วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เพื่อนมากเพื่อนน้อย

เพื่อนมากเพื่อนน้อย

สีตวาโจ  พหุมิตฺโต,    ผรุโส  ตุ  อมิตฺตโก;
อุปมํ  เอตฺถ  ญาตพฺพา,    จนฺทสูริยราชุนํ.

คนพูดจาอ่อนหวาน เป็นคนมีเพื่อนมาก   คนพูดจาหยาบคาย เป็นคนไม่มีเพื่อน  ในข้อนี้พึงทราบการเปรียบเทียบ  กับพระจันทร์และพระทิตย์เถิด.

(ธรรมนีติ กถากถา ๖๗, โลกนีติ ๙๓, กวิทัปปณนีติ ๒๔๖)

ศัพท์น่ารู้ :

สีตวาโจ: (ผู้มีวาจเย็น, -อ่อนหวาน, สุภาพ) สีต (เย็น) +วาจา (คำพูด) > สีตวาจา > สีตวาจ+สิ มีรูปวิเคราะห์ว่า.. สีตา วาจา ยสฺสาติ สีตวาโจ (ผู้มีวาจาอ่อนหวาน ชื่อว่า สีตวาจ) ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส

พหุมิตฺโต: (ผู้มีมิตรมาก, มีเพื่อนเยอะ) พหุ+มิตฺต > พหุมิตฺต+สิ

ผรุโส: (คนหยาบคาย, แข็ง, กระด้าง) ผรุส+สิ

อมิตฺตโก: (ไม่มีมิตร, ไม่มีเพื่อน) น+มิตฺตก > น+มิตฺตก > อมิตฺตก+สิ

อุปมา: (การเปรียบเทียบ, อุปมา) อุปมา+สิ อิต.

เอตฺถ: (ในข้อนี้, ในเรื่องนี้) เอต+ถ ลงปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ด้วยสูตรว่า ตฺร-ถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖), แปลง เอต เป็น เอ ด้วยสูตรว่า เอ โตเถสุ จ. (รู ๒๖๔) เอ+ถ, ซ้อน ตฺ (อสทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒) = เอตฺถ

ญาตพฺพา: (ควรทราบ, ควรรู้) ญาตพฺพา+สิ (ญา+ตพฺพ) ลง ตพฺพ กิจจปัจจัยในกิตก์ หรือ กิพพิธานกัณฑ์ ด้วยสูตรว่า ภาวกมฺเมสุ ตพฺพานียา. (รู ๕๔๕) รวมเป็น ญาตพฺพ, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ ด้วยสูตรว่า อิตฺถิยมโต อาปจฺจโย. (รู ๑๗๖) = ญาตพฺพ+อา รวมเป็น ญาตพฺพา, ตั้งเป็นนาม, ลง สิ, ลบ สิ, สำเร็จรูปเป็น ญาตพฺพา. เป็นกัมมวาจก, (บาทคาถานี้จึงแปลว่า อุปมา การเปรียบเทียบ เอตฺถ ในเรื่องนี ปุคฺคเลน อันบุคคล ญาตพฺพา พึงทราบ)

จนฺทสูริยราชุนํ: (แห่งราชาคือพระอาทิตย์และพระจันทน์ ท.) จนฺท+สูริย+ราข > จนฺทสูริยราช+นํ, รัสสะเพื่อรักษาฉันท์

คาถานี้ในกวิทัปปณนีติ มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้

สีตวาโจ  พหุมิตฺโต,   ผรุโส  อปฺปมิตฺตโก;

อุปมา  เอตฺถ  ญาตพฺพา,   สูริยจนฺทราชูนํ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้มีวาจาเยือกเย็นย่อมมีเพื่อนมาก  ส่วนคนหยาบคายย่อมไร้มิตร  ในข้อนี้พึงทำพระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นเครื่องเทียบ

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนพูดอ่อนหวานเยือกเย็น เป็นคนมีเพื่อนมาก  แต่คนหยาบคายเป็นคนไม่มีเพื่อน  ข้อนี้ต้องเปรียบกับพระจันทร์พระอาทิตย์จึงเห็นได้ชัด.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ ,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

"พระพุทธชินราช" จ.พิษณุโลก

ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง ประดิษฐานพระพุทธชินราช ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง ผู้ที่เดินทางมาพิษณุโลกมักมากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล




Previous Post
Next Post

0 comments: