วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

“สติมาปัญญาเกิด”

“สติมาปัญญาเกิด”

จิตคือสิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึกเท่านั้น  ส่วนสติคือการระลึกได้ ความทรงจำ และความรู้สึก

หากบุคคลทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้แล้ว แต่ระลึกไม่ได้, แสดงว่า “ในขณะนั้นที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้น ขณะนั้นมีจิตอยู่ แต่ไม่มีสติ”  เพราะฉะนั้น บุคคลระลึกได้ด้วยสติ ไม่ใช่ระลึกได้ด้วยจิต

ดังนั้น การตั้งสติก็เพื่อให้เกิดการตื่นตัว เกิดความรู้สึกตัว เกิดความระมัดระวัง เกิดใจอันไม่ว่างเปล่า และเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เมื่อเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว การแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาก็จะเกิดมีขึ้นตามมา เพราะเมื่อรู้ว่า “อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นความดับทุกข์ และอะไรเป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์” เมื่อรู้แล้วก็จะไม่ทำความชั่วอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และทำแต่คุณงามความดีอันเป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้.

พระมหาวัชระ  เชยรัมย์  (ติกฺขญาโณ)

13/5/64


post written by:

Related Posts

  • กุศล คืออะไร?กุศล คืออะไร?"กุศล" แปลว่า สร้างเหตุให้เกิดสิทธิ เพื่อมีโอกาสได้รับการชี้แนะเกิดปัญญา แล้วนำไปวิเคราะห์พิจารณา แก้ไขปัญหา แก้ทุกข์ต่างๆ ได้.  กุศลนี้ทำให้เ… Continue Reading
  • สมณกรณียธรรม ๒๐ ประการสมณกรณียธรรม ๒๐ ประการ1. เสฏฺฐภูมิสโย ตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐ (ประกอบด้วยความกรุณาแลความสัตย์  เป็นต้น) 2. อคฺเค นิยโม     นิยมในกิจอันเลิ… Continue Reading
  • “นับถือสองศาสนา บาปใหม?”“นับถือสองศาสนา บาปใหม?” ผู้ถามไม่ระบุแน่ชัดว่านับถือศาสนาอะไรบ้าง? คาดเดาเอาว่า คงเป็นศาสนาพุทธ กับอีกศาสนาหนึ่ง…ว่าในทางพุทธ “เพียงแค่บอกว่า กิริยาอาการนับถือ… Continue Reading
  • "กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ”"กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ” อันมีเนื้อ ความดังนี้คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึก… Continue Reading
  • เรื่อง “ศีล เป็นมหาทาน”เรื่อง “ศีล เป็นมหาทาน” อันมีเนื้อความดังนี้ในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาลทันที เช่น เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ ๑ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชี… Continue Reading

0 comments: