗.๑๘ เมตร

____

The significance of Vesak Full Moon Day , Māgha Pūjā Day , Pavāranā day , Happy Vesak Day. ,  วันวิสาขบูชา  , วันวิสาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญวิสาขะ  , วันอาสาฬหบูชา , วันอาสาฬหบูชา ประวัติและความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา , สาระสำคัญของวันมาฆบูชา , วันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา , 'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ , วันออกพรรษา-Day of going out of Vassa , วันเข้าพรรษา-Buddhist Lent Day Observances , วันอาสาฬหบูชา , วันนี้วันพระ“วันอัฏฐมีบูชา” , วันอัฏฐมีบูชา , วันมหาปวารณา , ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า , วิสาขบูชานุสติ , พระพุทธเจ้า“ประกาศอิสรภาพ”ให้แก่มวลมนุษย์ , ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสอะไรไว้กับชาวโลกบ้าง , เมื่อคืนพระจันทร์สวย ในวันวิสาขบูชา : พิจารณาธรรมชาติ , กฐิน


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: