วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผลดีของการบวชเป็นสมณะ (ตอน 2)

ผลดีของการบวชเป็นสมณะ (ตอน 2)

[ณ สวนอัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูกำลังสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าเรื่องผลดีของการบวชเป็นสมณะ]

อ:  อย่างไรถึงเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ?

พ:  ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ชิงปล้น ไม่เสพเมถุน ไม่พูดเท็จส่อเสียดหยาบคายเพ้อเจ้อ ไม่ทำลายพืชต้นไม้ ฉันมื้อเดียว ไม่ดูฟ้อนรำขับร้องดนตรีการละเล่น ไม่แต่งตัวด้วยดอกไม้ของหอม ไม่นอนที่สูงที่ใหญ่ ไม่รับเงินทอง ไม่รับข้าวเปลือกดิบเนื้อดิบ ไม่รับสตรีเด็กหญิงทาส ไม่รับแพะแกะไก่หมูช้างวัวม้าลา ไม่รับไร่นาที่ดิน ไม่เป็นทูตรับใช้ ไม่ซื้อขาย ไม่โกงตาชั่ง ไม่รับสินบนหลอกลวง ไม่สะสมข้าวของ ไม่เล่นการพนัน ไม่พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นสมณะ (ผู้สงบจากกิเลส) ไม่กล่าวหาชิงดีชิงเด่นกัน

ไม่เลี้ยงชีพในทางที่ผิดด้วยติรัจฉานวิชา (วิชาที่ขวางทางสงบจากกิเลส) ได้แก่ การทำนายทายทัก ดูฤกษ์ยามโหราศาสตร์ดวงดาว แก้บนรดน้ำมนต์ปรุงยา ปลุกเสกลงยันต์บูชาไฟ

อ:  อย่างไรถึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ (ช่องทางการรับรู้) ต่างๆ ?

พ:  เมื่อตาเห็นรูป..หูได้ยินเสียง..จมูกได้กลิ่น..ลิ้นรับรส..กายถูกสัมผัส..ใจรับรู้สิ่งต่างๆแล้ว สักแต่ว่ารู้ว่าเห็น ไม่เอามาเป็นอารมณ์ ซึ่งจะเป็นสุข ไม่ระคนไปด้วยกิเลส

อ:  อย่างไรเรียกว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ?

พ:  รู้สึกตัวอยู่ตลอดทุกอิริยาบถ

อ:  อย่างไรเรียกว่า เป็นผู้สันโดษ ?

พ:  อยู่กับตัวเองได้ มีจีวรถือบิณฑบาต เหมือนนกมีปีกของตัวเอง จะบินไปทางใดก็ได้

ภิกษุที่มีพร้อมด้วยศีล สำรวม มีสติสัมปชัญญะ และสันโดษเช่นนี้ ย่อมอยู่ในที่สงัด นั่งสมาธิ มีใจบริสุทธิ์ไม่ยึดติด ไม่พยาบาท ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ และไม่สงสัยในธรรม จากนั้นจะเกิดปราโมทย์ปีติ กายใจสงบ เป็นสุข จิตตั้งมั่น

______

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 11 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ภาค 1 เล่ม 1 สามัญญผลสูตร), 2559, น.263-275

อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า,  คืนสุดท้ายของพระพุทธเจ้า , บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ใหญ่ 2 คราว , ใครที่ได้มาสังเวชนียสถานด้วยจิตเลื่อมใส เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติ , วิธีปฏิบัติต่อสตรีและพระพุทธสรีระ , สอนพระอานนท์เป็นครั้งสุดท้าย , ชื่นชมพระอานนท์ , ควรเปิดใจรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนได้ , ยังไม่มีผู้ที่สงบจากบาปกิเลสได้ด้วยหลักคำสอนอื่นนอกพุทธศาสนานี้ , ธรรมสังเวช , คำพูดสุดท้ายของพระพุทธเจ้า , ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธเจ้าผู้สงบตั้งมั่น ไม่มีแล้ว , ช่วงเวลาถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า , การแบ่งพระสารีริกธาตุ (อัฐิของพระพุทธเจ้า)  ,  ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเลือกปรินิพพานที่กุสินารา , 62 ความเห็นที่เปรียบดังตาข่ายคลุมให้ติดอยู่กับการเวียนว่าย ,  สิ่งอัศจรรย์เดียวที่พระพุทธเจ้ายกย่องคือ คำสอนที่ปฏิบัติแล้วเห็นผลพ้นทุกข์ได้จริง , ผลดีของการบวชเป็นสมณะ (ตอน 1) , (ตอน 2) ,  (ตอน 3)





Previous Post
Next Post

0 comments: