คำสุภาษิต
ปตฺตกลฺโลทิตํ อปฺปํ, วากฺยํ สุภาสิตํ ภเว;
ขุทฺทิตสฺสกทนฺนมฺปิ, ภุตฺตํ สาทุรโส ภเว.
คำพูดถึงจะน้อย หากพูดถูกกาล ก็จัดเป็น “คำสุภาษิต“ ได้เช่นกัน เหมือนข้าวถึงแม้จะนิดหน่อย, ก็เป็นของมีรสอร่อยสำหรับคนหิว.
(ธรรมนีติ กถากถา ๗๐, มหารหนีติ ๑๐, กวิทัปปณนีติ ๔๔)
ศัพท์น่ารู้ :
ปตฺตกาโลทิตํ (ที่กล่าวตามกาล) ปตฺต (ถึงแล้ว) +กาล (เวลา)+อุทิต (กล่าวแล้ว) > ปตฺตกาโลทิต+สิ,
อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย, สั้น, กะทัดรัด) อปฺป+สิ
วากฺยํ (วากยะ, พากย์, คำพูด, ประโยค) วากฺย+สิ
สุภาสิตํ (ที่กล่าวดีแล้ว, สุภาษิต) สุภาสิต+อํ, สุ+ภาส+อิ+ต
ภเว (เป็น, มี) √ภู+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ.
แปลง อู เป็น โอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔) = ภฺ โอ+อ+เอยฺย,
แปลง โอ เป็น อว ด้วยสูตรว่า โอ อว สเร. (รู ๔๓๕) = ภฺ อว+อ+เอยฺย,
แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) = ภฺ อว+อ+เอ, แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น ภเว (พึงเป็น).
ขุทิตสฺส (ที่หิว, กระหาย) ขุทิต+ส วิภัตติ ลง สฺ อาคมด้วยสูตรว่า สาคโม เส. (รู ๘๖)
กทนฺนมฺปิ = กทนฺนํ+อปิ (ข้าวน้อย, ข้าวเสีย, ข้าวบูด+แม้) มาจาก กุ+อนฺน > กทนฺน+สิ ในเพราะสระแปลง กุ นิบาตเป็น กทฺ ด้วยสูตรว่า กทฺ กุสฺส. (รู ๓๔๖) วิ. กุจฺฉิตํ อนฺนนฺติ กทนฺนํ (ข้าวน่าเกลียด ชื่อว่า กทันนะ) เป็นกุบุพพบทกัมมธารยสมาส
ภุตฺตํ (กินแล้ว) √ภุช+ต > ภุตฺต+สิ
สาทุรโส (รสดี, รสอร่อย) สาทุ+รส > สาทุรส+สิ, สาทุ (อร่อย, ชื่นใจ), รส (รส)
ส่วนในกวิทัปปณนีติ เฉพาะในบาทคาถาสุดท้าย ที่ต่างกัน ดังนี้
ปตฺตกาโลทิตํ อปฺปํ, วากฺยํ สุภาสิตํ ภเว;
ขุทิตสฺส กทนฺนมฺปิ, ภุตฺตํ สาทุรสํ สิยา.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ถ้อยคำเล็กน้อยที่พูดเหมาะต่อกาลอันควร ก็เป็นสุภาษิต ดูแต่อาหารที่เลวเถิด คนหิวกินยังมีรสอร่อย.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
คำพูดสองสามคำที่พูดถูก กาละเทสะ ก็จัดเป็นสุภาษิต ดูแต่อาหารที่เลว ๆ เถิด คนหิวยังกินอร่อยทุกที.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇
74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70. คำสุภาษิต , 69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก , 67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี , 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
"วัดพระนอนแหลมพ้อ" จ.สงขลา
วัดตั้งอยู่เชิงสะพานติณสูลานนท์ มองเห็นพระพุทธรูปปางปรินิพพานองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นมาแต่ไกลเมื่อมาเยือนเกาะยอ และประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า “สมเด็จเจ้าเกาะยอ”
0 comments: