วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

อย่าพูดมาก

อย่าพูดมาก

สตฺถกาปิ  พหุวาจา,    นาทรา  พหุภาณิโน;
โสปการมฺปฺยุทาสีนํ,     นนุ  ทิฎฺฐํ  นทีชลํ.

คนพูดมาก ชอบเจรจายืดเยื้อ  แม้มีประโยชน์ ก็ไม่คนเชื่อถือ  ขนาดน้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการะมาก  พวกทาสีตักน้ำจะมองเห็นบ้างไหมหนอ.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๑, มหารหนีติ ๑๑, กวิทัปปณนีติ ๔๕)

ศัพท์น่ารู้ :

สตฺถกาปิ ตัดบทเป็น สตฺถกา+อปิ

พหุวาจา (วาจามาก) พหุ+วาจา >

นาทรา (ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่อาทร) น+อาทร > นาทร+โย

พหุภาณิโน (พูดมาก, พูดเก่ง) พหุ+ภาณี > พหุภาณี+โย

โสปการมฺปฺยุทาสีนํ ตัดบทเป็น โสปการํ+อปิ+อุทาสีนํ, โสปากรํ (มีอุปการะ) สห+อุปการ > โสปการ+สิ; อปิ (แม้) นิบาต; อุทาสีนํ (วางเฉย, ไม่เอาใจใส่) อุทาสีน+สิ (ศัพท์ว่า อุทาสีน นี้พบในพจนานุกรมบาลี-ไทย ของชวินร์ สระคำ และรศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก)

นนุ (มิใช่หรือ) นิบาตบอกคำถาม

ทิฎฺฐํ (เห็นแล้ว) ทิส+ต > ทิฏฺฐ+สิ

นทีชลํ (น้ำในแม่น้ำ) นที+ชล > นทีชล+สิ

ส่วนในกวิทัปปณนีติ มีข้อความต่างกันบ้างนิดหน่อย ดังนี้.

สตฺถกาปิ  พหูวาจา,    นาทรา  พหุภาณิโน;

โสปการมุทาสินา,  นนุ  ทิฎฺฐํ  นทีชลํฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนพูดมาก ถึงถ้อยคำยืดยาว จะมีประโยชน์ ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ  ดูเถิด น้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการมาก  พวกทาสีตักน้ำจะเห็น (อุปการ) บ้างไหม.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนพูดมากถึงจะพูดดีมีประโยชน์อย่างไร  ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ, ดูแต่น้ำในแม้น้ำเถิด  มีจะมีประโยชน์มากมายเท่าไรก็ตาม  พวกทาสีตักน้ำจะเห็นคุณบ้างไหมหนอ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ




Previous Post
Next Post

0 comments: