บุคคลผู้มีความยึดถือหรือมีความต้องการ เรียกว่า “ผู้ไม่ปราศจากราคะ” ส่วนบุคคลผู้ไม่มีความยึดถือหรือไม่มีความต้องการ เรียกว่า “ผู้ปราศจากราคะ”
ผู้ปราศจากราคะกับผู้ไม่ปราศจากราคะ ก็ยังต้องการของเคี้ยวของกินที่ดีงามอยู่เหมือนกัน ไม่มีใครไม่ต้องการสิ่งที่ดีงาม ล้วงต้องการสิ่งที่ดีงามเหมือนกันหมด
ผู้ไม่ปราศจากราคะ รับรสอาหาร กินอาหาร ก็ยินดี ชอบใจ ดีใจในการกินหรือในการเป็นอยู่ที่ดีเลิศนั้น, แต่ผู้ปราศจากราคะ แม้ยังรับรสอาหาร ยังกินอาหารอยู่เหมือนกันก็จริง แต่ทว่าไม่ยินดีในรสอาหาร ไม่ติดใจด้วยอำนาจตัณหา
เพราะฉะนั้น ใครกินเพื่ออยู่หรือใครอยู่เพื่อกิน ก็รู้ได้ด้วยมีความยึดถือหรือไม่มีความยึดถือนั่นเอง
อธิบายความหมายแห่งธรรม “ความยึดถือ” หมายถึง จับถือสิ่งใด หาได้สิ่งใด ก็เก็บรักษาไว้เพื่อตนเท่านั้น บางทีหาได้สิ่งใดมาแล้วก็ไม่ใช่ให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นเลย, “ไม่มีความยึดถือ” หมายถึง จับถือสิ่งใด หาได้สิ่งใด ก็มิได้เก็บรักษาไว้เพื่อตนหรือพวกของตนเท่านั้น หาได้สิ่งใดมาแล้วก็ใช่ให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นด้วยเสมอ ดังนี้.
สาระธรรมจากมิลินทปัญหา (รสปฏิสังเวทีปัญหา)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)
10/5/64
มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) , (ตอนที่ 49) , (ตอนที่ 48) , (ตอนที่ 47) , (ตอนที่ 46) , (ตอนที่ 45) , (ตอนที่ 44) , (ตอนที่ 43) , (ตอนที่ 42) , (ตอนที่ 41) , (ตอนที่ 40) , (ตอนที่ 39) , (ตอนที่ 38) , (ตอนที่ 37) , (ตอนที่ 36) , (ตอนที่ 35) , (ตอนที่ 34) , (ตอนที่ 33) , (ตอนที่ 32) , (ตอนที่ 31) , (ตอนที่ 30) , (ตอนที่ 29) , (ตอนที่ 28) , (ตอนที่ 27) , (ตอนที่ 26) , (ตอนที่ 25) , (ตอนที่ 24) , (ตอนที่ 23) , (ตอนที่ 22) , (ตอนที่ 21 ต่อ) , (ตอนที่ 21) , (ตอนที่ 20) , (ตอนที่ 19) , (ตอนที่ 18) , (ตอนที่ 17) , (ตอนที่ 16) , (ตอนที่ 15) , (ตอนที่ 14) , (ตอนที่ 13) , (ตอนที่ 12) , (ตอนที่ 11) , (ตอนที่ 10) , (ตอนที่ 9) , (ตอนที่ 8) , (ตอนที่ 7) , (ตอนที่ 6) , (ตอนที่ 5) , (ตอนที่ 4) , (ตอนที่ 3) , (ตอนที่ 2) , (ตอนที่ 1) , ประโยชน์การอุปมาอันได้จากการศึกษาคัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์มิลินท์ปัญหาเป็นต้น , มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้ , เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า? , นิปปปัญจปัญหา - ปัญหาเกี่ยวกับธรรมที่ปราศจากเหตุให้เนิ่นช้าในวัฏฏทุกข์ , ถามว่า อานิสงส์การเจริญเมตตา ห้ามอันตรายต่างๆ เหตุไรสุวรรณสามผู้เจริญเมตตาจึงถูกยิงเล่า?
0 comments: