๏ ความสันโดด พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี ๛
คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ
๑. ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
๒. ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถเป็นต้น
๓. ยถาสารูปสันโดษ หมายถึงความยินดีตามควร ซึ่งโยงใยไปถึงความพอเหมาะพอควรในหลายๆ เรื่อง เช่น รูปลักษณ์ของตนเอง และรวมทั้งฐานะที่เราเป็นอยู่
ที่มา : http://www.dhammathai.org
สนฺตุฏฺฐี จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - ความสันโดษ เป็นอุดมมงคล
สันตุฏฐี นามะ อิตะรีตะระปัจจะยะสันโตโส ตัตถะ อิตะรีตะเรนะ ปัจจะเยนะ สันตุสสะติติ สันตุฏโฐติ. บัดนี้ จักได้วิสัชนาในสันตุฏฐิ จัดเป็นมงคลที่ ๒๔ ตามวาระพระบาลี อรรถกถาว่า สันตุฏฐี นามะ แปลว่า บุคคลใดมีความสันโดษ ไม่มีความมักมาก ยินดีในวัตถุสิ่งของที่แสวงหามาเป็นสอง คือ ได้มาแล้วก็ไม่หาให้เป็นสอง ยินดีแต่ของที่ได้มาเท่านั้น เรียกว่าสันโดษ จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ. บัดนี้ จักว่าด้วยภิกษุก่อน ภิกษุองค์ใดได้ซึ่งปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชที่ดีหรือชั่ว ก็ให้ยินดีตามที่ตนได้มาไม่แสวงหาสืบไป เรียกว่าสันโดษในปัจจัยทั้ง ๔ กิริยาว่าไม่โลภเจตนาแสวงหาต่อไป เรียกว่าสันโดษ
อนึ่ง สันโดษมี ๑๑ คือ ยะถาลาภะสันโดษ ภิกษุได้ปัจจัยทั้ง ๔ มา จะดีจะชั่วก็บริโภคไปตามที่ได้มา ไม่แสวงปัจจัยอื่นต่อไป ๑ ยะถาพะละสันโดษนั้น ได้แก่ภิกษุที่มีโรคโรคา ได้ปัจจัยทั้ง ๔ มา บริโภคไม่ได้ เอาไปเปลี่ยนกับภิกษุอื่นมาบริโภคก็ควร ๑ ยะถาสารุปะสันโดษนั้นว่า ภิกษุได้ปัจจัยทั้ง ๔ ที่ดีที่ประณีตมาบริโภค เอาไปถวายแก่ภิกษุอื่น มีพระเถระเป็นต้น ส่วนตนก็ไปแสวงหาแต่ปัจจัย ๔ ที่เลว ๆ มาบริโภค ๑ ปัจจัยทั้ง ๔ แยกออกเป็น ๓ คือ ยะถาลาภะจีวะระสันโดษ ๑ ยะถาพะละจีวะระสันโดษ ๑ ยะถาสารุปะจีวะระสันโดษ ๑ เป็น ๓ :- ยะถาลาภะปิณฑะปาตะสันโดษ ๑ ยะถาพะละปิณฑะปาตะสันโดษ ๑ ยะถาสารุปะปิณฑะปาตะสันโดษ ๑ เป็น ๓ ยถาลาภะเสนาสะนะสันโดษ ๑ ยะถาพละเสนาสะนะสันโดษ ๑ ยะถาสารูปะเสนาสนะสันโดษ ๑ เป็น ๓ ยะถาลาภคิลานปัจจยสันโดษ ๑ ยะถาพะละปัจจัยสันโดษ ๑ ยะถาสารุปะปัจจะยะสันโดษ ๑ เป็น ๓ สาม ๔ หนเป็น ๑๒
อนึ่ง ภิกษุใช้บริขาร ๘ คือ จีวร ๑ สบง ๑ สังฆาฎิ ๑ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็ม ๑ ประคตเอว ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ เป็น ๘ หรือจะเพิ่มผ้าปูนอน ๑ ผ้ารองนั่ง ๑ ไม้เ้ท้า ๑ รองเท้า ๑ เป็น ๑๒ ก็ควร บริขาร แปลว่า เครื่องรักษาตัวนี้โดยสังเขป ว่าโดยพิจดาร สันโดษมี ๕๐ จีวรสันโดษ ๒๐ บิณฑบาตสันโดษ ๑๕ เสนาสนสันโดษ ๑๕ เป็น ๕๐. จีวรสันโดษ คือ วิตักกะสันโดษ มีความสันโดษในการตรึก ๑ ความสันโดษนั้น เที่ยวไปตามกรรมฐาน ๑ ปริเยสะนะสันโดษนั้น เที่ยวไปแสวงหาจีวรด้วยภิกษุ ๑ ปฏิลาภสันโดษนั้น ตามแต่เขาจะให้ไม่เลือกว่าดีและชั่ว ๑ มัตตะปะฎิคคะหะณะสันโดษนั้น รับว่าไม่มีกำหนดตระกูล ๑ ยถาคาภสันโดษนั้น ว่าหาจีวรตามแต่จะได้ ๑ ยถาพลสันโดษนั้น ว่าหาจีวรตามแต่กำลัง ๑ ยถาสารุปสันโดษนั้น ว่าได้จีวรที่ดี ๆ มาแล้วก็ให้ภิกษุอื่น บริโภคแต่ผ้าที่ชั่ว ๆ นั้น ๑ อุทกสันโดษนั้นว่า ภิกษุจะซักจีวรไม่เลือกน้ำ เห็นสมควรแล้วก็ซัก ๑
โธวสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะย้อมจีวรไม่ทุบไม่ฟาด ๑ กรณสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะตัดผ้าจะเย็บผ้าไม่เลือกผ้าเนื้อดี ๑ ปริมาณสันโดษ นั้น ว่าภิกษุจะกระทำจีวรไม่ให้กว้างยาวเกินไป ๑ สุตตสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะเย็บจีวรไม่ควรแสวงหาด้วยที่อย่างดี ๑ รัชชนสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะพินทุผ้าไม่แสวงหาน้ำย้อมประณีต ๑ กัปปสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะพินทุผ้าให้โตนัก เล็กนัก ๑ สันนิธิปริวัชชสันโดษนั้น ว่าภิกษุทำจีวรแล้วให้อธิษฐานเสีย ๑ วิสัชชนสันโดษนั้น ว่าภิกษุจะให้จีวรแก่ผู้อื่นอย่าเลือกที่รักที่ชัง ๑ เป็นจีวรสันโดษ ๒๐ ประการ แต่บิณฑบาตสันโดษ ๑๕ และเสนาสนสันโดษ ๑๕ ก็คล้าย ๆ กัน เพราะฉะนั้น จะยุติไว้เพียงเท่านี้ ....
ที่มา : http://larnbuddhism.com
มงคลที่ 1 , มงคลที่ 2 , มงคลที่ 3, มงคลที่ 4 , มงคลที่ 5 , มงคลที่ 6 , มงคลที่ 7 , มงคลที่ 8 , มงคลที่ 9 , มงคลที่ 10 , มงคลที่ 11 , มงคลที่ 12 , มงคลที่ 13 , มงคลที่ 14 , มงคลที่ 15 , มงคลที่ 16 , มงคลที่ 17 , มงคลที่ 18 , มงคลที่ 19 , มงคลที่ 20 , มงคลที่ 21 , มงคลที่ 22 , มงคลที่ 23 , มงคลที่ 24 , มงคลที่ 25 , มงคลที่ 26 , มงคลที่ 27 , มงคลที่ 28 , มงคลที่ 29 , มงคลที่ 30 , มงคลที่ 31 , มงคลที่ 32 , มงคลที่ 33 , มงคลที่ 34 , มงคลที่ 35 , มงคลที่ 36, มงคลที่ 37, มงคลที่ 38 ฯ
0 comments: