นฬปานชาตกํ - เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด
ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ, ทิสฺวาโนตริตํ ปทํ;
นเฬน วาริํ ปิสฺสาม [1], เนว [2] มํ ตฺวํ วธิสฺสสีติ ฯ
„พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง จึงกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านก็จักฆ่าเราไม่ได้ “.
ตสฺสุทฺทานํ –
อถ ลกฺขณ สาข ธิรตฺถุ ปุน, น กิรตฺถิ รเสหิ ขราทิยา;
อติโภติ วร [3] มาลุต ปาณ, มุจฺเจน นฬอวฺหยเนน ภวนฺติ ทสาติฯ
[ปิวิสฺสาม (สี. สฺยา. ปี.)], [น จ (ก.)] , 3) [รส (สพฺพตฺถ)]
๑๐. อรรถกถานฬปานชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทถึงบ้าน นฬกปานคาม ประทับอยู่ในเกตกวัน ใกล้นฬกปานโบกขรณีทรงปรารภท่อนไม้อ้อทั้งหลายจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในสระโบกขรณีชื่อว่านฬกปานะแล้วให้พวกสามเณรเอาท่อนไม้อ้อนาเพื่อต้องการทำกล่องเข็มเห็นท่อนไม้อ้อเหล่านั้นทะลุตลอด
จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ให้ถือเอาท่อนไม้อ้อทั้งหลายมา เพื่อต้องการทำกล่องเข็ม ท่อนไม้อ้อเหล่านั้นเป็นรูทะลุตลอด ตั้งแต่โคนจนถึงปลาย นี่เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ?“
พระศาสดาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็นการอธิษฐานเดิมของเราแล้ว“ ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในอดีตกาล แม้ในกาลก่อน ป่าชัฏนั้นเป็นป่า มีผีเสื้อน้ำ คนหนึ่งเคี้ยวกินคนผู้ลงไป ๆในสระโบกขรณีแม้นั้น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยากระบี่มีขนาดเท่าเนื้อละมั่ง แวดล้อมด้วยหมู่วานรแปดหมื่นตัว บริหารฝูงอยู่ในป่านั้น พระยากระบี่นั้นได้ให้โอวาทแก่หมู่วานรว่า พ่อทั้งหลายในป่านี้มีต้นไม้พิษบ้าง สระโบกขรณีที่เกิดเองอันอมนุษย์หวงแหนบ้าง มีอยู่ในป่านั้นนั่นแหละท่านทั้งหลายเมื่อจะเคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ที่ยังไม่เคยเคี้ยวกินหรือเมื่อจะดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ต้องสอบถามเราก่อน หมู่วานรเหล่านั้นคำแล้ว วันหนึ่งไปถึงที่ที่ไม่เคยไป เที่ยวไปในที่นั้น หลายวันทีเดียวเมื่อจะแสวงหาน้ำดื่มเห็นสระโบกขรณีสระหนึ่ง ยังไม่ดื่มน้ำ นั่งคอยการมาของพระโพธิสัตว์.
พระโพธิสัตว์มาถึงแล้วจึงกล่าวว่า „พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ดื่มน้ำ“, พวกวานรกล่าวว่า „พวกข้าพเจ้าคอยการมาของท่าน“ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „พ่อทั้งหลาย พวกท่านทำดีแล้ว“ จึงเดินวนเวียนสระโบกขรณีนั้น กำหนดรอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าลงไม่เห็นรอยเท้าขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า „สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแหนโดยไม่ต้องสงสัย“, จึงกล่าวว่า „พ่อทั้งหลาย ที่ทั้งหลายไม่ดื่มน้ำ ทำดีแล้ว, สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแล้ว“.
ฝ่ายผีเสื้อน้ำรู้ว่า „วานรเหล่านั้นไม่ลง“ จึงแปลงเป็นผู้มีท้องเขียวหน้าเหลือง มือเท้าแดงเข็ม รูปร่างน่ากลัว ดูน่าเกลียด แยกน้ำออกมากล่าวว่า „เพราะเหตุไร พวกท่านจึงนั่งอยู่ ? จงลงสระโบกขรณีนี้ดื่มน้ำเถิด“.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามผีเสื้อน้ำนั้นว่า „ท่านเป็นผีเสื้อน้ำเกิดอยู่ในสระนี้หรือ ? „
ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า „เออ เราเป็นผู้เกิดแล้ว“ พระโพธิสัตว์ถามว่า „ท่านย่อมได้คนที่ลงไปๆ ยังสระโบกขรณีหรือ ?“
ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า "เออ เราได้, เราไม่ปล่อยใคร ๆ จนชั้นที่สุดนกที่ลงในสระโบกขรณีนี้ แม้ท่านทั้งหมดเราก็จักกิน“.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „พวกเราจักไม่ให้ท่านกินตัวเรา". ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า „ก็ท่านทั้งหลายจักดื่มน้ำมิใช่หรือ ?“
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „เออ พวกเราจักดื่มน้ำและจักไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่าน“, ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า „เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจักดื่มน้ำอย่างไร?“
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "ก็ท่านย่อมสำคัญหรือว่า จักลงไปดื่ม ด้วยว่า พวกเราจะไม่ลงไป พวกวานรทั้งแปดหมื่น จักถือท่อนไม้อ้อคนละท่อน จักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของท่านเหมือนดื่มน้ำด้วยก้านบัว เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจักไม่อาจกินพวกเรา“.
พระศาสดาครั้นทรงรู้แจ้งความนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่งได้ตรัส ๒ บทแรกแห่งคาถานี้ว่า :-
„พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า ลงจึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ, ท่านจักฆ่าเราไม่ได้“.
เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยากระบี่นั้นเป็นมหาบุรุษไม่ได้เห็นรอยเท้าขึ้นแม้แต่รอยเดียวในลระโบกขรณีนั้นได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้น.
ครั้นเห็นอย่างนั้นคือไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง จึงรู้ว่า สระโบกขรณีนี้ อมนุษย์หวงแหนแน่แท้ เมื่อจะเจรจากันผีเสื้อน้ำนั้นจึงกล่าวว่า นเฬน วารึ ปิสฺสาม อธิบายความแห่งคำนั้นว่า พวกเราจักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของท่านด้วยไม้อ้อ.
พระมหาสัตว์กล่าวสืบไปว่า เนว มํ ตฺวํ วธิสฺสสิ อธิบายว่า เราพร้อมทั้งบริษัทดื่มน้ำด้วยไม้อ้ออย่างนี้แม้ท่านก็จักฆ่าไม่ได้.
ก็พระโพธิสัตว์ครั้น กล่าวอย่างนี้แล้วจึงให้นำท่อนไม้อ้อมาท่อนหนึ่งรำพึงถึงบารมีทั้งหลายแล้วกระทำสัจกิริยาเอาปากเป่า ไม้อ้อได้เป็นโพรงตลอดไป ไม่เหลือปล้องอะไร ๆ ไว้ภายใน.
พระโพธิสัตว์ให้นำท่อนไม้อ้อแม้ท่อนอื่นมาแล้วได้เป่าให้ไปโดยทำนองนี้ ก็เมื่อเป็นดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่อาจให้เสร็จลงได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรถือเอาอย่างนั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานว่า ไม้อ้อแม้ทั้งหมดที่เกิดรอบสระโบกขรณีนี้ จงเป็นรูตลอด ก็เพราะอุปจารแห่งประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพยิ่งใหญ่ การอธิษฐานย่อมสำเร็จ ตั้งแต่นั้นมา ไม้อ้อที่เกิดรอบสระโบกขรณีแม้ทุกต้นเกิดเป็นรูเดียวตลอด.
จริงอยู่ ในกัปนี้ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ตลอดกัปมี๔ ประการเป็นไฉน ? เครื่องหมายกระต่ายบนดวงจันทร์จักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑, ที่ที่ไฟดับในวัฏฏกชาดกไฟจักไม่ไหม้ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑, สถานที่เป็นที่อยู่ของฆฏีการช่างหม้อ ฝนไม่รั่วรดจักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑, ไม้อ้อที่ดังอยู่รอบสระโบกขรณีนี้จักเป็นรูเดียว (ไม่มีข้อ) ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ชั่วกัป ๔ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระโพธิสัตว์ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้วจึงนั่งถือไม้อ้อลำหนึ่ง ฝ่ายวานรแปดหมื่นตัวแม้เหล่านั้นก็ถือไม้อ้อลำหนึ่ง ๆ นั่งล้อมสระโบกขรณีในเวลาที่พระโพธิสัตว์เอาไม้อ้อสูบน้ำมาดื่ม วานรแม้เหล่านั้นทั้งหมดนั่งอยู่ที่ฝั่งนั่นแล้วดื่มน้ำแล้ว เมื่อวานรเหล่านั้นดื่มน้ำอย่างนี้ ผีเสื้อน้ำไม่ได้วานรเลยสักตัว ก็เสียใจ จึงไปยังนิเวศน์ของตนนั่งเอง, ฝ่ายพระโพธิสัตว์พร้อมทั้งบริวารก็เข้าป่าไปเหมือนกัน.
ส่วนพระศาสดาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลายชื่อว่าความที่ไม้อ้อทั้งหลายเหล่านี้เป็นไม้มีรูเดียวนั้น เป็นการอธิษฐานอันมีในกาลก่อนของเราเอง“ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า „ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้นได้เป็นพระเทวทัต ในบัดนี้วานรแปดหมื่นในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระยากระบี่ผู้ฉลาดในอุบายในครั้งนั้นได้เป็นเราแล“. จบนฬปานชาดกที่ ๑๐ , จบศีลวรรคที่ ๒
CR: หมายเหตุ ข้อมูลที่มา ภาษาบาฬี จากเว็บไซต์ tipitaka.org คำแปลจาก ฉบับมหิดล, ฉบับสยามรัฐ, ฉบับมหาเถรสมาคม เป็นต้น, ส่วนอรรถกถาแปล ส่วนมากจากฉบับมหาจุฬา.
22. กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21. กุรุงฺคมิคชาตกํ - ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20. นฬปานชาตกํ - เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด , 19. อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18. มตกภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. มาลุตชาตกํ - ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14. วาตมิคชาตกํ - ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. กณฺฑินชาตกํ - ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. นิคฺโรธมิคชาตกํ - ว่าด้วยการเลือกคบ , 11. ลกฺขณมิคชาตกํ - ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. สุขวิหาริชาตกํ - ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 09. มฆเทวชาตกํ - ว่าด้วยเทวทูต , 08. คามณิชาตกํ - ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 07. กฏฺฐหาริชาตกํ - ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ , 06. เทวธมฺมชาตกํ - ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 05. ตณฺฑุลนาฬิชาตกํ - ว่าด้วยราคาข้าวสาร, 04. จูฬเสฏฺฐิชาตกํ - ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 03. เสริววาณิชชาตกํ - ว่าด้วยเสรีววาณิช , 02. วณฺณุปถชาตกํ - ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 01. อปณฺณกชาตกํ - ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
0 comments: