หลักการพูด
นาติเวลํ ปภาเสยฺย, น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา;
อวิกิณฺณํ มิตํ วากฺยํ, ปตฺตกาเล อุทีรเย.
ไม่ควรพูดให้เกินขอบเขต ไม่ควรนิ่งเฉยในกาลทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ควรพูดแต่พอดีอย่าพร่ำเพรื่อ.
(ธรรมนีติ กถากถา ๗๒, ๓๐๖, ขุ. ชา. ๒๘/๙๖๖ วิธุรชาดก)
ศัพท์น่ารู้ :
นาติเวลํ ตัดบทเป็ฯ น+อติเวลํ
ปภาเสยฺย (ควรพูด, กล่าว, ประภาษ, ตรัส, รับสั่ง, บอก) ป+√ภาส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ตุณฺหี (นิ่ง, เงียบ, ไม่มีเสียง, ดุษฎี, ดุษณี) ตุณฺหี+สิ (เดิมเป็น ตุณฺหิ รัสสะ ได้แก้เป็น ตุณฺหี ให้ตรงกับพระบาฬี)
สพฺพทา (ทุกเมื่อ, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา ปัจจัย
สิยา (พึงเป็น) √อส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ลบ อ ต้นธาตุ ได้บ้าง สพฺพตฺถาสสฺสาทิโลโป จ. (รู ๔๙๖) แปลง เอยฺย, เอยฺยุํ เป็น อิยา, อิยุํ กฺวจิ ธาตุ ฯ (รู ๔๘๘) รวมสำเร็จเป็น สิยา สิยุํ ตามลำดับ
อวิกิณฺณํ (ไม่กระจัดกระจาย, ไม่พร่ำเพรื่อ) น+วิกิณฺณ (วิ+กิร+ต) อวิกิณฺณ+สิ
มิตํ (กำหนด, พอประมาณ) √มา+อิ+ต > มิต+สิ ?
วากฺยํ (คำพูด, พากย์) วากฺย+สิ, (พระบาฬีเป็น วาจํ ทั้งสองฉบับ)
ปตฺตกาเล (กาลอันถึงแล้ว) ปตฺต+กาล > ปตฺตกาล+สฺมึ (พระบาฬีเป็น ปตฺเต กาเล)
อุทีรเย (พึงกล่าว, พูด, เปล่งเสียง) อุ+ท อาคม+√อีร+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. (ฉบับสยามรัฐเป็น อุทีริเย)
ขอนำคาถานี้จากพระบาฬีฉบับสยามรัฐ (๒๘/๙๖๖ วิธุรชาดก) มาเทียบไว้ เพื่อการศึกษาร่วมกัน ดังนี้.
นาติเวลํ ปภาเสยฺย, น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา;
อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ, ปตฺเต กาเล อุทีริเยฯ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ไม่ควรพูดให้เกินเวลาไป แต่ก็ไม่พึงเฉยในเวลาทั้งปวง พึงพูดถ้อยคำที่น่านับถือไม่โปรยปรายเป็นเล่น ในเมื่อถึงเวลาพูด.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
ไม่ควรพูดให้เกิดเวลา แต่ไม่ควรนิ่งตลอดเวลา ควรพูดแต่คำที่น่านับถือ ไม่โปรยปรายเป็นเล่นในเวลาพูด.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้
0 comments: