วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

คำสุภาษิตมีองค์ ๔

๕. กถากถา - แถลงถ้อยคำ

คำสุภาษิตมีองค์ ๔

สุภาสิตํ  อุตฺตมมาหุ  สนฺโต,

ธมฺมํ  ภเณ  นาธมฺมํ  ตํ  ทุติยํ;

ปิยํ  ภเณ  นาปิยํ  ตํ  ตติยํ,

สจฺจํ  ภเณ  นาลิกํ  ตํ  จตุตฺถํ.

เหล่าสัตบุรุษ กล่าวคำสุภาษิตว่าสูงสุด (เป็นข้อที่ ๑)   กล่าวคำที่เป็นธรรม ไม่กล่าวอธรรม เป็นข้อที่ ๒   กล่าวคำน่ารัก ไม่กล่าวคำน่าชัง เป็นข้อที่ ๓   กล่าวคำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลวไหล เป็นข้อที่ ๔.

(ธรรมนีติ กถากถา ๖๔, ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๖ สุภาสิตสูตร)

ศัพท์น่ารู้ :

สุภาสิตํ (คำที่กล่าวดีแล้ว, คำสุภาษิต) สุ+√ภาส+อิ+ต > สุภาสิต+อํ กิตก์บท

อุตฺตมมาหุ ตัดบทเป็น อุตฺตมํ+อาหุ, อุตฺตม+อํ = อุตฺตมํ (อันอุดม, ที่สูงสุด, ยอดเยี่ยม). อาหุ (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว, พูด, เอ่ย) √พฺรู+อ+อนฺติ แปลง อนฺตุ เป็น อุ และแปลง พฺรู เป็น อาห § กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘), หรือ √พฺรู+อ+อุ (ปโรกขาวิภัตติ) แปลง พฺรู เป็น อาห § พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. (รู ๔๖๕) ภูวาทิ. กัตตุ.

สนฺโต (สัตบุรุษ, นักปราชญ์) สนฺต+โย

ธมฺมํ (ซึ่งธรรม, ธรรมวาจา) ธมฺม+อํ

ภเณ (พึงกล่าว) √ภณ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

นาธมฺมํ ตัดบทเป็น น+อธมฺมํ (ไม่+คำที่ไม่เป็นธรรมะ)

ตํ ทุติยํ (ข้อนั้น เป็นที่ ๒)

ปิยํ (คำเป็นที่รัก, คำไพเราะ, ปิยวาจา) ปิย+อํ

นาปิยํ ตัดบทเป็น น+อปิยํ (ไม่+คำที่ไม่เป็นที่รัก)

ตํ ตติยํ (ข้อนั้น เป็นที่ ๓)

สจฺจํ (คำจริง, สัจจวาจา) สจฺจ+อํ

นาลิกํ ตัดบทเป็น น+อลิกํ (ไม่+คำที่เหลวไหล, เหลาะแหละ)

ตํ จตุตฺถํ (ข้อนั้น เป็นที่ ๔)

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คำเป็นสุภาษิต นักปราชญ์ท่านกล่าวว่าเป็นคำสูง   ควรพูดเป็นธรรม อย่าพูดอาธรรม นั้นเป็นชั้นที่ ๒  ควรพูดเป็นแต่คำน่ารัก อย่าพูดคำน่าชั่ง นั้นเป็นชั้นที่ ๓   ควรพูดแต่ความจริง อย่าพูดกลับกลอก นั้นเป็นชั้นที่ ๔.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คำสุภาษิต นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นคำสูงสุด  ขั้นที่ ๒ ควรพูดเป็นธรรม อย่าพูดอธรรม  ขั้นที่ ๓ ควรพูดแต่คำน่ารัก อย่าพูดคำน่าชัง  ขั้นที่ ๔ ควรพูดแต่คำจริง อย่าพูดกลับกลอก.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

"วัดจันทร์ตะวันตก" จ.พิษณุโลก

มี "มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม" อันงดงาม ริมแม่น้ำน่าน อ.เมือง มองเห็นเด่นชัดจากสะพานสุพรรณกัลยา ประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางมารวิชัย ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ มีซุ้มเรือนแก้วงดงาม





Previous Post
Next Post

0 comments: