วัฏฏะ คือวน ๓ ได้แก่ กิเลส ๑ กรรม ๑ วิบาก ๑
แสดงอุปมา ๓ ประการ
๑. บุคคลผู้ถูกกิเลสกลุ้มรุมแล้ว เมื่อหนทางอันปลอดภัยมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น นั่นมิใช่ความผิดของทางนั้น เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อมไว้ เมื่อทางสำหรับจะหนีไปมีอยู่ แต่ไม่หนีไปจะโทษทางนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.
๒. เมื่อสระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่ชำระกิเลสมีอยู่ แต่บุคคลนั้นไม่แสวงหาสระนั้น นั่นมิใช่เป็นความผิดของสระอมฤตนั้น เปรียบเหมือนบุรุษตกหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มแล้วไม่ไปหาสระ จะไปโทษสระนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.
๓. บุคคลมีทุกข์ ถูกพยาธิคือกิเลส เบียดเบียนรอบด้าน ไม่แสวงหาอาจารย์ นั่นมิใช่ความผิดของอาจารย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่ แต่ไม่ให้รักษาเยียวยา จะโทษหมอนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น วัฏฏะ คือความวน หรือความเวียน ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา มี ๓ อย่างคือ
๑. กิเลสวัฏฏะ วนคือกิเลส
๒. กรรมวัฏฏะ วนคือกรรม
๓. วิบากวัฏฏะ วนคือวิบาก ผลของกรรม
หมายความว่า “กิเลสก็เป็นเหตุให้ทำกรรม กิเลสจึงเป็นเหตุ กรรมจึงเป็นผลของกิเลส และกรรมนั้นเองก็เป็นตัวเหตุ ให้เกิดวิบากคือผล กรรมจึงเป็นเหตุ วิบากจึงเป็นผล และวิบากนั้นเองก็เป็นตัวเหตุ ก่อกิเลสขึ้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ วิบากนั้นก็เป็นเหตุ กิเลสก็เป็นผลของวิบาก”
กิเลส กรรม วิบาก จึงวนอยู่ดังนี้ ก็โดยที่บุคคลนี้เอง หรือจิตนี้เองที่วนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก แล้วก็กลับเป็นเหตุก่อกิเลส กรรม วิบากขึ้นอีก สัตว์และบุคคลจึงวนเวียนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก ทั้งสามนี้ เป็น วัฏฏะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเวียนว่ายตายเกิดอยู่จะโทษใครมิได้ เพราะหนทางอันปลอดภัยก็มีอยู่ (มรรคมีองค์แปดก็มีอยู่) สระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่ชำระกิเลสก็มีอยู่ (พระนิพพานอันเป็นแดนเกษมก็มีอยู่) หมอก็มีอยู่ (พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีอยู่ คือพระธรรมวินัยของพระองค์ก็มีอยู่) แต่ไม่ให้รักษาเยียวยาก็วนเวียนอยู่อย่างนี้นั่นเอง.
สาระธรรมจากอรรถกถาธรรมสังคณีปกรณ์
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)
2/11/64
“วัดหลวงพ่อโต” หรือ “วัดสรพงษ์” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
“วัดหลวงพ่อโต” หรือ “วัดสรพงษ์” ที่จริงแล้วเป็นมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารี ที่คุณสรพงษ์ ชาตรี สร้างขึ้นด้วยพลังแห่งศรัทธา และวัดหลวงพ่อโตนี้จัดว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บน ถนนมิตรภาพ ในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
0 comments: