วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เย็นกว่านั้นอีก

เย็นกว่านั้นอีก

จนฺทนํ  สีตลํ  โลเก,     ตโต  จนฺทํว  สีตลํ;

จนฺทน  จนฺท  สีตมฺหา,    สาธุวากฺยํ  สุภาสิตํ.

ในโลกไม้จันทน์เป็นของเย็น  แต่แสงจันทร์เแลนับว่าเย็นกว่านั้น  ส่วนคำสุภาษิตของนักปราชญ์  เย็นยิ่งกว่าไม้จันทน์และแสงจันทร์.

(ธรรมนีติ กถากถา ๖๘, โลกนีติ ๔๘, มหารหนีติ ๙, กวิทัปปณนีติ ๔๓)

ศัพท์น่ารู้ :

จนฺทนํ (ไม้จันทน์, ไม้หอม) จนฺทน+อํ

สีตลํ (เย็น, หนาว) สีตล+อํ

โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ

จนฺทํว ตัดบทเป็น จนฺทํ+เอว (พระจันทร์นั่นเทียว, แสงจันทร์เท่านั้น) จนฺท+สิ ปกติ จนฺท ศัพท์เป็น ปุงลิงค์, ส่วน เอว (นั้นเทียว, เท่านั้น) นิบาต

ตโต (กว่า...นั้น) ต+โต ลง โต ปัจจัยใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กฺวจิ โต ปญฺจมฺยตฺเถ. (รู ๒๖๐)

จนฺทนจนฺทสีตมฺหา (แม้กว่าไม้จันทน์และพระจันทร์) จนฺทน+จนฺท+สีต > จนฺทนจนฺทสีต+สฺมา

สาธุวากฺยํ (ถ้อยคำของคนดี, คำพูดของนักปราชญ์) สาธุ+วากฺย > สาธุวากฺย+สิ

สุภาสิตํ (ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว, คำสุภาษิต ) สุภาสิต+สิ

คำว่า “สาธุ” มีวิเคราะห์ว่า สารตฺถปรตฺถํ สาเธตีติ สาธุ (ธรรมที่ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ ชื่อว่า สาธุ) สาธ-สํสิทฺธมฺหิ+อุ,

สาธุ ศัพท์ย่อมใช้ในอรรถ ๖ อย่าง คือ :

๑. สุนฺทร (ดี, งาม), เช่น สาธุ ธมฺมจารี ราชาฯ สาธุ ปญฺญาณวา นโรฯ สาธุ มิตฺตานมทุพฺโภ, ปาปานํ อกรณํ สุขํฯ  

๒. ทฬฺหีกมฺม (ทำให้มั่นคง), เช่น สาธุกํ สุโณม มนสิกโรมฯ

๓. อาจายน (อ้อนวอน), เช่น สาธุ เม ภนฺเต ภควา สํขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุฯ

๔. สมฺปฏิจฺฉน (รับคำ), เช่น สาธุ ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวาฯ

๕. สชฺชน (คนดี, ความดี), เช่น อสาธุํ สาธุนา ทเมฯ

๖. สมฺปหํสน (รื่นเริง, ยินดี), เช่น สาธุ สาธุ สารีปุตฺตฯ   (ที่มา : อภิธาน-สูจิ หน้า ๘๗๕)

ขอนำคาถาเดียวกันนี้ จากมหารหนีติ และกวิทัปปณนีติ ซึ่งมีบางศัพท์ที่ต่างกัน มาแสดงไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา ดังนี้ :

จนฺทนํ  สีตลํ  โลเก,    จนฺทิกา  สีตลา  ตโต;

จนฺทน  จนฺทิกาโตปิ,     วากฺยํ  สาธุ  สุภาสิตํ ฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในโลก ไม้จันทน์เป็นของเย็น  แต่แสงจันทร์เย็นกว่านั้น

ส่วนถ้อยคำสุภาษิตของสาธุชน  ยังเย็นกว่าไม้จันทน์และแสงจันทร์.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ในโลกไม้จันทน์เป็นของเย็น  แต่แสงจันทร์ยังเย็นกว่านั้น

ส่วนคำสุภาษิตของสาธุชน  ยังเย็นกว่าไม้จันทน์และแสงจันทร์อีก.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ ,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

"วัดพระขาว" จ.นครราชสีมา
หรือ "วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม" มองเห็นพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ ประดิษฐานเด่นเป็นสง่าบนเขาสีเสียดอ้า อ.ปากช่อง ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด






วัดพระธาตุดอยเล็ง จ.แพร่

วัดพระธาตุดอยเล็ง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นปูชนียสถานที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่  ตั้งอยู่บนภูเขาสูงทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ  

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: